ขอคิดอย่างสร้างสรรค์
หน้า
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
หมวด
เศรษฐกิจ
หมวดการเมืองไทย/ต่างประเทศ
หมวดสังคม
หมวดการศึกษา
ความขัดแย้งของ โคล้านครอบครัว กับ FTA
(
TRT Million Cow Policy Conflicts With FTA Today
)
2
5
มกราคม 2549
นโยบายหาเสียง โคล้านครอบครัว ของพรรคไทยรักไทยในช่วงการเลือกตั้งปี 2548 สามารถเรียกคะแนนเสียงจากเกษตรกรทั่วประเทศ หลังจากนั้นรัฐบาลได้ตั้งบริษัทส่งเสริมธุรกิจการเกษตรไทย (สธท.) หรือที่เรียกกันว่า SPV (Special Purpose Vehicle) ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ทำหน้าที่เป็นผู้จัดซื้อและแจกโคให้กับเกษตรกรเพื่อเลี้ยง โดย SPV จะรับซื้อในราคาที่กำหนดตามอายุและน้ำหนักของโคตามสายพันธุ์
>>
กระบวนการเจรจา FTA บกพร่อง : สาเหตุหลักทูตนิตย์ลาออก
(
Did faulty FTA negotiations lead to Ambassador Nids resignation?
)
24
มกราคม 2549
กรณี
ท่านทูตนิตย์ พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ ลาออกจากการเป็นหัวหน้าคณะเจรจา โดยมีการวิเคราะห์กันว่าสาเหตุหลักเป็นเรื่องของแรงกดดันจากหลายด้าน เช่น แรงกดดันจากฝ่ายการเมือง แรงกดดัน
ภายในทีมเจรจา หรือ
แรงกดดันจากภาคประชาชน
>>
รัฐบาลจัดงบประมาณแบบสมดุลจริงหรือ?
(
Is the government budget a balanced budget?
)
23
มกราคม 2549
รัฐบาลมักอ้างว่าได้จัดทำงบประมาณแบบสมดุลตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 เป็นต้นมา แต่หากวิเคราะห์กรณีที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะกำลังศึกษาการแปลงตั๋วเงินคลังที่เกิดจากการชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีก่อน ๆ วงเงิน 1.7 แสนล้านบาทเป็นพันธบัตร และการกำหนดกรอบการจัดงบประมาณประมาณปี 2550 ซึ่งมีการจัดงบ 1.8 หมื่นล้านบาทเพื่อใส่คืนในเงินคงคลัง ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้วการจัดงบประมาณในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาจไม่ได้เป็นงบประมาณแบบสมดุล แต่เป็นงบประมาณแบบขาดดุล โดยหลักฐานที่ชัดเจนคือ เงินคงคลังที่ลดลงในปีที่จัดงบประมาณสมดุล
>>
เรียลลิตี้โชว์แก้จน สอนคนให้เห็นเงินเป็นพระเจ้า
(
Reality Show
)
22
มกราคม 2549
จากที่นายกฯ ได้ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนที่อำเภออาจสามารถ จ
.
