Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |

หมวดเศรษฐกิจ
หมวดการเมืองไทย/ต่างประเทศ
หมวดสังคม

หมวดการศึกษา
ใช้ผลการเลือกตั้งฟอกตัวไม่ได้ (Election Results : Cannot be kept clean)
22 มีนาคม 2549
พรรคไทยรักไทยทำซีดีคำแถลงของรักษาการนายกรัฐมนตรี แจกสมาชิกทั่วประเทศ 5 แสนแผ่น จุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนออกไปลงคะแนน ในวันที่ 2 เมษายนนี้ โดยอ้างว่าเป็นการช่วยกันรักษาประชาธิปไตย นอกจากนี้ รักษาการนายกฯยังตั้งเงื่อนไขว่า ตนยินดีรับผลการเลือกตั้งไม่ว่าผลจะออกมาแบบใด ถ้าผลที่ออกมาลงคะแนนให้พรรคไทยรักไทยไม่ถึงครึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง >>
การเมืองว่าด้วยการดีเบต (The Debate over Election Issues)
21 มีนาคม 2549
ข้อเสนอของพรรคไทยรักไทยที่กำหนดจุดยืนในการเจรจาหาทางออกทางการเมืองว่า พรรคไทยรักไทยพร้อมจะเจรจา หรือ “ดีเบต” 3 ฝ่าย ตามข้อเสนอของพีเน็ต ในวันที่ 24 มีนาคม 2549 โดยให้ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ได้ แต่ทั้งนี้เครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะต้องยอมปฏิบัติตาม 2 เงื่อนไข คือ >>
ทำอย่างไรเยาวชนไทยเข้าใจประชาธิปไตย (How to help Thai youth understand  democracy)
20 มีนาคม 2549
หากพิจารณาสถานการณ์การเมืองในขณะนี้พบว่า รัฐบาลพยายามในการแย่งชิงพื้นที่ทางความคิดของประชาชน โดยอ้างว่าการเลือกตั้งเป็นกติกาประชาธิปไตย แต่ข้ออ้างดังกล่าวถูกเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น เพราะละเลยความจริงอีกด้านของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง นั่นคือ กระบวนการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสามารถแสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองของตนได้ตลอดเวลา รวมถึงการบรรลุถึงสภาวะของความเท่าเทียม เป็นธรรมของคนในสังคม โดยอาศัย >>

ทักษิณและมาร์กอส (2) : การวางรากฐานอำนาจ
(Thaksin & Ferdinand Marcos II : Launching of Enforcement
)

19
มีนาคม 2549
จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์ ในยุคของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาล มาร์กอส ผมได้พบความคล้ายคลึงกันของผู้นำประเทศต่างยุคต่างสมัยกัน ระหว่างรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ และรัฐบาลไทยในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเด็น อาทิ >>

ความชอบธรรมเรื่องการเสียภาษี (Integrity in Taxation Payment)
18 มีนาคม 2549
ผมขอยกประโยคจากคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่เวทีหน้าสนามกีฬากลางจังหวัดชลบุรีที่ว่า “…ผมเสียภาษีมากกว่าพวกมันรวมกันทั้งประเทศอีก...” ผมเข้าใจว่าประโยคดังกล่าวนี้นายกฯ คงนำไปปราศรัยอีกหลายเวทีทั่วประเทศ  ผมเกรงว่า >>
ทักษิณกับมาร์กอส (Taksin & Ferdinand Marcos)
17
มีนาคม 2549
จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์ ในยุคของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาล มาร์กอส ผมได้พบความคล้ายคลึงกันของผู้นำประเทศต่างยุคต่างสมัยกัน ระหว่างรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ และรัฐบาลไทยในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเด็น อาทิ >>

