Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

 

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |

 
ความเหลื่อมล้ำในสังคม แก้ได้ด้วยการฟังเสียงประชาชน
27 ธันวาคม 2548
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ร่วมกับธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ จัดทำโครงการความร่วมมือพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ ความยากจนและติดตามประเมินผล เพื่อเป็นโครงการเสริมสร้างศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาลและความร่วมมือทางด้านวิชาการ ฯลฯ
 
รัฐถลุงเงินประกันสังคม สร้างผลงานฉาบฉวย
25 ธันวาคม 2548
จากกรณีที่รัฐมนตรีว่าการประทรวงแรงงานฯ มีนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทำโครงการเพิ่มมูลค่าเพิ่มบัตรประกันสังคม โดยให้ส่วนลดตั้งแต่ร้อยละ 10-50 กับผู้ประกันตน ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า และเข้าพักในโรงแรม รวมทั้งสิ้นกว่า 5,000 แห่ง ระหว่างวันที่ 31 .. 2548 – 3..2549
 
ข้อคิดในการผลักดันร่างกฎหมายของภาคประชาชน
24 ธันวาคม 2548
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่สนับสนุนด้านสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคแก่ประชาชนเป็นสำคัญ ดังปรากฏในหลายมาตรา โดยเฉพาะการขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครอง (มาตรา 170 และ 303-304) ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 50,000 คน สามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้
 
น้ำท่วม-ภัยแล้ง วิกฤตที่สะท้อนรัฐบาลเป็นเพียงนักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
23 ธันวาคม 2548
ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก รวมถึงดินถล่ม นับว่าเป็นปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นทุกปี โดยที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไข และทุ่มงบประมาณแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อแก้ปัญหา แต่อย่างไรก็ดียังคงพบว่า การแก้ปัญหานั้น รัฐบาลมักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปแต่ละปี โดยที่ไม่ได้มีแนวทางในเชิงป้องกัน หรือเตรียมความพร้อมในพื้นที่ที่ประสบปัญหาซ้ำซาก
 
ความไร้เสถียรภาพของนโยบาย สู่ความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
22 ธันวาคม 2548
ตลอดปี 2548 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญภาวะไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยประสบภาวะเงินเฟ้อที่สูงมาก โดยเฉพาะช่วงปลายปีที่อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นแตะระดับร้อยละ 6 ซึ่งเป็นครั้งแรกนับแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และสำหรับเสถียรภาพภายนอก สามไตรมาสแรกของปีนี้ มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึงร้อยละ 3.8 ของจีดีพี
 
รถไฟฟ้า 10 สาย : ข้อสงสัยในความโปร่งใสและความชอบธรรม
20 ธันวาคม 2548
จากการที่รัฐบาลจะดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ด้วยวงเงิน 5.5 แสนล้านบาท โดยใช้วิธีการประมูลแบบเปิดกว้างให้ผู้ลงทุนต่างประเทศนำเสนอรูปแบบการก่อสร้าง รูปแบบการเดินรถ และเลือกเส้นทางที่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชน โดยไม่มีการกำหนดทีโออาร์ที่ชัดเจน และคาดว่าจะเปิดประมูลและคัดเลือกผู้รับเหมาได้ในเดือนพฤษภาคม 2549
 
ความจริงอีกด้านของการใช้บาร์เทอร์เทรด
19 ธันวาคม 2548
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้เปิดทำเนียบรัฐบาลเพื่อประชุมการสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โดยมีเอกอัครราชทูตและตัวแทนกว่า 70 ประเทศเข้าร่วม
...
 
รัฐบาลถังแตกเพราะมือเติบ
18 ธันวาคม 2548
รายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.. 2547 เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า รัฐบาลถังแตกเพราะใช้จ่ายมือเติบ ใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงวินัยทางการคลัง โดยพฤติกรรมมือเติบของรัฐบาลปรากฏอาการต่อไปนี้...
 
