Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

 ขอเสนออย่างสร้างสรรค์


ศึกษารัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (4)
The study of section 170(4) of the Thai constitution

 

20 กุมภาพันธ์ 2549

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ได้เชิญอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมาพบปะพูดคุยร่วมกันศึกษาวิจัยแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ได้ขอให้อธิการบดีทุกคนกลับไปคิด วิจัย วิเคราะห์ โดยให้เห็นผลภายในสิ้นเดือนเมษายน ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ครั้งที่ 1/2549 มีมติว่าให้แต่ละมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมและสนใจรับเรื่องนี้ไปดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อให้เสร็จทันในระยะเวลาที่กำหนด

แม้ว่าวัตถุประสงค์ของการเชิญอธิการบดีมาประชุมนั้น จะเป็นการลดกระแสกดดันต่อนายกฯ มากกว่าจะมีความต้องการแก้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง แต่ทางมหาวิทยาลัยควรใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างดีที่สุด ซึ่งผมคิดว่าประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเด็นการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนวันรับสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากผมคิดว่ามีความขัดแย้งระหว่างจุดประสงค์ของรัฐธรรมนูญกับการนำไปใช้จริง รวมทั้งเป็นประเด็นที่สังคมต้องการความชัดเจน และหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้

เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 มาตรา 107 (4) ระบุว่า ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในมาตราดังกล่าวมีขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพให้กับรัฐบาล โดยป้องกันการที่ ส..ย้ายพรรคง่ายเกินไป 

แต่ผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดกติกาดังกล่าว คือ ผู้นำของพรรคการเมืองจะใช้เงื่อนไขนี้เป็นอำนาจต่อรองกับ ส..ภายในพรรคให้ทำตามมติและความเห็นของพรรคทุกอย่าง โดยไม่ให้ ส..คนใดออกนอกแถว แต่หาก ส..คนใดออกนอกแถว ไม่เชื่อฟังหรือทำตามมติของพรรค การเลือกตั้งครั้งต่อไปอาจไม่ได้รับการเสนอชื่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง อำนาจการต่อรองจึงอยู่กับผู้นำของพรรคการเมือง แต่หาก ส..จะย้ายพรรคก่อนมีการเลือกตั้ง ส..จะต้องรับความเสี่ยงจากการที่รัฐบาลอาจยุบสภา ทำให้ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้เช่นกัน เพราะไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองที่ย้ายไปถึง 90 วัน

แม้มาตราดังกล่าวเป็นเจตนารมณ์ที่ดีของรัฐธรรมนูญ แต่วิธีการกลับมีปัญหา หากผู้ใช้นำรัฐธรรมนูญไปใช้ไม่ตรงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ ไม่ต้องคอยกังวลถึงปัญหาการย้ายพรรคของ ส.. หรือต้องเสียเวลาแก้ปัญหาทางการเมือง แต่นำเวลามาแก้ปัญหาของประเทศได้เต็มที่ แต่ผู้ใช้รัฐธรรมนูญกลับนำไปใช้เพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้กับพรรคการเมือง ทำให้ ส.. ขาดเสรีภาพในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ต้องอยู่ภายใต้การนำของพรรค และรักษาผลประโยชน์ของพรรค เพราะผู้กำหนดอนาคตทางการเมืองของ ส..เปลี่ยนจากประชาชนเป็นพรรคการเมือง

นอกจากนี้ ผมเกิดคำถามว่าเสถียรภาพทางการเมืองปัจจุบันที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ ม.107 (4) จะเรียกว่ารัฐบาลมีเสถียรภาพได้หรือไม่ แม้ ส..จะไม่ลาออกหรือย้ายพรรค รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงกลุ่มหรือมุ้งต่าง ๆ ภายในพรรครัฐบาลต่างพยายามออกมาขย่มเสถียรภาพของรัฐบาลรายวัน และรอโอกาสที่จะล้มกระดาน เปรียบเหมือนมีศึกอยู่ในบ้านตลอดเวลา

ดังนั้น ประเด็นที่มหาวิทยาลัยน่าจะนำไปศึกษา คือ หากการกำหนดให้ผู้สมัครส..ต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน เพื่อทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพทางการเมือง และต้องแลกมาด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันของ ส.. ทำให้เกิดคำถามต่อว่ามีวิธีการอื่นหรือไม่ ที่จะสร้างเสถียรภาพทางการเมือง โดยไม่ต้องสูญเสียเสรีภาพของ ส.. และสามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองได้อย่างแท้จริง