ฉวยโอกาสสอนเด็กไทยเรียนรู้เรื่องการเมือง (Using this opportune time to teach our youth about politics)
15 มีนาคม 2549
สถานการณ์ความขัดแย้งของการเมืองไทยในปัจจุบัน แม้จะยังไม่สามารถผ่าทางตันทะลุทะลวงปัญหาที่เกิดขึ้นได้  แต่อย่างไรก็ตามปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวนับเป็น “กรณีศึกษาด้านการเมือง” ที่น่าสนใจและสามารถดึงดูดให้เด็กและเยาวชนไทยหันมาสนใจเรื่องการเมืองมากยิ่งขึ้น ดังเช่น มีครูในโรงเรียนต่างจังหวัดหลายแห่ง ได้นำปรากฏการณ์การเมืองไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาสอนนักเรียนของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชี้ให้เด็ก ๆ เห็นว่า การรวมตัวของประชาชนหรือม็อบกลุ่มต่าง ๆ ที่ร่วมชุมนุมกัน ณ สนามหลวงนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด  แต่เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถพึงกระทำได้ตามหลักการประชาธิปไตย >>

พึ่งทูตสร้างธรรมาภิบาลไทย (Invite Diplomatic Corps to Help Create Good Governance in Thailand)
11 มีนาคม 2549
จากการประชุมคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภาเมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมามีการพิจารณาสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนจากต่างชาติ โดยเชิญสภาหอการค้านานาชาติ จำนวน 10 ประเทศมาร่วมแสดงความคิดเห็น และในวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2549 คณะกรรมาธิการชุดเดียวกันจะเชิญทูตทุกประเทศที่ประจำประเทศไทยมาร่วมหารือสถานการณ์การเมืองของไทย >>

ทักษิณกับฮวน เปรอง (Taksin & Juan Peron)
10 มีนาคม 2549
คนไทยเรามีสำนวนเพื่อสอนลูกหลานว่า “เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด” เพื่อสอนให้เด็กเชื่อฟังและเรียนรู้จากผู้ใหญ่ซึ่งมีประสบการณ์มาก่อน การศึกษาประวัติศาสตร์แท้จริงแล้วจึงมีคุณค่า เราสามารถจะเข้าใจปัจจุบัน และพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้จากประวัติศาสตร์ ผมจึงอยากนำเสนอการเปรียบเทียบรัฐบาลทักษิณ กับรัฐบาลของประเทศอาเจนตินาในอดีต คือ รัฐบาลของฮวน เปรอง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจพฤติกรรมในปัจจุบันของผู้นำของไทยมากขึ้น รวมทั้งรู้ชะตากรรมที่จะเกิดขึ้นกับคนไทยในอนาคต >>
จับตาผู้สมัครกำมะลอ (Keeping an eye on fake candidates)
8 มีนาคม 2549
การเปิดรับสมัคร ส..แบบแบ่งเขตในวันที่ 4-8 มีนาคม ผมขอวิงวอนให้ประชาชนร่วมกันจับตามอง เพราะอาจมีผู้สมัครกำมะลอ ที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาลงสมัคร โดยเฉพาะคุณสมบัติตาม ม.107 (4) ที่ระบุว่า ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน >>
การเมืองไทยภายใต้ประชาธิปไตยแบบกดดัน (Politics under the pressure of Democracy)
7 มีนาคม 2549
สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันถือได้ว่าอยู่ในช่วงที่วิกฤตมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลทักษิณบริหารประเทศมา 5 ปีเศษ หลาย ๆ ท่านอาจจะรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่อาจจะทรุดตัวลง หรือกลัวว่าจะเกิดความรุนแรงจนทำให้เกิดเสียเลือดเนื้ออันเกิดจากการชุมนุมประท้วง และเกิดคำถามว่าเหตุใดภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่รัฐบาลมาจากการเลือกของคน 19 ล้านเสียง กำลังถูกประชาชนกลุ่มหนึ่งขับไล่และเรียกร้องให้ผู้นำประเทศลาออก แล้วอย่างนี้ เราจะปกครองภายใต้กติกาในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร >>
ความผิด 3 ประการ จากการปราศรัยของทักษิณ (Three misleading points from Taksin’s  Friday Speech)
6 มีนาคม 2549
จากการปราศรัยของ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งรักษาการนายกฯ กล่าวไว้ก่อนการปราศรัยว่า เป็นการเปิดใจ และตอบข้อสงสัยในประเด็นคำถามที่คนสงสัย >>

