Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |

หมวดเศรษฐกิจ
หมวดการเมืองไทย/ต่างประเทศ
หมวดสังคม

หมวดการศึกษา
ดับไฟใต้…ระวังปลุกการกระแสชาตินิยม
1 ตุลาคม 2548
ในการแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้ในเวลานี้ คำพูดของท่านนายกฯ หลายข้อความแสดงถึงอารมณ์โกรธต่อผู้ก่อความไม่สงบ ไม่ได้สะท้อนหลักเมตตาธรรมตามที่ท่านนายกฯ ได้ให้สัญญาว่าจะใช้ เห็นได้จากการพูดผ่านรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2548 อาจยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันรุนแรงขึ้น
 
กทช.ทำเพื่อผู้บริโภคจริงหรือ
30
กันยายน 2548
ในการแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้ในเวลานี้ คำพูดของท่านนายกฯ หลายข้อความแสดงถึงอารมณ์โกรธต่อผู้ก่อความไม่สงบ ไม่ได้สะท้อนหลักเมตตาธรรมตามที่ท่านนายกฯ ได้ให้สัญญาว่าจะใช้ เห็นได้จากการพูดผ่านรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2548 อาจยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันรุนแรงขึ้น
 
คิดให้ดีก่อนใช้สมาร์ทการ์ด 3 จังหวัดใต้
26 กันยายน 2548
หลังจากเหตุการณ์การฆ่า 2 นาวิกโยธินที่หมู่บ้านตันหยงลิมอเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศการบังคับใช้โครงการบัตรสมาร์ทการ์ด 1.3 ล้านใบ กับประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเดือนตุลาคมนี้ โดยจะให้เลือกถือเพียงสัญชาติเดียวเท่านั้น นายกฯทักษิณยังย้ำผ่านรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2548 ว่า “ถ้าใครไม่อยากเป็นคนไทยก็ให้บอกมา ทุกคนต้องเลือกเพียงสัญชาติเดียวเท่านั้น”
 
บทบาทของ UNHCR ที่ถูกกล่าวหา
21 กันยายน 2548
เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา นายกฯ ได้กล่าวถึงการตำหนิหน่วยงานของสหประชาชาติในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ผ่านรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน “ผมได้ถือโอกาสใช้เวทีนี้ก็พูดกันตรง ๆ เลยว่าองค์การสหประชาชาติ ทำงานโดยไม่ประสานหรือไม่ทำงานเป็นลักษณะของพาร์ทเนอร์ชิพ กับประเทศที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร เป็นเรื่องไปทำงานเหมือนตำรวจซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะองค์กรสหประชาติเป็นองค์กรพหุภาคีที่ต้องทำงานในลักษณะพาร์ทเนอร์ชิพกับประเทศที่เกี่ยวข้อง ผมก็เลยต้องต่อว่าเรื่องของการทำงานร่วมกับประเทศต่าง ๆ” ...
 
ความ(ไม่)เสี่ยงของการปรับค่าเอฟที
20 กันยายน 2548
การปรับสูตรคำนวณเอฟที (Ft) ไม่ทำให้ กฟผ. แบกรับความเสี่ยงอย่างแท้จริง เพราะมีกลไกปกป้องผลประโยชน์ของตน แต่ประชาชนต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้น เพราะกลไกคืนกำไรผู้บริโภคได้ถูกทำลายแล้ว...
 
สื่อยุค “ทวิลักษณ์ทางอำนาจ”
19 กันยายน 2548
กรณีบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เข้าซื้อหุ้นมติชน และกรณีการที่องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ได้ปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้ ๆ กันนี้ คงเหมือนกับอีกหลายเหตุการณ์ที่สื่อต้องเผชิญในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ นั่นคือ การตกอยู่ภายใต้สภาพ “ทวิลักษณ์ทางอำนาจ” ระหว่าง อำนาจของสื่อมวลชนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กับ อำนาจของผู้นำองค์กรสื่อที่มักอยู่เหนือสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ซึ่งอำนาจหลังนี้จะใหญ่กว่า...
 
ข้อคิด 7 ประการ: FTA ไทย-ญี่ปุ่น  
14 กันยายน 2548
ในการสัมมนา เรื่อง “คนไทยได้อะไรจาก FTA ไทย-ญี่ปุ่น” เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ผมในฐานะประธานอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อคิดหลายประการแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ...
 
นโยบายราคาน้ำมันที่บิดเบือน  
13 กันยายน 2548
คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ผมเป็นประธาน ได้จัดการประชุมเมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา โดยมีการพิจารณาประเด็น “การกำหนดราคาพลังงานในประเทศไทย” ผมได้เรียนเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ มาชี้แจง รวมทั้งได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุดคนหนึ่งในด้านพลังงาน มาร่วมประชุมด้วย ...
 
โจทย์สุดหิน : ขยับเงินออมครัวเรือน  
6 กันยายน 2548
ล่าสุดกระทรวงการคลังได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1-4.6 จากเดิมร้อยละ 4.6-5.1 ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นการออมภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 ของจีดีพีในแต่ละปี หรือ ประมาณแสนล้านบาทในแต่ละปีเมื่อรวมกับการออมภาคบังคับที่กระทรวงการคลังเร่งให้มีผลบังคับใช้ ...
 