ร้อยเอ็ด โดยมีสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวีเป็นผู้ถ่ายทอดสดตลอด
5
วัน
5
คืน ตั้งแต่วันที่
16 20
มกราคมที่ผ่านมา ผมได้ทำการเก็บตัวเลขกิจกรรมการแก้ปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรี ผ่านรายการดังกล่าว
ตลอดระยะเวลา 5
วัน ซึ่งนายกฯ อ้างว่าเป็นการสอนการแก้ปัญหาความยากจนทางไกล แต่แท้ที่จริงเป็นการสอนให้คนเห็นเงินเป็นพระเจ้า
>>
การประมูลที่ไร้เงื่อนไข จากความไม่โปร่งใสสู่การคอร์รัปชันที่ไร้พรมแดน
(
Unconditional bidding: From lack of deviation transparency to borderless corruption
)
21
มกราคม 2549
การชี้แจงการเปิดประมูลนานาชาติ (International Bidding) ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจคต์ ในวันที่ 26 มกราคม 2549 ที่จะมาถึงนี้ แม้รัฐบาลจะกล่าวอย่างเป็นมั่นเหมาะว่าการประมูลที่เกิดขึ้นจะเป็นไปอย่างโปร่งใส แต่เงื่อนไขการประมูลที่รัฐบาลค่อย ๆ เผยออกมาทีละเล็กทีละน้อยนั้น เต็มไปด้วยความน่าสงสัยและเคลือบแคลงใจ โดยเฉพาะการที่รองนายกรัฐมนตรีได้แถลงว่า เงื่อนไขมีเพียงอย่างเดียว คือไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ไม่ต้องมีแบบแผนมาควบคุม ไม่ต้องใช้ระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบาร์เดอร์เทรด ไม่ต้องทำหนังสือชี้แจงข้อสงสัยให้รัฐบาลแต่สามารถเข้ามาชี้แจงด้วยวาจาได้ในทันที
>>
ค่าเสียโอกาสของเรียลลิตี้โชว์แก้จน
(
There is an opportunity cost to the Prime Ministers Reality Show)
20
มกราคม 2549
เรียลลิตี้โชว์
(Reality show)
ซึ่งถ่ายทำชีวิตจริงของผู้เข้าแข่งขัน กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วง
2-3
ปีนี้ โดยเฉพาะรายการที่ถ่ายทอดสดชีวิตของผู้เข้าแข่งขันทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะกิน เล่น ฝึกซ้อมหรือทำภาระกิจต่าง ๆ แม้แต่การนอน ซึ่งการติดตามถ่ายกันตลอด
24
ชั่วโมงทำให้ผู้ชมสนใจติดตามชมผู้เข้าแข่งขันอย่างไม่วางตา เพราะสามารถตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นได้เป็นอย่างดี
>>
เรียลลิตี้โชว์แก้จน จัดฉากแก้รัฐบาลขาลง
(
The Prime Ministers Reality Show to Eradicate Poverty: A another Show Case To Prevent Unpopularity)
19
มกราคม 2549
ในที่สุดเรียลลิตี้โชว์แก้จนของท่านนายกฯได้ฤกษ์ลงจอทางช่องยูบีซี
16
โดยมีหลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความเห็นในมุมมองต่าง ๆ อาทิ การถ่ายทอดสดการแก้ปัญหาความยากจนเป็นเพียงการจัดฉาก เป็นความพยายามเรียก คะแนนนิยมทางการเมืองในภาวะขาลง เป็นเพียงการกลบข่าวทุจริต เป็นการแทรกแซงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเป็นแนวทางที่ไม่อาจทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนบรรลุผล ฯลฯ
>>
นโยบายเศรษฐกิจปี 49 ความพยายามครั้งใหม่ที่ขาดทั้งความเป็นไปได้และการบูรณาการ (The Economics Policy in 2006)
17
มกราคม 2549
จากการที่นายกฯ ได้จัดงานแถลงทิศทางนโยบายเศรษฐกิจปี 2549 โดยใช้ชื่องานว่า ทิศทางและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในปี 2549 โดยเชิญนักธุรกิจเข้ามาฟังคำแถลง ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ทิศทางในปี 2549 ที่ท่านนายกฯ ได้แถลงดังนี้
>>
วิวาทะว่าด้วย Barter Trade (Discourse on the Barter
T
rade System)
16
มกราคม 2549
เกี่ยวกับนโยบายบาเ
ตอร์เทรด (Barter trade) ของรัฐบาล ซึ่งผมได้เขียนบทความวิพากษ์ไปก่อนหน้านี้ และมีเพื่อน ๆ ได้กรุณาเขียนจดหมายเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับผม โดยระบุถึงข้อดีของระบบ
บาเตอร์เทรด คือลดการพึ่งพาสกุลเงินต่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และช่วยขยายตลาดเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนา ผมจึงขอแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นนี้ ดังต่อไปนี้
>>
ความเป็นไปได้ในการขจัดความจนให้หมดไป (A Possibility to Eradicate Poverty)
15
มกราคม 2549
รัฐบาลกำหนดให้การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็น 1 ใน 3 สงคราม ที่รัฐบาลประกาศจะกำจัด นอกเหนือจาก ปัญหายาเสพติด และคอร์รัปชัน โดยนายกฯ ประกาศว่าจะทำให้คนจนหมดไปจากประเทศไทย ในช่วงเวลา 6 ปี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ปี 2546 ดังนั้นเส้นตายคืออีกประมาณ 3 ปีครึ่งต่อจากนี้ การจะรักษาสัญญานี้ให้ได้ ถือว่าเป็นงานหนักอย่างยิ่งของรัฐบาล
>>
เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯไม่โปร่งใส ห่วงหมกเม็ดผลประโยชน์
(
Non-transparent FTA negotiation : Is there any hidden personal benefit?)