วอนนายก ใช้เวทีสนามหลวง 3 มี.ค. อย่างสร้างสรรค์ (Dear Prime Minister, we trust in your creative intentions for March 3rd at Sanam-Luang)
2 มีนาคม 2549
จากสถานการณ์การเมืองที่ร้อนระอุขึ้นทุกวัน นับตั้งแต่การประกาศยุบสภาของท่านนายกรัฐมนตรี การชุมนุมครั้งใหญ่ของประชาชนนับแสนคนที่ต้องการให้นายกฯ ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากประชาชนเห็นว่านายกฯ หมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ รวมทั้งการรวมพลังของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านที่จะไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลขาดความจริงใจในการแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง และเงื่อนงำในการประกาศยุบสภา ซึ่งเป็นเพียงการซื้อเวลาและช่วงชิงความได้เปรียบให้กับตนเองเท่านั้น >>

ทำไมต้องมีคนกลางเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (Why mediators are necessary for a new constitution)
27 กุมภาพันธ์ 2549
จากการประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน หลังจากการปฏิเสธของนายกรัฐมนตรีที่จะร่วมลงนามในสัตยาบันที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอ โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 313 เพื่อให้มีคนกลางมาเป็นผู้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญ >>

ยุบสภา : ทางออกของปัญหาที่ “เกาไม่ถูกที่คัน” (Dissolution of the House of Representations: Is it a right solution?)
26 กุมภาพันธ์ 2549
จากการที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 โดยนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้ให้เหตุผลว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่พยายามสร้างสถานการณ์ เพื่อล้มล้างรัฐบาล ซึ่งได้ก่อการชุมนุมและพยายามทำให้การชุมนุมขยายตัว และอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าและก่อความเสียหายแก่ประชาชน นอกจากนี้ยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางพรรค สมาชิกวุฒิสภาบางคน ไม่ยึดกติกาของรัฐสภาและแสดงตัวเข้าร่วมกับการชุมนุม ทำให้ต้องมีการยุบสภา เพื่อทำให้ความสับสนต่าง ๆ หมดไป และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจแก่ประชาชน >>

ถามหามาตรฐาน ตีความสัญชาติชินคอร์ป (Requesting Nationality Standards of Shin Corporation Leadership.)
23 กุมภาพันธ์ 2549
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมได้จัดแถลงข่าว เรื่อง การตีความสัญชาติชินคอร์ป โดยผมได้ตั้งข้อสังเกตถึงมาตรฐานที่แตกต่างกันของหน่วยราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการถือหุ้นของคนต่างด้าว เพราะการตีความเกี่ยวกับโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทไทยแอร์ เอเชียจำกัด น่าจะส่งผลกระทบต่อการถือหุ้นของชินคอร์ปในเอไอเอส ไอทีวี และชินแซทด้วย >>

ให้ต่างชาติถือครองที่ดิน : นโยบายขายตรงประเทศไทย (Let foreigners own the land: The policy of direct sales in Thailand)
22 กุมภาพันธ์ 2549
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและกำหนดมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมสำคัญ ที่ยังมีการลงทุนน้อยในประเทศ คณะทำงานดังกล่าวได้เสนอให้ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้คนต่างชาติสามารถถือครองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยผ่านกลไกการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ และให้เหตุผลของข้อเสนอดังกล่าวว่าเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร
>>
จี้ ก.ล.ต. ตรวจสอบนายกฯ (Urging the SEC to inspect the PM)
21 กุมภาพันธ์ 2549
จี้ ก.ล.ต.ตรวจสอบ พ...ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีไม่รายงานการขายหุ้นชินคอร์ปในบริษัทแอมเพิลริช เช่นเดียวกับที่ ก.ล.ต.กำลังตรวจสอบเพื่อเอาผิดนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร >>
ศึกษารัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (4) (The study of section 170(4) of the Thai constitution)
20 กุมภาพันธ์ 2549
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ได้เชิญอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมาพบปะพูดคุยร่วมกันศึกษาวิจัยแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ได้ขอให้อธิการบดีทุกคนกลับไปคิด วิจัย วิเคราะห์ โดยให้เห็นผลภายในสิ้นเดือนเมษายน ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ครั้งที่ 1/2549 มีมติว่าให้แต่ละมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมและสนใจรับเรื่องนี้ไปดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อให้เสร็จทันในระยะเวลาที่กำหนด
>>
ความหลอกลวงของนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Hoodwinked by the Privatization Policy)
18 กุมภาพันธ์ 2549
ลักษณะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลนี้ คือการทำให้เอกชนเข้ามาเป็นเจ้าของบางส่วน โดยรัฐบาลยังคงอำนาจในการบริหาร แต่แทนที่รัฐบาลจะใช้อำนาจการบริหารเพื่อประโยชน์ของประชาชน กลับทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้เอกชนผู้ถือหุ้น เนื่องจากรัฐบาลและเอกชนเป็นคนเดียวกัน จึงทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน >>
แววเผด็จการในรัฐบาลทักษิณ (Fascist Tendencies in Thaksinarchy)
17 กุมภาพันธ์ 2549
เมื่อวันที่ 14 ..ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสถาบันสหัสวรรษ จัดเวทีเสวนาประชาชนเรื่อง “แววเผด็จการ” ซึ่งผมได้วิเคราะห์ว่า การเมืองการปกครองของไทยในขณะนี้จะมีแววของเผด็จการหรือไม่ โดยให้พิจารณาจาก 6 คำ  คือ “กุม เพิ่ม ทอน ใช้ เหลิง (ไม่)ดุล” อำนาจ ดังนี้ >>

