เมื่อวันที่
14
ก.พ.ที่ผ่านมา
ผมได้รับเชิญจากสถาบันสหัสวรรษ จัดเวทีเสวนาประชาชนเรื่อง
แววเผด็จการ
ซึ่งผมได้วิเคราะห์ว่า
การเมืองการปกครองของไทยในขณะนี้จะมีแววของเผด็จการหรือไม่ โดยให้พิจารณาจาก
6
คำ คือ
กุม
เพิ่ม ทอน ใช้ เหลิง (ไม่)ดุล
อำนาจ ดังนี้
หนึ่ง
กุมอำนาจ
การปกครองเผด็จการจะตกอยู่ภายใต้ผู้นำคนเดียวที่กุมอำนาจ
จริงหรือไม่ว่าประเทศไทยก็ตกอยู่ภายใต้ผู้นำที่กุมอำนาจและตัดสินใจเพียงคนเดียว
ตั้งแต่
เป็นเจ้าของพรรค สามารถกำหนดคณะรัฐมนตรี เลือกกรรมการบริหารพรรค
กำหนดตำแหน่งผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรค สามารถกำหนดใครลงสมัครได้ในแต่ละเขต
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามารถแต่งตั้งคนสนิทและญาติ ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรของรัฐ
นอกจากนี้ยังบริหารประเทศแบบรวมศูนย์อำนาจที่ซุปเปอร์ซีอีโอเพียงคนเดียวและไม่ให้ความสำคัญกับกระจายอำนาจ
กล่าวคือไม่กระจายงบประมาณไปให้กับท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
โดยทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คนอื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจใด ๆ ทั้งสิ้น
สอง
เพิ่มอำนาจ
รัฐบาลเผด็จการมีความพยายามที่จะเพิ่มอำนาจให้กับตนเอง
รัฐบาลจะออกเป็นกฎหมายเพื่อสร้างความชอบธรรม เช่น ฮิตเลอร์ออก พ.ร.บ.มอบอำนาจ
(Enabling Act)
มาร์กอสออกกฎอัยการศึก
เพื่อมุ่งให้ตนเองมีอำนาจมากขึ้นและครองอำนาจอย่างยาวนาน
ขณะที่การเมืองไทยมีความละม้ายคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่การเสนอร่างพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุม
พ.ศ
.
เพื่อให้นายกฯ และรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงมีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินใจเรื่องใด ๆ
โดยไม่จำเป็นต้องประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ โดยให้ถือว่าการตัดสินใจนั้นเป็นมติ ครม.ได้
หรือการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จกับนายกฯ
สาม
ทอนอำนาจ
การทอนอำนาจสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนเกิดขึ้นในรัฐบาลเผด็จการ ตั้งแต่สมัยซูฮาร์โตที่เซ็นเซอร์สื่อมวลชน
สมัยมาร์กอสเข้าไปแทรกแซงข้อมูล เมื่อพิจารณาถึงสังคมไทย
รัฐบาลมีพฤติกรรมที่อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่าพยายามเข้าไปแทรกแซงสื่อมวลชนหรือไม่
อาทิ การใช้งบโฆษณาของหน่วยราชการเป็นเครื่องมือต่อรองกับสื่อ
เพื่อให้สื่อต้องยอมโดยไม่ใช้เสรีภาพอย่างเต็มที่ การปิดกั้นวิทยุชุมชน
การถอดรายการต่าง ๆ ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การยัดเยียดแต่รายการของรัฐบาลขณะที่ข้อมูลข่าวสารของฝ่ายค้านปรากฎต่อสาธารณะน้อยและสั้นมาก
การใช้กลไกของรัฐในการตรวจสอบฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้เกิดความกลัวและไม่กล้าที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่
ส่วนการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปรากฏชัดในเหตุการณ์ฆ่าตัดตอน
2,500
ศพในการทำสงครามกับยาเสพติด ข่าวสารเกี่ยวกับการอุ้มฆ่าประชาชน
หรือการเลือกปฏิบัติในการพัฒนาจังหวัดหากไม่เลือกพรรคของผู้นำรัฐบาล
สี่
ใช้อำนาจ
รัฐบาลเผด็จการทุกยุคจะใช้อำนาจเพื่อพวกพ้องและส่วนตัว สมัยมาร์กอสตอบแทนแก่นายทหารด้วยเงินทองเพื่อให้สยบต่ออำนาจ
ขณะที่ฮิตเลอร์มีกองกำลังส่วนตัวไว้ป้องกันตัวและทำลายฝ่ายตรงข้าม
จริงหรือไม่ว่าการปกครองของบ้านเราในขณะนี้
มีการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ขณะที่นโยบายต่าง ๆ
ของรัฐบาล มีข้อครหาว่า
ทำเป็นตนเองและพวกพ้องของตนเองมากกว่าทำเป็นประโยชน์ของประชาชนหรือไม่
ห้า
เหลิงอำนาจ
หลักสำคัญของเผด็จการคือการเหลิงอำนาจ
โดยไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะสังเกตุได้เช่นกันในรัฐบาลชุดนี้ที่พยายามไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด
ร่วมทำอย่างเต็มที่ อาทิ
ใครวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจะถูกผู้นำตอบโต้อย่างรุนแรงและสวนกลับอย่างทันควัน หรือกระบวนการกำหนดนโยบายยังปิดกั้นการมีส่วนร่วม
โดยเฉพาะการไม่นำข้อตกลง FTA เข้าพิจารณาในสภาซึ่งถือเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
และการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหุ้น โดยไม่สนใจข้อทักท้วงใด ๆ
หก
ไม่ดุลอำนาจ
เผด็จการทุกยุคทุกสมัยไม่ชอบการถ่วงดุลอำนาจ ดังการปกครองแบบฟาสซิสม์
ที่เน้นประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ ไม่ต้องการให้มีการถ่วงดุล จึงไปลดอำนาจรัฐสภา
ขณะที่สังคมไทยถูกข้อครหาเสมอว่า
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นอิสระจริง เพราะมีการแทรกแซง
การทำงาน ตั้งแต่กระบวนการสรรหา
กระบวนการคัดเลือกบุคคล และกระบวนการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ
หากประเทศปกครองภายใต้
กุม
เพิ่ม ทอน ใช้ เหลิง ไม่ดุล
อำนาจ
จะเกิดอาการที่เรียกว่า บูรณาการอำนาจนิยมอันนำไปสู่บริบูรณ์อำนาจนิยม
ซึ่งอาจจะแสดงออกได้เป็น
2
ทาง
คือ ทรราชย์อำนาจนิยม
ที่บูรณาการอำนาจเพื่อตนเองและพวกพ้อง
และ เทวอำนาจนิยม
ที่บูรณาการอำนาจเพื่อประเทศชาติ
แต่ที่น่ากลัวกว่าทรราชย์อำนาจนิยม คือ
เทวกิตติมอำนาจนิยม
ซึ่งเป็นผู้นำที่คิดว่าตนเองเก่งที่สุดที่จะปกครองประเทศได้ทั้งหมด
เลยคิดไปว่าตนเองเป็นเทวดา ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่ใช่