14
มกราคม 2549
จากการที่ไทยได้ดำเนินการเจรจาเขตการค้าเสรีไทยกับสหรัฐ ผมสังเกตว่า กระบวนการเจรจาเอฟทีเอไม่โปร่งใส เพราะไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ควรจะเป็น กล่าวคือ
>>
นายกฯ ไม่นำเอฟทีเอเข้าสภาฯ ดูถูกกึ๋น ส.ส. ส.ว.
(
The Prime Minister will not submit FTAs through Parliament : A Sign of great contempt to MPs and the nations)
13
มกราคม 2549
กรณีที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะไม่นำข้อตกลงเอฟทีเอเข้าพิจารณาในสภาฯ เพราะสภาฯ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญนั้น ผมถือว่าเป็นการดูถูกความรู้ความสามารถของ ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็น ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยเอง และกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเจรจาเอฟทีเอ
>>
ปราบโกงไม่สำเร็จหากไร้แผนงานและองค์กรอิสระ
11
มกราคม 2549
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2549 ท่านนายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง นายกฯ ได้กล่าวถึงปัญหาคอร์รัปชัน โดยขู่ว่าได้ตั้งสายสืบลงไปตรวจสอบดูท้องถิ่นหลายพื้นที่ รวมถึงรัฐวิสาหกิจด้วย เพื่อสอดส่องการกระทำอะไรที่ไม่เหมาะสม พร้อมย้ำว่าปี 2549-2551 การปราบคอร์รัปชันจะดุ จะมีการกวดขันเป็นพิเศษ
นโยบายรัฐบาล : สาเหตุบั่นทอนเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
8
มกราคม 2549
จากรายงานการจัดอันดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจปี 2549 ที่จัดทำโดยวอลล์ สตรีท เจอร์นอล และมูลนิธิเฮอริเทจ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 71 จาก 157 ประเทศ ซึ่งเป็นทิศทางที่มีอันดับต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
การเมืองในปี 2549
5
มกราคม 2549
ในปี 2549 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นใหม่ในหลายเรื่อง โดยมีวาระที่มีความสำคัญทั้งในการเมืองระดับประเทศ และการเมืองระดับท้องถิ่น ได้แก่
เรื่องแรก การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) วันที่ 19 เม.ย. 2549
เรื่องที่สอง การอภิปรายไม่ไว้วางใจและถอดถอนรัฐมนตรี
เรื่องที่สาม การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร (ส.ข.) ของ กทม.