ทำไม “ขาโจ๋” จึงเป็นคู่กัดกับ “ขาประจำ” (จบ) (Why do academics and politicians end up in conflict? (2))
14 กุมภาพันธ์ 2549
ผมได้กล่าวถึงความขัดแย้งของ “ขาโจ๋” หรือนักการเมือง (ฝ่ายรัฐบาล) และ “ขาประจำ” หรือนักวิชาการ ซึ่งเกิดจากเป้าหมายของนโยบายที่นำเสนอนั้นแตกต่างกัน โดยนักการเมืองมีเป้าหมายเพื่อคะแนนเสียงสูงสุด แต่นักวิชาการมีเป้าหมายเพื่อเพื่อสวัสดิการสูงสุด เมื่อความเห็นเรื่องนโยบายที่ควรจะเป็นไม่ลงรอยกัน จึงตามมาด้วยการ “เจรจาต่อรอง” ระหว่างนักการเมือง (ฝ่ายรัฐบาล) กับนักวิชาการ ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการต่อรองนี้ไม่ใช่การต่อราคาเสื้อที่ตลาดโบ๊เบ๊ แต่เป็นการ “นำเสนอความเห็น” จากนักวิชาการไปสู่รัฐบาล อย่างนุ่มนวลบ้าง หรือรุนแรงบ้าง >>

ทำไม “ขาโจ๋” จึงเป็นคู่กัดกับ “ขาประจำ” (1) (Why do academics and politicians end up in conflict? (1))
13 กุมภาพันธ์ 2549
นักการเมืองกับนักวิชาการนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมากันทุกยุค ทุกสมัย แต่ในยุคนายกทักษิณ ความขัดแย้งนี้ดูจะรุนแรงเป็นพิเศษ มากกว่ายุคใด ๆ ในประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย เริ่มต้นด้วยการที่ท่านนายกเรียกนักวิชาการที่ออกมาแนะนำการบริหารนโยบายว่า พวก “ขาประจำ” ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว จนสุดท้ายหนึ่งใน “ขาประจำ” ที่ท่านนายกกรุณาตั้งชื่อให้นั้น ได้ตอบแทนบุญคุณด้วยการตั้งฉายากลับให้ท่านนายกบ้างว่าเป็น “ขาโจ๋” ในระบบการเมืองไทย >>

