Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

 

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |

 

6 แนวทางลดความเสี่ยงโครงการเมกกะโปรเจกต์ภาครัฐ
20 กรกฎาคม 2548
มาตรการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลยังมีช่องว่าง จากกระบวนการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นค่าจ้างที่ยังไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าแรงไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และกระทบภาพรวมของเศรษฐกิจ

 

หากรัฐบาลยังลวง จะเรียกความมั่นใจประชาชนได้อย่ายไร
15 กรกฎาคม 2548
รัฐจะตรึงราคาสินค้าไม่อยู่ เพราะมาตรการรัฐกระทบต้นทุน เสนอให้แฉสินค้าที่ฉวยโอกาสขึ้นราคา สร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และลดภาษีผู้ผลิตสินค้าจำเป็น ผลกระทบจากมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้นของรัฐบาล จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลจึงควรจัดการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย...

 
สัมมนาเรื่อง “ความเสี่ยงโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ
14 กรกฎาคม 2548
เมื่อวันพุธที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้รับการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนเรื่องข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาลที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้มากนัก หากรัฐบาลชุดนี้ยังเป็น ‘รัฐบาลลวง’...
 
วินาศกรรมลอนดอนกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่รัฐบาลต้องเร่งทบทวน
8 กรกฎาคม 2548
นาศกรรมกลางกรุงลอนดอน ไม่น่าห่วงเรื่องความปลอดภัย แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจกลับน่าเป็นห่วงมากกว่า แม้เหตุการณ์วินาศกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ได้สร้างความตกตะลึงแก่โลกมิใช่น้อย แต่สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบในด้านความปลอดภัย เนื่องจากได้มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยที่เข้มงวด และมีการเฝ้าระวังอยู่เป็นระยะ...
 
คดีปิคนิค คำถามที่ต้องการคำตอบ
7 กรกฎาคม 2548
ในการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 6 ก.ค ที่ผ่านมา ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่ ก.ล.ต.ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่าผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นน้องของ รมช.พาณิชย์ ได้โยกย้ายบัญชีของบริษัทเข้าบัญชีส่วนตัว และข้อหาปรับแต่งตัวเลขทางบัญชี อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยได้เชิญเลขาธิการ ปปง. ผู้แทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ และผู้แทนจาก ก.ล.ต. มาชี้แจง...
 
FTA กับความมั่นคงทางอาหาร
6 กรกฎาคม 2548
ผมได้กล่าวไว้ในวันอภิปรายแล้วว่า โครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลซึ่งใช้งบประมาณสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาทนั้น มีโอกาสก่อปัญหาวิกฤตตามมา เช่น ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ปัญหาหนี้สาธารณะ และได้เสนอให้รัฐบาลเตรียมการล่วงหน้าให้พร้อม เช่น เตรียมการว่าจะหาเงินมาเพิ่มเพื่อทำให้โครงการสำเร็จได้อย่างไร ประเมินต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการ ตลอดจนทำเอกสารสัญญาต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการดำเนินโครงการอยู่ในกรอบที่ควบคุมได้...
 
ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีกหรือไม่ ?
3 กรกฎาคม 2548
จากการที่ผมได้เสนอความคิดเห็นของผมส่งไปทางอีเมล์ให้กับมิตรสหาย มีหลายท่านได้ให้ความสนใจ และแสดงความคิดเห็นและได้ถามคำถามกลับมา ผมจึงอยากถือโอกาสตอบคำถามที่มิตรสหายของผมท่านหนึ่งได้ถามมาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว?...
 
งบปี 49 งบจอมเสี่ยง ‘ฝัน-แอบ-ฮั้ว’ ระวัง ‘รีดภาษี-ซ่อนหนี้-โกงกิน’
2 กรกฎาคม 2548
การอภิปรายในวาระการพิจารณารับหลักการของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2549 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2548 ผมวิพากษ์การจัดงบฯว่า เป็น ‘งบจอมเสี่ยง’ เพราะนำพาความเสี่ยง 3 ด้าน ...
 
ข้อพึงระวังจากการทำ Barter trade
27 มิถุนายน 2548
barter trade เสี่ยงเปิดช่องคอร์รัปชันข้ามชาติ ไม่ช่วยแก้ขาดดุลฯ และทำให้การค้าระหว่างประเทศขาดประสิทธิภาพ ภายหลังการประชุม ครม. กลุ่มย่อยเพื่อวางยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2548 ที่ห้องประชุมกองทัพเรือ ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะให้มีการปรับโครงสร้างการผลิต การเพิ่มค่าการตลาด...
 
