Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

 

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |

 
10 ประเด็นข้อเท็จจริงเครื่องบินซี-130
21 พฤศจิกายน 2548
กรณีที่ผมโดนกล่าวหาว่าเป็นคนทำเรื่องขอใช้เครื่องบินซี-130 จากนั้นได้นำหนังสือตอบรับไปให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อดิสเครดิตรัฐบาล เรื่องดังกล่าวเป็นการกล่าวหาแบบโคมลอย ผมจึงตัดสินใจแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2548 ยืนยันว่าไม่ได้ทำเรื่องนี้ โดยมีข้อเท็จจริง 10 ข้อ
 
กฟผ.ไม่เข้าตลาดหุ้น แล้วค่าไฟจะขึ้นจริงหรือ ?
19 พฤศจิกายน 2548
การสั่งระงับการกระจายหุ้นของ กฟผ.ไว้ชั่วคราวโดยศาลปกครอง กระทรวงพลังงานอ้างว่า “หากระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ ก็ต้องหาแหล่งเงินจากที่อื่นซึ่งมีต้นทุนสูง เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าชะลอไม่ได้เนื่องจากจะส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับ และอาจต้องปรับค่าไฟเพิ่มขึ้นด้วย” (มติชนรายวัน 17 พ.ย. 2548)
 
รัฐบาลเตรียมออกกฎหมายรวมศูนย์อำนาจและแทรกแซงและปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการ
18 พฤศจิกายน 2548
ผมได้อภิปรายในวาระที่ 1 การรับหลักการของ ร่าง พ...สถิติ พ.. …. เมื่อวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา  จากการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐบาลหลาย ๆ ฉบับที่ผ่านมา ผมได้พบว่า ภายใต้หลักการและเหตุผลอันสวยหรูของร่างกฎหมายแต่ละฉบับ รัฐบาลมีวาระแอบแฝงมาโดยตลอด จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า รัฐบาลมีแรงจูงใจอย่างไร ในการเสนอกฎหมายฉบับนี้  
 
คำตอบสุดท้ายไม่ใช่ตลาดหลักทรัพย์
18 พฤศจิกายน 2548
หลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับการกระจายหุ้น บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ไว้ชั่วคราว เจ.พี.มอร์แกน ประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาการเงินกฟผ.เนื่องจากมีการสั่งจองซื้อหุ้นจากนักลงทุนต่างประเทศแล้ว 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ กฟผ.เสียหาย และกฟผ.อ้างว่าอาจส่งผลให้ต้องมีการปรับค่าไฟขึ้น เนื่องจาก กฟผ.ต้องระดมทุนจากแหล่งอื่น ที่มีต้นทุนสูงกว่าการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
 
International bidding ข้ออ้างเพื่อชะลอ Megaprojects
17 พฤศจิกายน 2548
รัฐบาลปรับแนวทางให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาประมูล (International bidding) ในโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยไม่มีทีโออาร์ (TOR) แม้เป็นไปเพื่อนำองค์ความรู้ต่างประเทศมาใช้ในไทยเต็มที่ แต่สุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน และเป็นเพียงข้ออ้างชะลอการลงทุนในโครงการอภิมหาช้าง
 
เรียนรู้ประสบการณ์ “การกระจายอำนาจการศึกษาของต่างประเทศ”
16 พฤศจิกายน 2548
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นหลักการส่วนหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แต่ถึงกระนั้นที่ผ่านมา การดำเนินการของรัฐในการกระจายอำนาจทางการศึกษาสู่ท้องถิ่น อยู่ภายใต้ความเห็นที่ขัดแย้งหลายด้าน ทั้งความเห็นจากผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ผู้รับมอบอำนาจในท้องถิ่น ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ที่มีสิทธิจัดการศึกษา
 
อะไร คือ เหตุผลเบื้องหลังสร้างนครสุวรรณภูมิ
14 พฤศจิกายน 2548
การที่รัฐบาลประกาศนโยบายพัฒนาพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเตรียมทุ่มงบฯ กว่า 5 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นเมืองทันสมัย และยกระดับเป็น “นครสุวรรณภูมิ” หรือ ”กรุงเทพแห่งที่ 2” โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในอนาคต และคาดหวังว่านครสุวรรณภูมิจะเป็นศูนย์กลางระบบขนส่งและคลังสินค้า และแบ่งเบาความหนาแน่นในเมืองหลวง เมื่อพิจารณาเป้าหมายในการเนรมิตนครสุวรรณภูมินั้นน่าตื่นเต้น แต่เกิดคำถามตามมาอีกมากกับเป้าหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น
 