ความเหลื่อมล้ำในสังคม แก้ได้ด้วยการฟังเสียงประชาชน
27
ธันวาคม 2548
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ร่วมกับธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ จัดทำโครงการความร่วมมือพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ ความยากจนและติดตามประเมินผล เพื่อเป็นโครงการเสริมสร้างศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาลและความร่วมมือทางด้านวิชาการ ฯลฯ
รัฐถลุงเงินประกันสังคม สร้างผลงานฉาบฉวย
25
ธันวาคม 2548
จากกรณีที่รัฐมนตรีว่าการประทรวงแรงงานฯ มีนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม
(
สปส
.)
ทำ
โครงการเพิ่มมูลค่าเพิ่มบัตรประกันสังคม
โดยให้ส่วนลดตั้งแต่ร้อยละ
10-50
กับผู้ประกันตน ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า และเข้าพักในโรงแรม รวมทั้งสิ้นกว่า
5,000
แห่ง ระหว่างวันที่
31
ธ
.
ค
.
2548
3
ม
.
ค
.2549
ข้อคิดในการผลักดันร่างกฎหมายของภาคประชาชน
24
ธันวาคม 2548
รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540
เป็นรัฐธรรมนูญที่
สนับสนุนด้านสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
แก่ประชาชนเป็นสำคัญ ดังปรากฏในหลายมาตรา โดยเฉพาะการขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครอง (มาตรา 170 และ 303-304)
ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 50,000 คน สามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้
น้ำท่วม-ภัยแล้ง วิกฤตที่สะท้อนรัฐบาลเป็นเพียงนักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
23
ธันวาคม 2548
ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก รวมถึงดินถล่ม นับว่าเป็นปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นทุกปี โดยที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไข และทุ่มงบประมาณแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อแก้ปัญหา แต่อย่างไรก็ดียังคงพบว่า การแก้ปัญหานั้น รัฐบาลมักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปแต่ละปี โดยที่ไม่ได้มีแนวทางในเชิงป้องกัน หรือเตรียมความพร้อมในพื้นที่ที่ประสบปัญหาซ้ำซาก
รถไฟฟ้า 10 สาย : ข้อสงสัยในความโปร่งใสและความชอบธรรม
20
ธันวาคม 2548
จากการที่รัฐบาลจะดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ด้วยวงเงิน 5.5 แสนล้านบาท โดยใช้วิธีการประมูลแบบเปิดกว้างให้ผู้ลงทุนต่างประเทศนำเสนอรูปแบบการก่อสร้าง รูปแบบการเดินรถ และเลือกเส้นทางที่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชน โดยไม่มีการกำหนดทีโออาร์ที่ชัดเจน และคาดว่าจะเปิดประมูลและคัดเลือกผู้รับเหมาได้ในเดือนพฤษภาคม 2549
รัฐบาลถังแตกเพราะมือเติบ
18
ธันวาคม 2548
รายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ
.
ศ
. 2547
เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า รัฐบาลถังแตกเพราะใช้จ่ายมือเติบ ใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงวินัยทางการคลัง โดยพฤติกรรมมือเติบของรัฐบาลปรากฏอาการต่อไปนี้
...
แก้ปัญหาภาคใต้แบบ อำนาจนิยม เพื่อ ภาพลักษณ์
16
ธันวาคม 2548
กรณีที่นายมะซอบือสิ เจาะแย ได้ร้องเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถึงกรณีที่ตนถูกบีบบังคับจากอำเภอให้มาเข้าร่วมอบรมกล่อมเกลาจิตใจและร่วมสร้างสันติสุขในพื้นที่นั้น กรณีดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยพยายามดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างภาพให้ตนเองมีผลงานหรือไม่
..
กฟผ.ไม่ได้เข้าตลาดหุ้น ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการคลังอย่างไร
15
ธันวาคม 2548
จากที่มีรายการภาคเช้า ณ สถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง ที่มีผู้ดำเนินรายการชายอาวุโส 2 ท่าน ได้กล่าวพาดพิงถึงผมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า การขายหุ้น กฟผ. นั้นรายได้มิได้เข้าเงินคงคลัง และบอกว่า การที่ผมกล่าวว่า การขายหุ้น กฟผ. เชื่อมโยงกับการออกตั๋วเงินคลัง 8 หมื่นล้านนั้น ไม่เป็นความจริง รวมทั้งใช้คำพูดที่ดูถูกผมและสถาบันที่ผมจบการศึกษา
...
