Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

 ขอเสนออย่างสร้างสรรค์


 การเมืองไทยภายใต้ประชาธิปไตยแบบกดดัน
Politics under the pressure of Democracy

 

7 มีนาคม 2549

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันถือได้ว่าอยู่ในช่วงที่วิกฤตมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลทักษิณบริหารประเทศมา 5 ปีเศษ หลาย ๆ ท่านอาจจะรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่อาจจะทรุดตัวลง หรือกลัวว่าจะเกิดความรุนแรงจนทำให้เกิดเสียเลือดเนื้ออันเกิดจากการชุมนุมประท้วง และเกิดคำถามว่าเหตุใดภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่รัฐบาลมาจากการเลือกของคน 19 ล้านเสียง กำลังถูกประชาชนกลุ่มหนึ่งขับไล่และเรียกร้องให้ผู้นำประเทศลาออก แล้วอย่างนี้ เราจะปกครองภายใต้กติกาในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร

คำว่า “ประชาธิปไตย” เข้าใจในความหมายว่า เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยถือว่าเป็นการปกครองโดยประชาชนส่วนใหญ่ที่มอบความไว้วางใจให้กับกลุ่มบุคคลหนึ่งเข้าปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม ความหมายของประชาธิปไตยไม่ได้เคร่งครัดหรือตายตัวเช่นนั้น เพราะประชาธิปไตย อาจจะหมายถึง ประชาชน กลุ่มคนที่ชุมนุมกัน ม็อบที่ลุกขึ้นมากดดันต่อต้านผู้ปกครองประเทศ หรือไม่ไว้วางใจจะให้ผู้บริหารประเทศดำรงตำแหน่งอีกต่อไป

ด้วยเหตุดังนั้น การชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ พ...ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะนี้เรียกได้ว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบกดดัน” ที่พลเมืองกลุ่มหนึ่งของประเทศมีความไม่พอใจต่อการดำเนินงานบริหารหรือการปกครอง ไม่พอใจต่อจริยธรรมของผู้นำประเทศ ไม่พอใจต่อการใช้อำนาจที่เอื้อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง และไม่ไว้วางใจที่จะให้ผู้นำสูงสุดในฝ่ายบริหารอยู่บริหารประเทศต่อไป

โดยประชาธิปไตยแบบกดดันจะมีการวางยุทธศาสตร์ในการชุมนุม ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์การขับไล่นายกฯ ในปัจจุบัน ที่จะมีการวางแผนในนามของ “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” มีการรณรงค์ขับไล่อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่ 11 .. 49, 26 ..49 และ 5 มี..49 ตลอดจนการรวบรวมรายชื่อ 50,000 คน เพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี การทำเข็มกลัด “เหลี่ยมจัด” และ “ทักษิณออกไป”  และที่สำคัญจะมีการประท้วงขับไล่แบบไม่มีการกำหนดระยะเวลา ดังสโลแกน “ไม่ชนะ ไม่เลิก”

ประชาธิปไตยแบบกดดัน จะไม่มีการมีต่อรองในลักษณะการทูต ที่จะรอมชอมหรือไกล่เกลี่ย มีแต่เพียงข้อเรียกร้องเพียงอย่างเดียว ดังจะเห็นได้จากข้อเรียกร้องในครั้งนี้ที่กดดันให้นายกรัฐมนตรีต้องลาออกโดยไม่มีทางเลือกอื่นใดทางการเมืองอีกต่อไป และอาศัยเวทีสาธารณะในการพูดและกล่าวโจมตีอย่างรุนแรง เพื่อให้สาธารณะชนรับทราบ และเชิญชวนให้พลังประชาชนเข้ามาร่วมชุมนุมขับไล่

คำถามที่สำคัญ สังคมไทยจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไร ขณะที่คนในชาติเริ่มแตกเป็นสองฝักสองฝ่าย จนอาจกลายเป็นความเกลียดชังต่อฝ่ายตรงข้าม ซึ่งน่ากลัวว่าจะนำไปสู่ความรุนแรงและเกิดการเสียเลือดเนื้อและชีวิตอันจะนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงตามมา

ถึงตรงนี้แล้ว ทางออกของประเทศไทยอาจอยู่ที่ พ...ทักษิณ เพียงคนเดียว หากนายกฯ จะยอมตัดสินใจที่ดีสักครั้ง ยอมถอยสักก้าวโดยประกาศยกเลิกชีวิตทางการเมือง และพิสูจน์ตนเองให้พ้นจากข้อครหาของสังคมจากกลไกตรวจสอบให้ครบทุกข้อกล่าวหาแล้วหากทำได้ การกลับสู่เส้นทางการเมืองอีกครั้งย่อมมีความสง่าผ่าเผย มากกว่าที่จะอยู่ดำรงตำแหน่งบนท่ามกลางความขัดแย้งและความเสื่อมศรัทธาต่อผู้นำประเทศ