คนไทยจะได้อะไรจากกระแส outsourcing
17 ธันวาคม 2548
หนังสือ “The World is Flat” ของ Thomas Friedman ได้จุดประกายความคิดนี้จากการเดินทางของผู้เขียนไปทำข่าวที่เมือง Bangalore ประเทศอินเดีย และได้พบกับความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และพบว่าประเทศของเขาคือสหรัฐอเมริกา และประเทศที่เคยถือว่าด้อยพัฒนากำลังจะก้าวขึ้นมาเทียบชั้นกัน ...
 
แก้ปัญหาภาคใต้แบบ ‘อำนาจนิยม’ เพื่อ ‘ภาพลักษณ์’
16 ธันวาคม 2548
กรณีที่นายมะซอบือสิ เจาะแย ได้ร้องเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถึงกรณีที่ตนถูกบีบบังคับจากอำเภอให้มาเข้าร่วมอบรมกล่อมเกลาจิตใจและร่วมสร้างสันติสุขในพื้นที่นั้น กรณีดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยพยายามดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างภาพให้ตนเองมีผลงานหรือไม่..
 
กฟผ.ไม่ได้เข้าตลาดหุ้น ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการคลังอย่างไร
15 ธันวาคม 2548
จากที่มีรายการภาคเช้า ณ สถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง ที่มีผู้ดำเนินรายการชายอาวุโส 2 ท่าน ได้กล่าวพาดพิงถึงผมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า การขายหุ้น กฟผ. นั้นรายได้มิได้เข้าเงินคงคลัง และบอกว่า การที่ผมกล่าวว่า การขายหุ้น กฟผ. เชื่อมโยงกับการออกตั๋วเงินคลัง 8 หมื่นล้านนั้น ไม่เป็นความจริง รวมทั้งใช้คำพูดที่ดูถูกผมและสถาบันที่ผมจบการศึกษา...
 
รถไฟฟ้า 10 สาย : นโยบายประชานิยมรอบใหม่คนกทม.
13 ธันวาคม 2548
นโยบายรถไฟฟ้า 10 สาย เปลี่ยนรถเมล์ร้อนเป็นรถแอร์ หวังปลุกผีประชานิยมกลบกระแสรัฐบาลถังแตก แต่ขาดการศึกษาผลกระทบ ระวังสร้างหนี้ ขูดภาษีประชาชน..
 
รีดภาษีบาปเพื่อเยียวยาใคร?
12
ธันวาคม 2548
รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีบุหรี่อีกร้อยละ 4 เกือบเต็มเพดาน เพื่อหวังลดจำนวนคนสูบบุหรี่ ส่งผลให้ราคาขายบุหรี่เพิ่มขึ้นอีกซองละ 7-8 บาท และคาดว่าจะทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคบุหรี่ร้อยละ 20 โดยราคาใหม่นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2548 และย้ำว่าไม่ต้องการเก็บรายได้เพิ่ม แต่ต้องการรักษาสุขภาพประชาชน และลดงบฯในการเยียวยาสุขภาพของประชาชน
 
กำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอย่างไร..จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ?
11 ธันวาคม 2548
จากที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางมีมติเป็นเอกฉันท์ในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกวันละ 1-5 บาทใน 36 จังหวัด ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 นั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้ใช้แรงงานทุกท่าน อย่างไรก็ตามยังคงมีกระแสเรียกร้องขอความเป็นธรรมอยู่บ้างในบางจังหวัดที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นค่าจ้าง
 
หนี้พุ่ง เงินคงคลังหด รายได้เพิ่ม หลักฐานชัด รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว
10 ธันวาคม 2548
เงินคงคลังวิกฤต เหตุรัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว เป็นหนี้ตั๋วเงินคลังคงค้างกว่า 9.8 หมื่นล้าน เงินคงคลังหายไป 1.1 แสนล้าน จี้รัฐบาลชี้แจงกับประชาชนเงิน 1.1 แสนล้าน หายไปไหน...
 