รถไฟฟ้า 10 สาย : นโยบายประชานิยมรอบใหม่คนกทม.
13
ธันวาคม 2548
นโยบายรถไฟฟ้า 10 สาย เปลี่ยนรถเมล์ร้อนเป็นรถแอร์ หวังปลุกผีประชานิยมกลบกระแสรัฐบาลถังแตก แต่ขาดการศึกษาผลกระทบ ระวังสร้างหนี้ ขูดภาษีประชาชน
..
รีดภาษีบาปเพื่อเยียวยาใคร?
12
ธันวาคม
2548
รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีบุหรี่อีกร้อยละ
4
เกือบเต็มเพดาน เพื่อหวังลดจำนวนคนสูบบุหรี่
ส่งผลให้ราคาขายบุหรี่เพิ่มขึ้นอีกซองละ
7-8
บาท และคาดว่าจะทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคบุหรี่ร้อยละ
20
โดยราคาใหม่นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
7
ธันวาคม 25
48
และย้ำว่าไม่ต้องการเก็บรายได้เพิ่ม แต่ต้องการรักษาสุขภาพประชาชน และลดงบฯในการเยียวยาสุขภาพของประชาชน
หนี้พุ่ง เงินคงคลังหด รายได้เพิ่ม
หลักฐานชัด รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว
10
ธันวาคม
2548
เงินคงคลังวิกฤต เหตุรัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว เป็นหนี้ตั๋วเงินคลังคงค้างกว่า 9.8 หมื่นล้าน เงินคงคลังหายไป 1.1 แสนล้าน จี้รัฐบาลชี้แจงกับประชาชนเงิน 1.1 แสนล้าน หายไปไหน
...
รถไฟฟ้า 10 สาย นโยบายที่ห่างไกลความจริง
8
ธันวาคม
2548
นายกรัฐมนตรีประกาศจะให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาร่วมประมูลประกวดราคา
โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า
10
สาย
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(
กทม
.)
โดยกำหนดวงเงินก่อสร้างประมาณ
5.5
แสนล้านบาท ทั้งนี้นายกฯ ได้กล่าวผ่านรายการ
นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน
ถึงแนวคิดที่จะเอายางพาราแลกรถไฟฟ้า
..
รัฐบาลเกาะกระแสครูประท้วง เตะถ่วงกระจายอำนาจ
2
ธันวาคม
2548
ชี้พฤติกรรมรัฐบาลที่รับปากทุกฝ่ายอย่างขัดแย้งกันในแนวทาง เป็นการเตะถ่วงปัญหาและซื้อเวลาเพียงให้รอดตัวเฉพาะหน้า ชี้พฤติกรรมของรัฐบาลไม่ได้สะท้อนว่าไม่เห็นความสำคัญของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น...
กำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอย่างไร..จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ?
1
ธันวาคม
2548
จากที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางมีมติเป็นเอกฉันท์ในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกวันละ 1-5 บาทใน 36 จังหวัด ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 นั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้ใช้แรงงานทุกท่าน อย่างไรก็ตามยังคงมีกระแสเรียกร้องขอความเป็นธรรมอยู่บ้างในบางจังหวัดที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นค่าจ้าง
แก้ปัญหาความยากจนหรือ กู้คะแนนเสียง
30
พฤศจิกายน
2548
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 48 นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับรองนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าว ในที่ประชุมนายกฯมีแนวความคิดใหม่ที่จะให้กระทรวงมหาดไทยเลือกพื้นที่อำเภอใดอำเภอหนึ่ง
...