เมื่อห้าปีที่แล้ว
เราคงจำได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับคดีซุกหุ้นอันโด่งดังของท่านนายกฯทักษิณ
ชินวัตร แม้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาให้ท่านนายกฯพ้นความผิดจากกรณีดังกล่าว
จนกลายเป็นที่มาของวลีที่ว่า
"ความบกพร่องโดยสุจริต
ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครทราบว่านายกฯบกพร่องโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังคงสร้างความเคลือบแคลงใจแก่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจนถึงทุกวันนี้
ห้าปีต่อมา
ประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นของครอบครัวท่านนายกฯ กลับมาเป็นข่าวโด่งดังอีกครั้ง
นั่นคือการที่ ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ปทั้งหมดในมูลค่าถึงกว่า
7
หมื่นล้านบาท ให้กับกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์
การขายหุ้นครั้งมโหฬารครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะไม่อาจหาความผิดในเชิงกฎหมายที่อาจทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีเหมือนในอดีต
แต่ได้ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเจตนาอันไม่ชอบธรรม
ซึ่งผมขอเรียกภาวะเช่นนี้ว่า ความไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต
ซึ่งเราสามารถเห็นได้จาก
ความตั้งใจหลบเลี่ยงภาษี
การขายหุ้นชินคอร์ปครั้งนี้เป็นความจงใจหลบเลี่ยงภาษีอย่างชัดเจน
สังเกตได้จากความพยายามโอนหุ้นที่ถือโดยนิติบุคคลทั้งหมดกลับมาอยู่ในมือของบุคคลก่อนที่จะทำการซื้อขายหุ้น
โดยการโอนหุ้นจากกองทุนในต่างประเทศที่ไม่ระบุชื่อผู้ลงทุนมาเป็นหุ้นของบุตรของท่านนายกฯ
แล้วจึงทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
เพราะหากเป็นการขายหุ้นโดยนิติบุคคลจะต้องเสียภาษี แต่การขายหุ้นของบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีอันเกิดจากกำไรจากการขายหุ้น
ในความเป็นจริงหลักเกณฑ์นี้ทางตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งไว้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนทั่วไปเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น
แต่กลับถูกใช้เป็นช่องทางในการหลบเลี่ยงภาษี
ความตั้งใจเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย
เทมาเส็กในนามของบริษัทลูก 2
แห่ง
คือ
บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด
ร่วมกับนักลงทุนไทยเพื่อเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมซื้อหุ้นชินคอร์ปร้อยละ
49.595
ของทุนชำระแล้วของบริษัท
ซึ่งทำให้บริษัทลูกแต่ละแห่งถือหุ้นไม่เกินร้อยละ
25
ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์
(กลต.)
หากผู้ซื้อถือหุ้นไม่เกินร้อยละ
25
ไม่จำเป็นต้องทำต้องทำคำเสนอซื้อ
(tender offer)
แก่นักลงทุนรายย่อย
เราจะเห็นได้ว่าท่าทีของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ร่วมมือกับเทมาเส็กออกแบบข้อตกลงการซื้อขายเช่นนี้
น่าจะเป็นความพยายามปิดโอกาสไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอขายหุ้นกับเทมาเส็ก
เพราะเกรงว่าเทมาเส็กจะไม่ตกลงดีลซื้อขายครั้งนี้ เพราะหากต้องทำคำเสนอซื้อ
เทมาเส็กจะต้องใช้เงินเข้ามาซื้อมากกว่านี้หลายเท่า
จึงนับว่าเป็นความตั้งใจร่วมมือกับต่างชาติเพื่อเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยในประเทศไทย
ความตั้งใจแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
การซื้อขายหุ้นครั้งนี้มีการเตรียมการมาเป็นเวลานาน สังเกตได้จากการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ.
2544
โดยออก
พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
(ฉบับที่
2)
พ.ศ. 2549 ที่แก้ไขให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในกิจการโทรคมนาคมได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
25 เป็นร้อยละ 49
ประเด็นที่น่าสังเกตคือ
พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ในวันเสาร์ที่
21
ม.ค. 2549
และการขายหุ้นเกิดขึ้นทันทีในวันจันทร์ที่
23
ม.ค. 2549
ซึ่งเป็นวันแรกที่ตลาดหุ้นเปิดทำการซื้อขายหลังจากวันที่ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นเหตุบังเอิญ
แต่น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้ซื้อและขายหุ้นครั้งนี้
ด้วยเหตุนี้วัตถุประสงค์หลักที่รัฐบาลออก
พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงมิใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการได้รับบริการที่ดีขึ้นตามที่ระบุไว้ท้าย
พ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่เป็นความตั้งใจแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดทางให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของชินคอร์ปสามารถขายกิจการโทรคมนาคมให้ต่างชาติได้โดยสะดวก
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่านักลงทุนในประเทศไม่มีเงินเพียงพอจะซื้อหุ้นจำนวนมากเช่นนี้ได้
การแก้ไข
พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงทำให้ต่างชาติสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย
รวมทั้งได้รับประโยชน์จากสัมปทานและเงื่อนไขที่ทำให้เอไอเอสได้เปรียบผู้ให้บริการรายอื่นด้วย
ผมคิดว่า
ผู้ที่อยู่ในฐานะของผู้นำประเทศ ไม่ควรแม้แต่จะเกิดภาวะ
"ความบกพร่องโดยสุจริต
อย่างไรก็ตาม
หากเป็นความผิดพลาดโดยสุจริตจริง
อาจเป็นสิ่งที่ให้อภัยได้
แต่ในกรณีที่ผู้นำประเทศเกิดภาวะ ความไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต
เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้เลย