Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

ข้อสังเกตต่อการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเสรี
Observations about FTA Performance

 

25 พฤศจิกายน 2548

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

เมื่อวันที่ 24 .. ที่ผ่านมา ผมได้อภิปรายในการพิจารณารับทราบ “รายงานสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ..2548 ของสภาผู้แทนราษฎร” โดยข้อสังเกตของ คระกรรมาธิการฯมีความน่าสนใจอย่างมาก หากสำนักงบฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อสังเกตต่าง ๆ ไปดำเนินการอย่างจริงจัง จะทำให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

แต่เมื่อพิจารณารายงานดังกล่าว ผมพบว่ามีข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯหลายประการที่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจรจาการค้าเสรี
(FTA) ซึ่งกรรมาธิการฯให้ข้อสังเกตว่า ควรศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงลึกระหว่างกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์กับผู้เสียประโยชน์ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชนทุกระดับ กำหนดแนวทางเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ และมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น


ผมเห็นว่าหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้
               

หนึ่ง…ขาดยุทธศาสตร์ภาพรวมของการเปิดเสรี
               
การที่ สศช.จ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ทำโครงการวิจัยผลกระทบของกระแสการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทวิภาคีและประเด็นอื่น ๆ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ภาพรวมของการเปิดเสรี ระหว่าง ก.ค. 2547 ถึง เม.ย. 2548 ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ เพราะการเจรจาบนพื้นฐานข้อมูลทางวิชาการ จะทำให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดและมีผลกระทบน้อยที่สุด เพียงแต่ผมสงสัยว่าเหตุใดเพิ่งทำการศึกษา                

หากพิจารณาช่วงเวลาที่ไทยเจรจาและเปิด FTA กับประเทศต่างๆ เช่น FTA กับจีนที่เริ่มลดภาษีสินค้าพวกผัก ผลไม้ตั้งแต่ ต.ค.46 หรือ FTA กับอินเดียที่ลงนามร่วมกันตั้งแต่ ต.ค.46 FTA กับออสเตรเลียเริ่มเจรจาตั้งแต่ ส.ค.45 เสร็จสิ้น มี.ค.47 ขณะที่ FTA กับสหรัฐเจรจาครั้งแรกกลางปี 47 และปัจจุบันเจรจารอบที่ 5 แล้ว                

จะเห็นได้ว่า การเจรจา FTA โดยส่วนใหญ่ เกิดก่อนโครงการศึกษาของ NIDA บางประเทศเริ่มเจรจาไปก่อนทำการศึกษาในโครงการนี้ บางประเทศได้เปิดเสรีไปแล้ว ด้วยเหตุนี้
จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การเปิด FTA ที่ผ่านมา ส่งผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะไม่ได้มีการศึกษายุทธศาสตร์ภาพรวมของการเปิดเสรีทั้งหมดก่อน แต่ลงนามไปโดยไม่ได้ประเมินภาพรวมและจัดลำดับความสำคัญ

สอง…ขาดการศึกษาเกี่ยวกับการปรับโครงสร้าง และการรองรับผลกระทบ
           
รัฐบาลกล่าวเสมอว่า ผลประโยชน์ของการเจรจาอยู่บนเงื่อนไขสำคัญ คือ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของรัฐบาล ผู้ประกอบการ
และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ แต่ผลการดำเนินงานไม่ได้กล่าวถึงว่า มีมาตรการปรับโครงสร้าง หรือเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการอย่างไร ส่วนการตั้งกองทุนปรับโครงสร้างภาคเกษตร 10,000 ล้านบาท โดยปี 2547 ได้รับเงิน 100 ล้านบาทนั้น คำนวณจากอะไร และเพียงพอหรือไม่ เพราะไม่พบว่ามีการศึกษาต้นทุนการปรับตัว (adjustment cost) ของการเปิดเสรี

สาม…ขาดการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลอย่างเพียงพอ                
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้เผยแพร่ข้อมูลการเจรจา FTA ผ่านเว็บไซต์ www.oae.go.th ซึ่งเป็นช่องทางที่เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และจากการที่ผมได้รับฟังคำชี้แจงของคณะเจรจาต่าง ๆ พบว่า คณะเจรจาทั้งหมดยังไม่มีกลไกรับฟังความเห็นของคนบางกลุ่ม เช่น ผู้บริโภค ผู้ประกอบการรายย่อย และเกษตรกร ซึ่งเป็นรายย่อยและไม่มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มที่ชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำการประชาสัมพันธ์และรับฟังความเห็น ไม่ได้มีการประสานงานกันหรือแบ่งความรับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดความซ้ำซ้อนในกิจกรรมและกลุ่มคน
               

ผมเห็นว่า หากฝ่ายบริหารมีความเอาใจใส่ และนำความเห็นและข้อเสนอของฝ่ายนิติบัญญัติไปดำเนินการ หรือกำกับดูแลให้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง การใช้งบประมาณและการบริหารราชการแผ่นดินคงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่