ธ.ก.ส. ไม่ควรให้รัฐมนตรีกำหนดปริมาณเงินสำรอง
26 มิถุนายน 2548

การแยกฝ่ายกำกับและดูแลระบบสถาบันการเงินออกจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาไว้ที่กระทรวงการคลังนั้น เป็นประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ และยังคงไม่ได้ข้อสรุป แต่อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านในเรื่องดังกล่าว ซึ่งผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว...
 
ระวังการระบาดไข้หวัดนกจากคนสู่คน
25 มิถุนายน 2548
รัฐบาลควรเตรียมพร้อมรับไข้หวัดนกจากคนสู่คน เพราะหากเกิดการระบาดจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่าการระบาดของโรคซาร์และไข้หวัดนกในอดีตจากรายงานขององค์กรอนามัยโลก (WHO Inter-country Consultation Influenza A/H5N1 in Humans in Asia Manila May 6th-7th 2005) เตือนประเทศที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดต่อไข้หวัดนก (รวมถึงเวียดนาม ไทย และกัมพูชา) ให้มีการเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนก
...
 
สร้างจุดแกร่งให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
23 มิถุนายน 2548
ผมได้มีโอกาสร่วมเสนอความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2 แห่ง ประเด็นหนึ่งที่ผมให้ความสนใจและได้เสนอในที่ประชุมคือ การให้มหาวิทยาลัย พัฒนาตามความรอบรู้ และความชำนาญของมหาวิทยาลัย...
 
ข้อคิดจากหนังสือ “ตีแผ่โครงการเมกะโปรเจคท์”
22
มิถุนายน 2548
มีเพื่อนสมาชิกส่ง Email มาถามกันเป็นจำนวนมากว่าหนังสือ “ตีแผ่โครงการเมกะโปรเจคท์” ที่ผมใช้ประกอบการอภิปรายในสภาเมื่อหลายเดือนก่อนนั้น มีชื่อเต็มว่าอะไร ใครเป็นผู้เขียน และจะหาซื้อได้จากไหนนั้น เพื่อคลายข้อข้องใจ ผมจึงขออนุญาติตอบคำถามดังกล่าวใน Email ฉบับนี้ในคราวเดียวเลยนะครับ...
 
แน่ใจหรือว่าจะแก้ปัญหาการโกงได้
21
มิถุนายน 2548
“ระบบ E-auction เปิดช่องการโกงเหมือนเดิม บริษัทกลางที่เข้ามาทำระบบ E-auction ไม่น่าเชื่อถือ และการทุจริตตรวจสอบได้ยากขึ้นจากความซับซ้อนของระบบ”
...
 
โครงการยาง 1 ล้านไร่ โครงการเจ้าปัญหาอีกโครงการ
20
มิถุนายน 2548
“ห่วงเกษตรกรรับการโฆษณานโยบายยาง 1 ล้านไร่ ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า สูญเสียพื้นที่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ปัญหาราคายางตกต่ำ การกระจายของพันธุ์ยางที่ไร้คุณภาพ เกษตรกรไม่หายจน ขอรัฐกำหนดพื้นที่ปลูก ให้ความรู้เกษตรกร แก้ปัญหาผู้ลักลอบปลูกยางไร้คุณภาพ”
...
 
ข้อสังเกตต่อแผนการลงทุนเมกะโปรเจกต์
18
มิถุนายน 2548
แผนลงทุนเมกะโปรเจกต์ มีความน่าสงสัยว่า รัฐบาลให้ข้อมูลขาดดุลฯไม่ครบถ้วน เร่งลงทุนปีสุดท้ายหวังคะแนนเสียง และมาตรการลดขาดดุลฯเป็นไปไม่ได้จริง จากมติ ครม. วันที่ 14 มิ.ย. 2548 ที่ได้รับทราบแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega-project) ของกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการต่อเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งผมมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับแผนดังกล่าว
...
 
ว่าด้วยช่องว่างของร่างแก้ไข ม.297
17
มิถุนายน 2548
การแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 297 ในประเด็นคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญทั่วไปครั้งที่ 17 เมื่อวันพุธที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่ายังมีช่องว่างทางกฎหมายในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในมาตรา 3 วรรค 2 ของร่างฉบับแก้ไขโดยคณะรัฐมนตรีได้เพิ่มเติมข้อความ วรรค 2 (หรือรัฐธรรมนูญมาตรา 297 วรรค 4)
...
 