รถไฟฟ้า 10 สาย นโยบายที่ห่างไกลความจริง
8 ธันวาคม 2548
นายกรัฐมนตรีประกาศจะให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาร่วมประมูลประกวดราคาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า 10 สายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยกำหนดวงเงินก่อสร้างประมาณ 5.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้นายกฯ ได้กล่าวผ่านรายการ “นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน” ถึงแนวคิดที่จะเอายางพาราแลกรถไฟฟ้า..
 
ความฉาบฉวยของนโยบาย SME
6 ธันวาคม 2548
จากการพิจารณารายงานประจำปี 2547 ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank ซึ่งระบุว่าธนาคารได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ธนาคารดีเด่นแห่งปี 2547” จากนิตยสารดอกเบี้ย และมูดี้ส์ฯจัดอันดับธนาคารและตราสารหนี้ระยะยาวที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศและตราสารหนี้ระยะสั้น ว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ดี
 
รัฐบาลเกาะกระแสครูประท้วง เตะถ่วงกระจายอำนาจ
2 ธันวาคม 2548
ชี้พฤติกรรมรัฐบาลที่รับปากทุกฝ่ายอย่างขัดแย้งกันในแนวทาง เป็นการเตะถ่วงปัญหาและซื้อเวลาเพียงให้รอดตัวเฉพาะหน้า ชี้พฤติกรรมของรัฐบาลไม่ได้สะท้อนว่าไม่เห็นความสำคัญของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น...
 
กำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอย่างไร..จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ?
1 ธันวาคม 2548
จากที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางมีมติเป็นเอกฉันท์ในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกวันละ 1-5 บาทใน 36 จังหวัด ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 นั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้ใช้แรงงานทุกท่าน อย่างไรก็ตามยังคงมีกระแสเรียกร้องขอความเป็นธรรมอยู่บ้างในบางจังหวัดที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นค่าจ้าง
 
แก้ปัญหาความยากจนหรือ “กู้คะแนนเสียง”
30 พฤศจิกายน 2548
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 48 นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับรองนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าว ในที่ประชุมนายกฯมีแนวความคิดใหม่ที่จะให้กระทรวงมหาดไทยเลือกพื้นที่อำเภอใดอำเภอหนึ่ง...
 
ร่วมจับตา การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.
29 พฤศจิกายน 2548
จากการที่ตัวแทนพรรคไทยรักไทยได้ยื่นเสนอ ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. …. เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ผมอยากฝากข้อคำถามเพื่อให้เพื่อนได้ร่วมคิดพิจารณาการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ว่าเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด
 
ร่าง พ.ร.บ.การทางพิเศษฯ: ปลดล็อคชั้นสุดท้าย ก่อนขายสมบัติชาติ
28 พฤศจิกายน 2548
รัฐบาลให้เหตุผลของการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ว่ากฏหมายเดิมไม่เหมาะกับสภาพการณ์ปัจจุบันทำให้การปฏิบัติงานไม่คล่องตัว นอกจากนี้ควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของกทพ.ให้สามารถดำเนินกิจการเพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้ทางพิเศษ
 
ข้อสังเกตต่อการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเสรี
25 พฤศจิกายน 2548
เมื่อวันที่ 24 .. ที่ผ่านมา ผมได้อภิปรายในการพิจารณารับทราบ “รายงานสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ..2548 ของสภาผู้แทนราษฎร” ...
 
คุณลักษณะของนักการเมืองที่สร้างสรรค์
24 พฤศจิกายน 2548
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง ด้วยการแย่งชิงพื้นที่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งจากฝ่ายตรวจสอบรัฐบาลที่ต้องการนำข้อเท็จจริงมานำเสนอต่อประชาชน และฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการปกป้องภาพลักษณ์ของตนเอง
 
จัดเรทติ้งผู้สมัคร สว.
23 พฤศจิกายน 2548
เลือกตั้ง สว.ครั้งใหม่ ควรมีหน่วยงานเป็นกลางทางการเมืองจัดเรทติ้ง (rating) ผู้สมัคร สว.แต่ละคน เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำความรู้จักและเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่ละคนได้โดยง่าย