ยุทธการณ์ดับไฟใต้ อย่าให้เป็นนโยบายออกอากาศ
 11 พฤศจิกายน 2548
ผู้ช่วยรมต.กระทรวงมหาดไทยเสนอต่อที่ประชุมกระทรวงขณะนี้พื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาคนอพยพออกจากพื้นที่ไปมาก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวควรนำวิธีการสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกมาใช้ คืออพยพคนจากภาคอื่นๆ เช่น คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ต้องการเดินทางลงไปทำกินในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ และแบ่งสรรพื้นที่ทำกินที่มีอยู่จำนวนมากให้กับคนที่อพยพเข้าไปอยู่
 
บัญญัติ 10 ประการ ก่อนแม้แต่จะคิดขายหุ้น กฟผ.
7
พฤศจิกายน 2548
แผนการของรัฐบาลในการแปรรูป กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์ กำลังเดินหน้าไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ แม้ว่ายังขาดการเตรียมพร้อมในด้านกฎกติกาและกลไกต่าง ๆ ในกิจการไฟฟ้าของประเทศก็ตาม
...
 
“เท่าเทียมกัน” ไม่ได้หมายความว่า “เท่ากัน”
6 พฤศจิกายน 2548
จากคำพูดที่ตรงไปตรงมาของนายกฯ ที่ว่า “ผมตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ แต่เราต้องดูแลคนทั้งประเทศด้วย แต่เวลาจำกัด ต้องเอาเวลาไปจังหวัดที่เราได้รับความไว้วางใจมากเป็นพิเศษ จังหวัดที่ไว้วางใจเราน้อยต้องเอาไว้ทีหลัง ไม่ใช่ไม่ไป คิวต้องเรียงอย่างนี้ … ก็อยากเห็นคนทั้งประเทศไม่ว่าอยู่ที่ไหน เลือกหรือไม่เลือกผม ก็อยากให้ทุกคนหายจน แต่เนื่องจากเวลาจำกัดก็ต้องไล่ลำดับกันไป แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำเหมือนกันหมดทั่วประเทศ”
..
 
ข้อสังเกตต่อนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2548-2553)
5 พฤศจิกายน 2548
เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ผมได้อภิปรายในการพิจารณา นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2548–2553) ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) โดยผมขอข้อสังเกตบางส่วน ดังต่อไปนี้...
 

วังวนหนี้ : ยุทธศาสตร์การรักษาอำนาจทางการเมือง (Vicious debt cycle : Strategy to sustain political power)
4 พฤศจิกายน 2548
จากการประกาศนโยบายการปลดหนี้ภาคประชาชน ซึ่งได้ประกาศมาตรการแก้หนี้ไป เมื่อ 18 ตุลาคม 2548 และหนี้สินภาคเกษตรกรที่กำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้ และหนี้สินอื่น ๆ ที่ยังรอดำเนินการ เช่น หนี้กองทุนหมู่บ้าน  หนี้สหกรณ์ หนี้กลุ่มออมทรัพย์ หนี้บัตรเครดิต ฯลฯ...

 

ความคลุมเครือของมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน (Refinancing individual debts : Clarity still needed for restructuring)
3 พฤศจิกายน 2548
จากมติ ครม.ที่รับทราบมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2548 เพื่อช่วยลูกหนี้รายย่อยในสถาบันการเงิน ประมาณ 1 แสนราย เงินต้นรวมกันประมาณ 7 พันล้านบาท...

 
ความเข้าใจผิดเรื่องรถไฟฟ้า (Misunderstanding about the BTS)
2 พฤศจิกายน 2548
ความเข้าใจผิด 3 ประการเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า ความคุ้มค่าของโครงการ รัฐเป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด และการกำหนดค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย อาจทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการได้รับประโยชน์จากโครงการ หรือทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว...
 
วิสัยทัศน์การอาชีวศึกษา (Vocational education vision)
1 พฤศจิกายน 2548
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดงาน “ผู้ประกอบการประสานอาชีวะ : พลังขับเคลื่อนกำลังคนของประเทศ” ณ อิมแพคเมืองทองธานี โดยมีวัตถุประสงค์ในการปฏิรูปการเรียนการสอนอาชีวศึกษา โดยเน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริงมากกว่าเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ...
 
รัฐบาลเตะถ่วงความเจริญ…ส่วนต่อขยาย BTS (“The BTS”)
31 ตุลาคม 2548
การที่รัฐบาลอ้างการใช้นโยบายเก็บ 15 บาทตลอดสาย เป็นเหตุผลชะลอส่วนต่อขยายบีทีเอส เป็นการเน้นผิดประเด็น เพราะหากซื้อคืนบีทีเอสไม่ได้ เก็บ 15 บาทไม่ได้ ควรสร้างไปก่อนดีกว่ารออย่างไร้ความหวัง และเสนอเก็บค่าโดยสารแยกตามกลุ่มคน...
 