ย้ำการลงทุนแก้ปัญหาจราจรต้องรอบคอบ
2 กันยายน 2548
การปรับแผนการลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ของรัฐบาล โดยชะลอการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและยกเลิกสายส้มเป็นรถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน และประหยัดงบประมาณ เป็นการย้ำลักษณะความฉาบฉวยของรัฐบาลนี้เด่นชัดขึ้นจากการปรับแผนการลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ของรัฐบาล ต้องการให้รัฐบาลศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนอย่างรอบคอบ แล้วจึงลงทุน...
 
รัฐบาลจัดงบไม่สร้างสรรค์
1 กันยายน 2548
การประชุมสภาผู้แทนฯ เมื่อ 31 ส.ค. 2548 ที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2549 ผมได้อภิปรายงบประมาณฉบับนี้ โดยใช้คำว่าเป็น การจัดทำงบประมาณ ‘ไม่สร้างสรรค์’ คำว่า “ไม่สร้างสรรค์” ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า การทำแบบเดิม ๆ หรือไม่คิดค้นสิ่งใหม่ แต่หมายความว่าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ การจัดทำงบประมาณฉบับนี้ไม่สร้างสรรค์อย่างไร ผมขออธิบายใน 3 ประเด็น ดังนี้...
 
ภาคใต้มีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น
29 สิงหาคม 2548
จากการที่วิปรัฐบาลได้สรุปตัวเลขสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยเปรียบเทียบตัวเลขในช่วง 18-31 ก.ค.2548 พบว่าสถานการณ์ความรุนแรงลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 1-18 ก.ค.2548 จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจาก 85 ครั้ง เหลือ 48 ครั้งหลังการใช้ พ.ร.ก. และความเสียหาย (จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต) ลดลงจาก 89 คน เหลือ 42 คน...
 
สื่อควรยกป้าย “ตอบสร้างสรรค์ - ไม่สร้างสรรค์” ด้วยดีไหม?
26 สิงหาคม 2548
ในขณะที่ นายกฯ ใช้สิทธิ “ยกป้าย” ตัดสินคำถามของสื่อว่าสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ สื่อมวลชนควรสร้างดัชนีชี้วัดคำตอบนายกฯหรือแหล่งข่าวอื่น ๆ ว่า สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ด้วย เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน น่าจะเป็นการยุติธรรมดี...

ความสับสนต่อการลงทุนโครงการอภิมหาช้าง
21 สิงหาคม 2548
จากคำกล่าวของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนายทนง พิทยะ รมต.ว่าการกระทรวงการคลังที่ชี้แจงตัวเลขในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ชี้แจงว่า ตัวเลขการลงทุน จะลดลงเหลือ 1.56 ล้านล้านบาท ซึ่งการลดลงของมูลค่าการลงทุน ทำให้ลดแรงกดดันต่อการขาดดุล ในขณะที่ นายทนง พิทยะ กล่าวว่า ตัวเลขการลงทุน ยังคงเท่าเดิม คือ 1.7 ล้านล้านบาท เท่าเดิม...

 
FTA ไทย-ญี่ปุ่น ระวังกำแพงแหล่งกำเนิดสินค้า
20 สิงหาคม 2548
ที่ผ่านมารัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ข้อตกลงตกลงระดับนโยบายเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า ข้อตกลงที่เสร็จไปแล้วนั้นเป็นข้อตกลงทางภาษี โดยมีสินค้า และของไทยที่ลดภาษีเหลือศูนย์ทันที และมีลดภาษีให้แต่ยังไม่เป็นศูนย์ในทันที และในขณะนี้ทั้ง 2 ประเทศยังอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งเป็นการเจรจาขั้นสุดท้าย...
 
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
18 สิงหาคม 2548
การเมืองไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังที่เรียกขานกันว่า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เช่น การที่ประชาชนมีสิทธิที่เสนอร่างกฎหมายทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การขอยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดเห็นต่อโครงการของรัฐที่กระทบต่อชุมชนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เป็นต้น...
 
โครงการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายภาครัฐ ทำไมไม่รีบทำ
15 สิงหาคม 2548
จากการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ผมมีโอกาสได้พูดคุยหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ประเด็นหนึ่งที่ผมให้ความสนใจ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ด้วยเหตุว่าต้นทุนในด้านโลจิสติกส์ของไทยสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น หากปัญหานี้ได้รับการแก้ไขจะช่วยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมาก...
 
“ครึ่งปีหลัง รัฐบาลควรเปลี่ยนท่าทีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ”
13 สิงหาคม 2548
เศรษฐกิจครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ชะลอตัว มีปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด เงินเฟ้อสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากท่าทีการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้วย หากรัฐบาลยังคงมีท่าทีแบบเดิมต่อไปในครึ่งปีหลัง ประชาชนอาจได้รับผลกระทบมากขึ้น...
 