ความจริงที่นายกฯ ไม่ได้แถลง (The truth that the PM did not tell)
11 กุมภาพันธ์ 2549
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ไปบรรยายเรื่อง ‘ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ’ ที่สภาที่ปรึกษาฯ ในฐานะอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯชุดที่ 1 ผมได้ให้ความสนใจการบรรยายครั้งนี้มาก เพราะเป็นการไปเยือนสภาที่ปรึกษาฯครั้งที่ 2 ในรอบ 4 ปี แต่ผมแปลกใจที่นายกฯไม่ได้พูดถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับสภาที่ปรึกษาฯมากนัก แต่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายผลงานในรอบ 5 ปีของรัฐบาล ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเพียงข้อมูลเก่าและเป็นความจริงที่ไม่ครบถ้วน เพราะมีความจริงอีกหลายประการที่นายกฯไม่ได้พูด >>
วอนโอ๊ค-เอม แจง แอมเพิลริช เพื่อพ่อ (Calling Oak and Ame to explain Amplerich on father’s behalf)
8 กุมภาพันธ์ 2549
ผมขอเรียกร้องให้ โอ๊ค-แอม ทำเพื่อพ่ออีกสักครั้ง ตอบคำถามคาใจประเด็นแอมเพิลริช เหตุคนอื่นพูดแทนไม่เคลียร์ กรณีที่การซื้อ-ขายหุ้นและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัทแอมเพิลริชยังมีความคลุมเครือ เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ ยังไม่สามารถอธิบายและแสดงหลักฐานที่สร้างความชัดเจนแก่สังคมได้ และต่างพยายามโยนประเด็นออกจากตัวเอง >>
ข้อกังขาคำแถลง ก.ล.ต. (The securities and exchange commission announcement is suspicious)
3 กุมภาพันธ์ 2549
การแถลงข่าว ก... ในประเด็นการซื้อขายหุ้นของ นายพานทองแท้ ชินวัตร และ นางสาวพิณทองทา ชินวัตร จากบริษัทแอมเพิลริช ในราคา 1 บาท แล้วนำมาขายในตลาดราคา 49.25 บาท ซึ่งทาง ก... ยืนยันว่าไม่เป็นการใช้ข้อมูลภายใน เพราะผู้ถือหุ้นทั้งสองคนซื้อหุ้นจากบริษัทที่ตัวเองเป็นผู้ถือหุ้น และบริษัทดังกล่าวไม่มีผู้อื่นถือหุ้นอยู่ด้วยนั้น เป็นการด่วนสรุปโดยที่ยังไม่เห็นหลักฐาน >>
เกมเศรษฐีภาคขยาย II: ปลาใหญ่กินปลาเล็ก (Extended monopoly game II: Big fish eat little fish)
2 กุมภาพันธ์ 2549
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึง ”เกมเศรษฐีภาคขยาย” ที่นวัตกรชาวไทยพัฒนาจากเกมเศรษฐีภาคเดิม โดยผู้เล่นสามารถบรรลุเป้าหมายของเกมคือเป็นผู้เล่นที่เหลือเพียงผู้เดียวได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยสามารถกุมตำแหน่ง “นายธนาคาร” ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกติกา และเปลี่ยนกติกาให้เอื้อต่อผลประโยชน์ของตนเองได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มเงินทุนโดยการให้ผู้เล่นต่างชาติสามารถเข้ามาซื้อหุ้นได้อีกด้วย >>
 
4 ก.พ… ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประชาธิปไตยไทย (The Democratic  Social Movement of 4 February)
30 มกราคม 2549
เป็นที่ทราบกันดีว่าวันที่ 4 .. 49 จะมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แสดงพลังประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ที่หน้าลานพระบรมรูปทรงม้า นำโดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” จะนำประชาชนเรือนหมื่นเรือนแสน  เพื่อถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านพล..เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี >>
 
เกมเศรษฐีภาคขยาย (Extended Monopoly Game)
27
มกราคม 2549
ปี ค..1934 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดของอเมริกา ในปีนั้น นาย Charles B. Darrow ซึ่งกำลังตกงานอยู่นั้นได้ให้กำเนิดเกมกระดาน (Board game) ซึ่งเป็นที่แพร่หลายที่สุดเกมหนึ่งของโลก ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า “Monopoly game” หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “เกมเศรษฐี” ซึ่งได้แนวคิดบางส่วนมาจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มทุนในอเมริกาในสมัยนั้น >>
 
ขายหุ้นชินคอร์ป : ความไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต (Shin Corporation Share Selling: Corruption by Default)
26
มกราคม 2549
เมื่อห้าปีที่แล้ว เราคงจำได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับคดีซุกหุ้นอันโด่งดังของท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร แม้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาให้ท่านนายกฯพ้นความผิดจากกรณีดังกล่าว จนกลายเป็นที่มาของวลีที่ว่า "ความบกพร่องโดยสุจริต” ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครทราบว่านายกฯบกพร่องโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังคงสร้างความเคลือบแคลงใจแก่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจนถึงทุกวันนี้ >>