ขอคิดอย่างสร้างสรรค์
หน้า
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
11
|
12
|
13
|
14
|
เกมเศรษฐีภาคขยาย II: ปลาใหญ่กินปลาเล็ก (Extended monopoly game II: Big fish eat little fish)
2
กุมภาพันธ์ 2549
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึง เกมเศรษฐีภาคขยาย ที่นวัตกรชาวไทยพัฒนาจากเกมเศรษฐีภาคเดิม โดยผู้เล่นสามารถบรรลุเป้าหมายของเกมคือเป็นผู้เล่นที่เหลือเพียงผู้เดียวได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยสามารถกุมตำแหน่ง นายธนาคาร ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกติกา และเปลี่ยนกติกาให้เอื้อต่อผลประโยชน์ของตนเองได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มเงินทุนโดยการให้ผู้เล่นต่างชาติสามารถเข้ามาซื้อหุ้นได้อีกด้วย
>>
4 ก.พ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประชาธิปไตยไทย (The Democratic Social Movement of 4 February)
30
มกราคม 2549
เป็นที่ทราบกันดีว่าวันที่
4
ก
.
พ
. 49
จะมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แสดงพลังประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ที่หน้าลานพระบรมรูปทรงม้า นำโดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ
เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
จะนำประชาชนเรือนหมื่นเรือนแสน เพื่อถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านพล
.
อ
.
เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
>>
ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 49 (RISK FACTOKS FOR THAILAND S ECONOMIC IN 2006)
29
มกราคม 2549
แม้ว่าหลายฝ่ายจะคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจปี 2549 จะสามารถขยายตัวได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ในปี 2549 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ อาทิ
>>
ตั้งเพดานกำไรหุ้น หากเกินต้องจ่ายภาษี (The need for stock profit ceilings: Tax must be paid on excess profit)
28
มกราคม 2549
จากกรณีการขายหุ้นของกลุ่มชินคอร์ปมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านที่ผู้ขายหุ้นไม่ต้องจ่ายภาษีแก่เลยแม้แต่บาทเดียวนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงสร้างภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรมและมีการเปิดช่องให้หลบเลี่ยงภาษีได้โดยง่าย นับเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทบทวนแก้ไขอย่างเร่งด่วน
>>
เกมเศรษฐีภาคขยาย
(
Extended Monopoly Game
)
27
มกราคม 2549
ปี ค
.
ศ
.1934
เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดของอเมริกา ในปีนั้น นาย
Charles B. Darrow
ซึ่งกำลังตกงานอยู่นั้นได้ให้กำเนิดเกมกระดาน
(Board game)
ซึ่งเป็นที่แพร่หลายที่สุดเกมหนึ่งของโลก ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า
Monopoly game
หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม
เกมเศรษฐี
ซึ่งได้แนวคิดบางส่วนมาจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มทุนในอเมริกาในสมัยนั้น
>>
ขายหุ้นชินคอร์ป : ความไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต (Shin Corporation Share Selling: Corruption by Default)
26
มกราคม 2549
เมื่อ
ห้าปีที่แล้ว
เราคงจำได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับ
คดีซุกหุ้น
อันโด่งดังของท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร แม้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาให้ท่านนายกฯพ้นความผิดจากกรณีดังกล่าว จนกลายเป็นที่มาของวลีที่ว่า
"
ความบกพร่องโดยสุจริต
ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครทราบว่านายกฯบกพร่องโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังคงสร้างความเคลือบแคลงใจแก่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจนถึงทุกวันนี้
>>
ความขัดแย้งของ โคล้านครอบครัว กับ FTA
(
TRT Million Cow Policy Conflicts With FTA Today
)
2
5
มกราคม 2549
นโยบายหาเสียง โคล้านครอบครัว ของพรรคไทยรักไทยในช่วงการเลือกตั้งปี 2548 สามารถเรียกคะแนนเสียงจากเกษตรกรทั่วประเทศ หลังจากนั้นรัฐบาลได้ตั้งบริษัทส่งเสริมธุรกิจการเกษตรไทย (สธท.) หรือที่เรียกกันว่า SPV (Special Purpose Vehicle) ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ทำหน้าที่เป็นผู้จัดซื้อและแจกโคให้กับเกษตรกรเพื่อเลี้ยง โดย SPV จะรับซื้อในราคาที่กำหนดตามอายุและน้ำหนักของโคตามสายพันธุ์
>>
กระบวนการเจรจา FTA บกพร่อง : สาเหตุหลักทูตนิตย์ลาออก
(
Did faulty FTA negotiations lead to Ambassador Nids resignation?
)
24
มกราคม 2549
กรณี
ท่านทูตนิตย์ พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ ลาออกจากการเป็นหัวหน้าคณะเจรจา โดยมีการวิเคราะห์กันว่าสาเหตุหลักเป็นเรื่องของแรงกดดันจากหลายด้าน เช่น แรงกดดันจากฝ่ายการเมือง แรงกดดัน
ภายในทีมเจรจา หรือ
แรงกดดันจากภาคประชาชน
>>
รัฐบาลจัดงบประมาณแบบสมดุลจริงหรือ?
(
Is the government budget a balanced budget?
