รัฐบาลภายใต้การนำของนายกฯ
ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาล มาร์กอส
นอกจากจะมีความเหมือนกันในแง่ของความพยายามแก้ไขกฎหมาย
เพื่อเพิ่มอำนาจและรักษาอำนาจให้กับตนเอง ตลอดจนมีความพยายามแทรกแซงและครอบงำ
สื่อสารมวลชนแล้ว รัฐบาลคู่แฝดแต่อยู่คนละประเทศยังมีความเหมือนกันในแง่ของ
การสร้างคะแนนนิยมจากประชาชนและการสร้างฐานอำนาจ
แนวคิดนโยบายประชานิยม
เฟอร์ดินาล มาร์กอส
มีนโยบายสร้างสังคมใหม่ (New Society)
เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าที่สุดในอาเซียน
โดยออกนโยบาย
ปฏิรูปเศรษฐกิจรากหญ้า การพัฒนาคนจนในท้องถิ่นห่างไกล
การอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร การจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชน รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก
ซึ่งนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ประเทศเป็นหนี้เป็นจำนวนมาก
ส่วนรัฐบาลไทยรักไทยมีแนวนโยบายที่คล้ายคลึงกัน คือ คิดใหม่ ทำใหม่
โดยกำหนดชุดของนโยบายประชานิยมจำนวนมาก ที่พยายามเอาใจประชาชนระดับรากหญ้า
อาทิ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน โครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ
การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การทำสงครามกับความยากจน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
รวมทั้งรัฐบาลยังมีแผนลงทุนในโครงการ
เมกะโปรเจกต์ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก
ซึ่งโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ประชาชนเป็นหนี้มากขึ้น
และอาจจะทำให้ประเทศเป็นหนี้จำนวนมาก หากรีบเร่งลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์
การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
รัฐบาลมาร์กอสยังพยายามสร้างเครือข่ายกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง
ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการเกื้อหนุนเสถียรภาพของรัฐบาล
เช่น การ
แต่งตั้งกลุ่มมุสลิม
เข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล การให้ผลประโยชน์แก่นายทหารในกองทัพ
โดยกรณีที่เป็นที่โจษจันกันมากคือ การให้นาฬิกาโรเล็กซ์แก่นายทหารชั้นผู้ใหญ่
12 คน (12 Rolex)
เพื่อให้ทหารหนุนหลังรัฐบาล
รัฐบาลทักษิณได้พยายามสร้างเครือข่ายการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์สำคัญ ๆ
ในสังคม เช่น การนำเอากลุ่ม
คนเดือนตุลา
มาเป็นแกนนำในรัฐบาล
เพื่อให้ได้ฐานเสียงจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ การดูด ส.ส.ของ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งเป็นชาวมุสลิม เข้ามาเป็นสมาชิกของพรรค หรือความพยายามสร้างสัมพันธ์กับนายพลในกองทัพ
โดยเฉพาะการแนะนำให้เลขาของภริยานายกฯแต่งงานกับผู้บัญชาการทหารอากาศ
วางเครือญาติและพวกพ้องในตำแหน่งสำคัญ
รัฐบาลมาร์กอสได้วางเครือญาติและพวกพ้องในตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
และหน่วยงานของรัฐ
เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายและ
บริหารประเทศ ที่เอื้อประโยชนต่อธุรกิจของประธานาธิบดีและพวกพ้อง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การแต่งตั้งญาติของ อิเมลด้า มาร์กอส
เป็นผู้คุมกรมสรรพากร ซึ่งทำให้ดำเนินธุรกิจของครอบครัวมาร์กอสได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษี
ขณะที่รัฐบาลทักษิณได้ใช้วิธีการเดียวกัน
โดย
แต่งตั้งเครือญาติและพวกพ้องของผู้มีอำนาจในรัฐบาลให้เป็นใหญ่ในหน่วยงาน
สำคัญ ๆ
เช่น
การแต่งตั้งพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ลูกพี่ลูกน้องผู้พี่ของนายกฯ
เป็นผู้บัญชาการทหารบก
เพื่อควบคุมกำลังทหาร การ
แต่งตั้ง
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นพี่เขย
เป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพื่อดูแลควบคุมกำลังตํารวจ
ตลอดจนการแต่งตั้ง
พล.อ.อ.คงศักดิ์
วันทนา ซึ่งเป็นสามีของเลขาฯ คนสนิทของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร เป็น รมว.มหาดไทย
มากไปกว่านั้น
การแต่งตั้ง
พล.ต.ต.สุรสิทธ์
สังขพงศ์ เพื่อนนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 26
ควบคุมดูแลกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ
เราจะเห็นได้ว่า
รัฐบาลคู่แฝดใช้วิธีการเดียวกันในการวางรากฐานอำนาจ
เพื่อที่จะให้อำนาจของตนเองนั้นยั่งยืน ด้วยการใช้นโยบายเอาใจคนระดับรากหญ้า
การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
โดยการแบ่งสรรประโยชน์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ตลอดจนการสร้างฐานอำนาจในองค์กรสำคัญของรัฐ