Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |

หมวดเศรษฐกิจ
หมวดการเมืองไทย/ต่างประเทศ
หมวดสังคม

หมวดการศึกษา
ร่วมจับตา การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.
29 พฤศจิกายน 2548
จากการที่ตัวแทนพรรคไทยรักไทยได้ยื่นเสนอ ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. …. เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ผมอยากฝากข้อคำถามเพื่อให้เพื่อนได้ร่วมคิดพิจารณาการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ว่าเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด
 
ร่าง พ.ร.บ.การทางพิเศษฯ: ปลดล็อคชั้นสุดท้าย ก่อนขายสมบัติชาติ
28 พฤศจิกายน 2548
รัฐบาลให้เหตุผลของการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ว่ากฏหมายเดิมไม่เหมาะกับสภาพการณ์ปัจจุบันทำให้การปฏิบัติงานไม่คล่องตัว นอกจากนี้ควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของกทพ.ให้สามารถดำเนินกิจการเพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้ทางพิเศษ
 
ข้อสังเกตต่อการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเสรี
25 พฤศจิกายน 2548
เมื่อวันที่ 24 .. ที่ผ่านมา ผมได้อภิปรายในการพิจารณารับทราบ “รายงานสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ..2548 ของสภาผู้แทนราษฎร” ...
 
คุณลักษณะของนักการเมืองที่สร้างสรรค์
24 พฤศจิกายน 2548
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง ด้วยการแย่งชิงพื้นที่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งจากฝ่ายตรวจสอบรัฐบาลที่ต้องการนำข้อเท็จจริงมานำเสนอต่อประชาชน และฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการปกป้องภาพลักษณ์ของตนเอง
 
จัดเรทติ้งผู้สมัคร สว.
23 พฤศจิกายน 2548
เลือกตั้ง สว.ครั้งใหม่ ควรมีหน่วยงานเป็นกลางทางการเมืองจัดเรทติ้ง (rating) ผู้สมัคร สว.แต่ละคน เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำความรู้จักและเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่ละคนได้โดยง่าย
10 ประเด็นข้อเท็จจริงเครื่องบินซี-130
21 พฤศจิกายน 2548
กรณีที่ผมโดนกล่าวหาว่าเป็นคนทำเรื่องขอใช้เครื่องบินซี-130 จากนั้นได้นำหนังสือตอบรับไปให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อดิสเครดิตรัฐบาล เรื่องดังกล่าวเป็นการกล่าวหาแบบโคมลอย ผมจึงตัดสินใจแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2548 ยืนยันว่าไม่ได้ทำเรื่องนี้ โดยมีข้อเท็จจริง 10 ข้อ
 
กฟผ.ไม่เข้าตลาดหุ้น แล้วค่าไฟจะขึ้นจริงหรือ ?
19 พฤศจิกายน 2548
การสั่งระงับการกระจายหุ้นของ กฟผ.ไว้ชั่วคราวโดยศาลปกครอง กระทรวงพลังงานอ้างว่า “หากระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ ก็ต้องหาแหล่งเงินจากที่อื่นซึ่งมีต้นทุนสูง เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าชะลอไม่ได้เนื่องจากจะส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับ และอาจต้องปรับค่าไฟเพิ่มขึ้นด้วย” (มติชนรายวัน 17 พ.ย. 2548)
 
รัฐบาลเตรียมออกกฎหมายรวมศูนย์อำนาจและแทรกแซงและปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการ
18 พฤศจิกายน 2548
ผมได้อภิปรายในวาระที่ 1 การรับหลักการของ ร่าง พ...สถิติ พ.. …. เมื่อวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา  จากการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐบาลหลาย ๆ ฉบับที่ผ่านมา ผมได้พบว่า ภายใต้หลักการและเหตุผลอันสวยหรูของร่างกฎหมายแต่ละฉบับ รัฐบาลมีวาระแอบแฝงมาโดยตลอด จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า รัฐบาลมีแรงจูงใจอย่างไร ในการเสนอกฎหมายฉบับนี้  
 