สื่อไทยมีเสรีภาพจริงหรือ?   
9 สิงหาคม 2548    
วันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่โรงแรมเซ็นจูรีปาร์ค พร้อมปาฐกถาพิเศษแสดงความยินดีที่ประเทศไทยโดยสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม...
 
ครม.ปรับใหญ่ ไม่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
4 สิงหาคม 2548
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2548 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการปรับคณะรัฐมนตรี ชุดทักษิณ 2/2 จำนวน 17 ตำแหน่ง ถือได้ว่าเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่ เพราะเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีเกือบครึ่งหนึ่งของคณะรัฐมนตรีทั้งหมด
...
 
คำชี้แจงเกี่ยวกับข้อมูลการคอร์รัปชันในโครงการเมกะโปรเจกต์
28 กรกฎาคม 2548
จากข่าวในคอลัมน์ ‘สำนักข่าวหัวเขียว’ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 ที่ได้พาดพิงถึง รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ว่าเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ โดยระบุว่า มีการคอร์รัปชันสูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถครองอำนาจได้นานถึง 136 สมัย หรือ 544 ปี
...
 
สิ่งที่ควรเพิ่มเติมจากถุงรับขวัญ
27 กรกฎาคม 2548
นอกจากถุงรับขวัญควรสำหรับเด็ก ควรเพิ่ม “ถุงพัฒนาทักษะการเรียนรู้” แนะนำหนังสือ แหล่งเรียนรู้ ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อช่วยพัฒนาระดับสติปัญญาเด็กในระยะยาว
...
 
แก้วิกฤติน้ำ ด้วยการโฆษณา?
22 กรกฎาคม 2548
รองนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยหลังจากร่วมหารือกับนายกรัฐมนตรี ถึงแผนบริหารการจัดการลุ่มน้ำ และการแก้ปัญหาวิกฤติน้ำภาคตะวันออกว่า ได้มีการสำรวจน้ำต้นทุนในพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออก และพบว่ายังใช้น้ำได้อีก 200 วัน แม้ว่าจะไม่มีฝนตกเลย และยืนยันว่าภาคตะวันออกจะมีนำใช้ 5 แสนลูกบาศก์เมตร/วัน โดยไม่ต้องลดกำลังการผลิต
...
 

6 แนวทางลดความเสี่ยงโครงการเมกกะโปรเจกต์ภาครัฐ
20 กรกฎาคม 2548
มาตรการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลยังมีช่องว่าง จากกระบวนการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นค่าจ้างที่ยังไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าแรงไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และกระทบภาพรวมของเศรษฐกิจ

 

หากรัฐบาลยังลวง จะเรียกความมั่นใจประชาชนได้อย่ายไร
15 กรกฎาคม 2548
รัฐจะตรึงราคาสินค้าไม่อยู่ เพราะมาตรการรัฐกระทบต้นทุน เสนอให้แฉสินค้าที่ฉวยโอกาสขึ้นราคา สร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และลดภาษีผู้ผลิตสินค้าจำเป็น ผลกระทบจากมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้นของรัฐบาล จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลจึงควรจัดการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย...

 
สัมมนาเรื่อง “ความเสี่ยงโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ
14 กรกฎาคม 2548
เมื่อวันพุธที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้รับการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนเรื่องข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาลที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้มากนัก หากรัฐบาลชุดนี้ยังเป็น ‘รัฐบาลลวง’...
 
FTA กับความมั่นคงทางอาหาร
6 กรกฎาคม 2548
ผมได้กล่าวไว้ในวันอภิปรายแล้วว่า โครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลซึ่งใช้งบประมาณสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาทนั้น มีโอกาสก่อปัญหาวิกฤตตามมา เช่น ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ปัญหาหนี้สาธารณะ และได้เสนอให้รัฐบาลเตรียมการล่วงหน้าให้พร้อม เช่น เตรียมการว่าจะหาเงินมาเพิ่มเพื่อทำให้โครงการสำเร็จได้อย่างไร ประเมินต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการ ตลอดจนทำเอกสารสัญญาต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการดำเนินโครงการอยู่ในกรอบที่ควบคุมได้...
 
งบปี 49 งบจอมเสี่ยง ‘ฝัน-แอบ-ฮั้ว’ ระวัง ‘รีดภาษี-ซ่อนหนี้-โกงกิน’
2 กรกฎาคม 2548
การอภิปรายในวาระการพิจารณารับหลักการของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2549 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2548 ผมวิพากษ์การจัดงบฯว่า เป็น ‘งบจอมเสี่ยง’ เพราะนำพาความเสี่ยง 3 ด้าน ...
 
ธ.ก.ส. ไม่ควรให้รัฐมนตรีกำหนดปริมาณเงินสำรอง
26 มิถุนายน 2548

การแยกฝ่ายกำกับและดูแลระบบสถาบันการเงินออกจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาไว้ที่กระทรวงการคลังนั้น เป็นประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ และยังคงไม่ได้ข้อสรุป แต่อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านในเรื่องดังกล่าว ซึ่งผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว...