ชี้พฤติกรรมรัฐบาลที่รับปากทุกฝ่ายอย่างขัดแย้งกันในแนวทาง
เป็นการเตะถ่วงปัญหาและซื้อเวลาเพียงให้รอดตัวเฉพาะหน้า
ชี้พฤติกรรมของรัฐบาลไม่ได้สะท้อนว่าไม่เห็นความสำคัญของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
การแก้ไข
ร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่
..)
พ.ศ.
.
ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่
30
พฤศจิกายน
2548
นั้น
เป็นการแก้ปัญหาแบบผิวเผิน
เป็นการหาทางออกที่ใช้วิธีเลี่ยงประเด็น เพื่อให้ตัวเองพ้นแรงกดดัน
ผมเห็นว่า
ประเด็นเรื่องการถ่ายโอนอำนาจการศึกษาให้ท้องถิ่นนั้นเป็นปัญหาของการบริหาร
ซึ่งต้องแก้ปัญหาด้วยการทบทวน ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหาร
ไม่ใช่การแก้หลักการของการกระจายอำนาจ
ซึ่งไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาจริง เป็นเพียงการเตะถ่วงปัญหาไปเรื่อย ๆ
อีกประเด็นที่ผมยังติดใจ คือ เหตุใดการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จึงไม่กำหนดเงื่อนไขเวลาที่ชัดเจน
ทั้ง ๆ
ที่การกำหนดเงื่อนไขของเวลาจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาและเตรียมความพร้อม
ที่ผ่านมาผมเห็นว่า หากรัฐบาลต้องการพัฒนาเรื่องใดมักกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน
เช่น
การแก้ปัญหาความยากจนใน
6
ปี
แก้ปัญหาความไม่สงบภาคใต้ใน
3
เดือน
การเปิดเสรีทางการค้ากับออสเตรเลียที่กำหนดระยะเวลา
15
ปีในการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมโคเนื้อและโคนม เป็นต้น
แต่ในประเด็นกระจายอำนาจการศึกษา
ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
รัฐบาลกลับไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเวลาที่จะทำให้สำเร็จ
หรือเป็นเพราะว่า รัฐบาลไม่ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ตั้งแต่แรก
พฤติกรรมที่ผ่านมาของรัฐบาลชี้ให้เห็นว่า ไม่เห็นความสำคัญของการกระจายอำนาจ
ทั้งเรื่องการจัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.)
และการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา รัฐบาลไม่มีแนวทางภาคปฏิบัติที่ชัดเจน
ทั้งด้านการเตรียมความพร้อมของ อปท.
การจัดเตรียมระบบการบริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา
และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษา
การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นการ
เกาะกระแส
ที่ครูออกมาคัดค้าน เพื่อสร้างความชอบธรรมเพื่อแก้กฎหมายกระจายอำนาจ
ซึ่งรัฐบาลพยายามหาโอกาสที่จะปลดล็อคเงื่อนเวลาในกฎหมายฉบับนี้อยู่แล้ว