คำตอบสุดท้ายไม่ใช่ตลาดหลักทรัพย์
18 พฤศจิกายน 2548
หลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับการกระจายหุ้น บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ไว้ชั่วคราว เจ.พี.มอร์แกน ประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาการเงินกฟผ.เนื่องจากมีการสั่งจองซื้อหุ้นจากนักลงทุนต่างประเทศแล้ว 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ กฟผ.เสียหาย และกฟผ.อ้างว่าอาจส่งผลให้ต้องมีการปรับค่าไฟขึ้น เนื่องจาก กฟผ.ต้องระดมทุนจากแหล่งอื่น ที่มีต้นทุนสูงกว่าการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
 
International bidding ข้ออ้างเพื่อชะลอ Megaprojects
17 พฤศจิกายน 2548
รัฐบาลปรับแนวทางให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาประมูล (International bidding) ในโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยไม่มีทีโออาร์ (TOR) แม้เป็นไปเพื่อนำองค์ความรู้ต่างประเทศมาใช้ในไทยเต็มที่ แต่สุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน และเป็นเพียงข้ออ้างชะลอการลงทุนในโครงการอภิมหาช้าง
 
เรียนรู้ประสบการณ์ “การกระจายอำนาจการศึกษาของต่างประเทศ”
16 พฤศจิกายน 2548
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นหลักการส่วนหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แต่ถึงกระนั้นที่ผ่านมา การดำเนินการของรัฐในการกระจายอำนาจทางการศึกษาสู่ท้องถิ่น อยู่ภายใต้ความเห็นที่ขัดแย้งหลายด้าน ทั้งความเห็นจากผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ผู้รับมอบอำนาจในท้องถิ่น ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ที่มีสิทธิจัดการศึกษา
 
อะไร คือ เหตุผลเบื้องหลังสร้างนครสุวรรณภูมิ
14 พฤศจิกายน 2548
การที่รัฐบาลประกาศนโยบายพัฒนาพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเตรียมทุ่มงบฯ กว่า 5 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นเมืองทันสมัย และยกระดับเป็น “นครสุวรรณภูมิ” หรือ ”กรุงเทพแห่งที่ 2” โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในอนาคต และคาดหวังว่านครสุวรรณภูมิจะเป็นศูนย์กลางระบบขนส่งและคลังสินค้า และแบ่งเบาความหนาแน่นในเมืองหลวง เมื่อพิจารณาเป้าหมายในการเนรมิตนครสุวรรณภูมินั้นน่าตื่นเต้น แต่เกิดคำถามตามมาอีกมากกับเป้าหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น
 
ยุทธการณ์ดับไฟใต้ อย่าให้เป็นนโยบายออกอากาศ
 11 พฤศจิกายน 2548
ผู้ช่วยรมต.กระทรวงมหาดไทยเสนอต่อที่ประชุมกระทรวงขณะนี้พื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาคนอพยพออกจากพื้นที่ไปมาก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวควรนำวิธีการสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกมาใช้ คืออพยพคนจากภาคอื่นๆ เช่น คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ต้องการเดินทางลงไปทำกินในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ และแบ่งสรรพื้นที่ทำกินที่มีอยู่จำนวนมากให้กับคนที่อพยพเข้าไปอยู่
 
บัญญัติ 10 ประการ ก่อนแม้แต่จะคิดขายหุ้น กฟผ.
7
พฤศจิกายน 2548
แผนการของรัฐบาลในการแปรรูป กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์ กำลังเดินหน้าไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ แม้ว่ายังขาดการเตรียมพร้อมในด้านกฎกติกาและกลไกต่าง ๆ ในกิจการไฟฟ้าของประเทศก็ตาม
...
 