777 ส่วนผสมที่ลงตัวของคณะกรรมการสรรหา ปปช.
16
มิถุนายน 2548
ผมได้มีโอกาสได้ชี้แจงในสภา เรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญทั่วไปครั้งที่ 17 เมื่อวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2548 โดยได้เสนอส่วนผสมองค์ประกอบของคณะกรรมการที่จะสร้างความสมดุลให้กับองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาชุดใหม่ นั้นคือ สูตร 7 7 7...
 
CTX ภูเขาน้ำแข็ง
14
มิถุนายน 2548
ชี้จุดอ่อนสำคัญประการหนึ่งของการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 เกิดจากการใช้สัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ซึ่งไม่ได้กำหนดรายละเอียดการก่อสร้าง สร้างไปกำหนดรายละเอียดไป จึงเสี่ยงต่อการใช้งบบานปลาย และทุจริต ที่สำคัญ...
 
ดับฝันรัฐบาล หมดหวังเศรษฐกิจโตถึงเป้า
12 มิถุนายน 2548
จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมีทิศทางชะลอตัวลงอย่างชัดเจน แต่รัฐบาลยังไม่ยอมรับความจริงว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย สังเกตได้จากภายหลังจากการแถลงข่าวของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รัฐบาลกลับแสดงท่าทียืนยันเป้าหมายเดิมออกมา...
 
ว่าด้วยช่องว่างของร่างแก้ไข ม.297
11 มิถุนายน 2548
การแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 297 ในประเด็นคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญทั่วไปครั้งที่ 17 เมื่อวันพุธที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่ายังมีช่องว่างทางกฎหมายในหลายเรื่อง...
 
เศรษฐกิจชะลอตัว
9 มิถุนายน 2548
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ทราบข่าวที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แถลงว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 1 ในปี 2548 มีอัตราขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปี ดังนั้น สคช. จึงได้ปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2548 เหลือร้อยละ 4.5-5.5 จากเดิมร้อยละ 5.5-6.5...
 
รัฐบาลไม่มีแผนแก้หนี้กองทุนน้ำมัน
8 มิถุนายน 2548
ผมผิดหวังจากคำตอบที่ได้รับในสภาฯ จากการที่ผมได้ตั้งกระทู้ถามไปหลายเรื่องเกี่ยวกับมาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. และในวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมก็ต้องผิดหวังอีก เพราะ นายกฯ ยังคงไม่ได้ตอบคำถามของผมที่ได้ถามไป ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้มีแผนการลอยตัวราคาน้ำมันอย่างจริงจัง
...
 
ปรับโครงสร้างกระทรวง…ยังไม่พอ
7 มิถุนายน 2548
จากการที่รัฐบาลเตรียมปรับโครงสร้างกระทรวงครั้งใหญ่ ในการปฏิรูประบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบรวมกระทรวงด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน อาทิ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและอาหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งควบรวมหน่วยงานบางส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมด้วย เช่น ทรัพยากรน้ำ ดิน ฯลฯ รวมทั้งมีการตั้งศูนย์ย่อย เพื่อดูแลสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายกลุ่มต่าง ๆ...
 
ขอนายกฯ ตอบคำถามมาตรการลอยตัวน้ำมันดีเซล
6 มิถุนายน 2548
จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 มิ.ย. ที่ผมได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี เรื่อง 'มาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและผลกระทบต่อประชาชน' ซึ่งนายกฯได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาตอบกระทู้แทน อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า รมว.พลังงานยังตอบไม่ตรงคำถาม
...
 
ขอนายกฯ ตอบคำถามมาตรการลอยตัวน้ำมันดีเซล
5 มิถุนายน 2548
จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 มิ.ย. ที่ผมได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี เรื่อง 'มาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและผลกระทบต่อประชาชน' ซึ่งนายกฯได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาตอบกระทู้แทน อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า รมว.พลังงานยังตอบไม่ตรงคำถาม ผมจึงได้ตั้งกระทู้ถามนอกสภาต่อนายกรัฐมนตรีผ่านไปทางสื่อ เกี่ยวกับมาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และได้ขอให้นายกฯตอบในรายการ ‘นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน’
...