วิเคราะห์มาตรการแก้ไขหนี้ภาคประชาชน (Refinancing individual debts)
29 ตุลาคม 2548
มาตรการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนของรัฐบาลอาจสร้างความเสี่ยงในเรื่องศีลธรรม สถาบันการเงินของรัฐรับภาระหนี้เสีย เสนอ 3 มาตราการอุดรอยรั่วคือ มาตรการคัดกรองลูกหนี้ มาตรการสร้างค่านิยม และมาตรการเสริมสร้างศักยภาพ...
 
ผลประโยชน์ขั้นแรกในนครสุวรรณภูมิ
28 ตุลาคม 2548
นายกรัฐมนตรีตอบข้อซักถามของสื่อต่อกรณีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่านักธุรกิจในพรรคไทยรักไทยเข้าไปเก็งกำไรที่ดินบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิว่า “…ชื่อบริษัทที่ต่างหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์นั้นเขามีมาตั้งแต่ก่อนสร้างสนามบินสุวรรณภูมิด้วยซ้ำไป แล้วอย่างนี้จะเรียกเก็งกำไรหรือไม่…เขาตั้งกันมา 10 กว่าปี บางคนซื้อจนเป็นหนี้ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ อย่างนี้เก็งกำไรหรือ..”
 
ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. การยางฯ  
27 ตุลาคม 2548
ร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....เป็นแนวคิดที่ดี แต่การทำธุรกิจไม่ควรเป็นหน้าที่ของ กยท. เพราะไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้ ไม่ใช่ธุรกิจที่ภาครัฐทำได้ดี ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม...
 
การสร้างจุดเด่นให้มหาวิทยาลัยในยุคของการแข่งขัน  
25 ตุลาคม 2548
ในวันพรุ่งนี้ อังคาร 26 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 22 ปีที่ 1 ครั้งที่ 20 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) มีเรื่องที่น่าสนใจที่ผมอยากสื่อสารให้มิตรสหายทราบเรื่องหนึ่งคือ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยที่ผมได้สงวนความคิดเห็นในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย
 
ระวังการระบาดไข้หวัดนกจากคนสู่คน
24 ตุลาคม 2548
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา มีข่าวว่าองค์การอนามัยโลกระบุ เชื้อไข้หวัดนก H5N1 แพร่ถึงชายขอบทวีปยุโรป ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสกลายพันธุ์เป็นโรคติดต่อร้ายแรงระหว่างคนสู่คนมากขึ้น เนื่องจากเป็นการที่เชื้อไวรัส H5N1 ที่เกิดการติดต่อขึ้นในพื้นที่ใหม่ๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วง แต่ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวเป็นโอกาสให้มีการเร่งรัดงานในหลายๆ ประเทศ ในเรื่องการเตรียมพร้อมทางด้านการป้องกันสุขภาพของมนุษย์
 
วอนรัฐอย่ามองสถิติและงานวิจัยอย่างแยกส่วน
23 ตุลาคม 2548
การที่ทางฝ่ายรัฐบาลระบุว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ได้เป็นการควบคุมการวิจัย เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้นำงานวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีชื่อชัดเจนว่า พ.ร.บ.สถิติ หมายถึงจะดูแลเพียงสถิตินั้น ผมมองว่า เป็นการตีความตามตัวอักษร ซึ่งจริงเพียงครึ่งเดียว แต่ยังขาดการพิจารณาหลักความเป็นจริงเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของสถิติและการวิจัย
 
เมืองใหม่สุวรรณภูมิ
22 ตุลาคม 2548
ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2548 มีการประชุมเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (นครสุวรรณภูมิ) พ.ศ. …. โดยกำหนดพื้นให้ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ อ.บางพลี อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ และเขตประเวศ และเขตลาดกระบัง กทม.โดยจะทำให้เป็นเขตปกครองพิเศษ และเป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศ คาดว่าจะเสร็จในอีก 10 ปีข้างหน้า ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 4-5 แสนล้านบาท...
 
พ.ร.บ. ขายสมบัติชาติ
21 ตุลาคม 2548
จากการที่รัฐบาลมีมติรับหลักการของร่าง พ.ร.บ.โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและยกระดับอุตราภิมุขบางช่วงเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. เมื่อวันพุธที่ 12 ต.ค. 2548 ที่ผ่านมา โดยได้เหตุผลการร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในบทบาทของกรมทางหลวง กับการทางพิเศษฯ (กทพ.)
 
เพิ่มค่าทำคลอด-ทำฟัน เบี่ยงประเด็นหมกเม็ดใน สปส.
20
ตุลาคม 2548
ข่าวน่ายินดีสำหรับผู้ประกันตน คือสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ขยายสิทธิประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ประกันตนมากกว่าเดิม โดยเฉพาะการไม่จำกัดวงเงินค่าคลอดบุตรและค่าทันตกรรม