“เท่าเทียมกัน” ไม่ได้หมายความว่า “เท่ากัน”
6 พฤศจิกายน 2548
จากคำพูดที่ตรงไปตรงมาของนายกฯ ที่ว่า “ผมตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ แต่เราต้องดูแลคนทั้งประเทศด้วย แต่เวลาจำกัด ต้องเอาเวลาไปจังหวัดที่เราได้รับความไว้วางใจมากเป็นพิเศษ จังหวัดที่ไว้วางใจเราน้อยต้องเอาไว้ทีหลัง ไม่ใช่ไม่ไป คิวต้องเรียงอย่างนี้ … ก็อยากเห็นคนทั้งประเทศไม่ว่าอยู่ที่ไหน เลือกหรือไม่เลือกผม ก็อยากให้ทุกคนหายจน แต่เนื่องจากเวลาจำกัดก็ต้องไล่ลำดับกันไป แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำเหมือนกันหมดทั่วประเทศ”
..
 
ข้อสังเกตต่อนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2548-2553)
5 พฤศจิกายน 2548
เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ผมได้อภิปรายในการพิจารณา นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2548–2553) ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) โดยผมขอข้อสังเกตบางส่วน ดังต่อไปนี้...
 

วังวนหนี้ : ยุทธศาสตร์การรักษาอำนาจทางการเมือง (Vicious debt cycle : Strategy to sustain political power)
4 พฤศจิกายน 2548
จากการประกาศนโยบายการปลดหนี้ภาคประชาชน ซึ่งได้ประกาศมาตรการแก้หนี้ไป เมื่อ 18 ตุลาคม 2548 และหนี้สินภาคเกษตรกรที่กำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้ และหนี้สินอื่น ๆ ที่ยังรอดำเนินการ เช่น หนี้กองทุนหมู่บ้าน  หนี้สหกรณ์ หนี้กลุ่มออมทรัพย์ หนี้บัตรเครดิต ฯลฯ...

 

ความคลุมเครือของมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน (Refinancing individual debts : Clarity still needed for restructuring)
3 พฤศจิกายน 2548
จากมติ ครม.ที่รับทราบมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2548 เพื่อช่วยลูกหนี้รายย่อยในสถาบันการเงิน ประมาณ 1 แสนราย เงินต้นรวมกันประมาณ 7 พันล้านบาท...

 
ความเข้าใจผิดเรื่องรถไฟฟ้า (Misunderstanding about the BTS)
2 พฤศจิกายน 2548
ความเข้าใจผิด 3 ประการเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า ความคุ้มค่าของโครงการ รัฐเป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด และการกำหนดค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย อาจทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการได้รับประโยชน์จากโครงการ หรือทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว...
 
รัฐบาลเตะถ่วงความเจริญ…ส่วนต่อขยาย BTS (“The BTS”)
31 ตุลาคม 2548
การที่รัฐบาลอ้างการใช้นโยบายเก็บ 15 บาทตลอดสาย เป็นเหตุผลชะลอส่วนต่อขยายบีทีเอส เป็นการเน้นผิดประเด็น เพราะหากซื้อคืนบีทีเอสไม่ได้ เก็บ 15 บาทไม่ได้ ควรสร้างไปก่อนดีกว่ารออย่างไร้ความหวัง และเสนอเก็บค่าโดยสารแยกตามกลุ่มคน...
 
วิเคราะห์มาตรการแก้ไขหนี้ภาคประชาชน (Refinancing individual debts)
29 ตุลาคม 2548
มาตรการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนของรัฐบาลอาจสร้างความเสี่ยงในเรื่องศีลธรรม สถาบันการเงินของรัฐรับภาระหนี้เสีย เสนอ 3 มาตราการอุดรอยรั่วคือ มาตรการคัดกรองลูกหนี้ มาตรการสร้างค่านิยม และมาตรการเสริมสร้างศักยภาพ...
 
ผลประโยชน์ขั้นแรกในนครสุวรรณภูมิ
28 ตุลาคม 2548
นายกรัฐมนตรีตอบข้อซักถามของสื่อต่อกรณีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่านักธุรกิจในพรรคไทยรักไทยเข้าไปเก็งกำไรที่ดินบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิว่า “…ชื่อบริษัทที่ต่างหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์นั้นเขามีมาตั้งแต่ก่อนสร้างสนามบินสุวรรณภูมิด้วยซ้ำไป แล้วอย่างนี้จะเรียกเก็งกำไรหรือไม่…เขาตั้งกันมา 10 กว่าปี บางคนซื้อจนเป็นหนี้ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ อย่างนี้เก็งกำไรหรือ..”
 
ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. การยางฯ  
27 ตุลาคม 2548
ร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....เป็นแนวคิดที่ดี แต่การทำธุรกิจไม่ควรเป็นหน้าที่ของ กยท. เพราะไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้ ไม่ใช่ธุรกิจที่ภาครัฐทำได้ดี ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม...
 
พ.ร.บ. ขายสมบัติชาติ
21 ตุลาคม 2548
จากการที่รัฐบาลมีมติรับหลักการของร่าง พ.ร.บ.โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและยกระดับอุตราภิมุขบางช่วงเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. เมื่อวันพุธที่ 12 ต.ค. 2548 ที่ผ่านมา โดยได้เหตุผลการร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในบทบาทของกรมทางหลวง กับการทางพิเศษฯ (กทพ.)
แปรรูป กฟผ. สุดเสี่ยง
18
ตุลาคม 2548
เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2548 คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง “แปรรูป กฟผ.อย่างไร ประชาชนได้ประโยชน์?” ผมในฐานะประธานการอภิปรายในการสัมมนา ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเสี่ยง 3 ประการของการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไว้ดังนี้
 
“สมัชชาประชาชน” การเมืองบนฐานที่ประชาชนมีส่วนร่วม
17
ตุลาคม 2548
เมื่อวันที่ 8 – 9 ต.ค. ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดประชุม “สมัชชาประชาชน” ที่เมืองทองธานี โดยมีตัวแทนประชาชนจากทุกภาคของประเทศทั้งเยาวชน ผู้นำสตรี เกษตรกร นักวิชาการ นักธุรกิจ ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้นำชุมชน ผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายประชาชน จำนวนประมาณ 3,200 คน เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น ในการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และแนวทางในการพัฒนาประเทศในอนาคตข้างหน้า
 
“ผู้ว่า สตง.” ปัญหางูกินหางของการไม่รับผิดชอบถึงที่สุด
14
ตุลาคม 2548
ผมเห็นว่าปัญหาที่จบไม่ลงในกรณีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)นั้นต้นเหตุสำคัญอาจมาจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นไม่ทำบทบาทหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดตั้งแต่แรกเริ่มจึงส่งให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นลูกโซ่และทำให้ผู้รับผิดชอบในขั้นสูงขึ้นไปต้องพลอยรับร่างแหและความเดือนร้อนตามมาอย่างไม่มีจบสิ้น ไม่ว่าจะเป็น
 
ความครบถ้วน เรื่องที่ควรตระหนักหากจะร่างกฎหมายเพื่อประชาชน
13
ตุลาคม 2548
ร่าง พ.ร.บ.ศาลภาษีอากร ยังต้องทบทวนในเรื่องความครบถ้วน ทั้งการพิจารณาคดีความแพ่งและอาญาในมาตราที่เกี่ยวข้อง ป้องกันความลักลั่นในการตีความ และเลือกปฏิบัติ
 
ข้าวแลกเครื่องบินส่วนตัวเพื่อใคร
9
ตุลาคม 2548
บาร์เตอร์เทรดข้าวไทยแลกเครื่องบินบราซิล 900 ล้าน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงและบุคคลสำคัญของรัฐบาลใช้ราชการส่วนตัว คิดดีแล้วหรือ ?
 
เหตุใดรัฐบาลจึงถอนร่างพ.ร.บ.วิทย์
6
ตุลาคม 2548
เมื่อวันที่ 7 ..2548 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ถอนร่างพระราชบัญญัตินโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  พ.…. โดยให้เหตุผลว่าเพื่อ “รอการปฏิรูประบบราชการ” ให้เข้าที่เข้าทางดีเสียก่อน