)
23
มกราคม 2549
รัฐบาลมักอ้างว่าได้จัดทำงบประมาณแบบสมดุลตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 เป็นต้นมา แต่หากวิเคราะห์กรณีที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะกำลังศึกษาการแปลงตั๋วเงินคลังที่เกิดจากการชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีก่อน ๆ วงเงิน 1.7 แสนล้านบาทเป็นพันธบัตร และการกำหนดกรอบการจัดงบประมาณประมาณปี 2550 ซึ่งมีการจัดงบ 1.8 หมื่นล้านบาทเพื่อใส่คืนในเงินคงคลัง ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้วการจัดงบประมาณในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาจไม่ได้เป็นงบประมาณแบบสมดุล แต่เป็นงบประมาณแบบขาดดุล โดยหลักฐานที่ชัดเจนคือ เงินคงคลังที่ลดลงในปีที่จัดงบประมาณสมดุล
>>
เรียลลิตี้โชว์แก้จน สอนคนให้เห็นเงินเป็นพระเจ้า
(
Reality Show
)
22
มกราคม 2549
จากที่นายกฯ ได้ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนที่อำเภออาจสามารถ จ
.
ร้อยเอ็ด โดยมีสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวีเป็นผู้ถ่ายทอดสดตลอด
5
วัน
5
คืน ตั้งแต่วันที่
16 20
มกราคมที่ผ่านมา ผมได้ทำการเก็บตัวเลขกิจกรรมการแก้ปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรี ผ่านรายการดังกล่าว
ตลอดระยะเวลา 5
วัน ซึ่งนายกฯ อ้างว่าเป็นการสอนการแก้ปัญหาความยากจนทางไกล แต่แท้ที่จริงเป็นการสอนให้คนเห็นเงินเป็นพระเจ้า
>>
การประมูลที่ไร้เงื่อนไข จากความไม่โปร่งใสสู่การคอร์รัปชันที่ไร้พรมแดน
(
Unconditional bidding: From lack of deviation transparency to borderless corruption
)
21
มกราคม 2549
การชี้แจงการเปิดประมูลนานาชาติ (International Bidding) ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจคต์ ในวันที่ 26 มกราคม 2549 ที่จะมาถึงนี้ แม้รัฐบาลจะกล่าวอย่างเป็นมั่นเหมาะว่าการประมูลที่เกิดขึ้นจะเป็นไปอย่างโปร่งใส แต่เงื่อนไขการประมูลที่รัฐบาลค่อย ๆ เผยออกมาทีละเล็กทีละน้อยนั้น เต็มไปด้วยความน่าสงสัยและเคลือบแคลงใจ โดยเฉพาะการที่รองนายกรัฐมนตรีได้แถลงว่า เงื่อนไขมีเพียงอย่างเดียว คือไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ไม่ต้องมีแบบแผนมาควบคุม ไม่ต้องใช้ระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบาร์เดอร์เทรด ไม่ต้องทำหนังสือชี้แจงข้อสงสัยให้รัฐบาลแต่สามารถเข้ามาชี้แจงด้วยวาจาได้ในทันที
>>
ค่าเสียโอกาสของเรียลลิตี้โชว์แก้จน
(
There is an opportunity cost to the Prime Ministers Reality Show)
20
มกราคม 2549
เรียลลิตี้โชว์
(Reality show)
ซึ่งถ่ายทำชีวิตจริงของผู้เข้าแข่งขัน กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วง
2-3
ปีนี้ โดยเฉพาะรายการที่ถ่ายทอดสดชีวิตของผู้เข้าแข่งขันทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะกิน เล่น ฝึกซ้อมหรือทำภาระกิจต่าง ๆ แม้แต่การนอน ซึ่งการติดตามถ่ายกันตลอด
24
ชั่วโมงทำให้ผู้ชมสนใจติดตามชมผู้เข้าแข่งขันอย่างไม่วางตา เพราะสามารถตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นได้เป็นอย่างดี
>>
เรียลลิตี้โชว์แก้จน จัดฉากแก้รัฐบาลขาลง
(
The Prime Ministers Reality Show to Eradicate Poverty: A another Show Case To Prevent Unpopularity)
19
มกราคม 2549
ในที่สุดเรียลลิตี้โชว์แก้จนของท่านนายกฯได้ฤกษ์ลงจอทางช่องยูบีซี
16
โดยมีหลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความเห็นในมุมมองต่าง ๆ อาทิ การถ่ายทอดสดการแก้ปัญหาความยากจนเป็นเพียงการจัดฉาก เป็นความพยายามเรียก คะแนนนิยมทางการเมืองในภาวะขาลง เป็นเพียงการกลบข่าวทุจริต เป็นการแทรกแซงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเป็นแนวทางที่ไม่อาจทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนบรรลุผล ฯลฯ
>>
ความจริงเกี่ยวกับเศรษฐกิจปี 2548 (The Truth about Thailands Economy 2006)
18
มกราคม 2549
เมื่อวันที่
11
ม
.
ค
. 49
ท่านนายกฯได้เชิญกลุ่มนักธุรกิจเข้ามาฟังการประเมินภาวะเศรษฐกิจในปี 2548 และแถลงนโยบายเศรษฐกิจในปี 2549 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักธุรกิจที่มาเข้าร่วมประชุม แต่จากการรับฟังข้อมูลการแถลงของท่านนายกฯเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจปี 2548 ผมมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
>>
นโยบายเศรษฐกิจปี 49 ความพยายามครั้งใหม่ที่ขาดทั้งความเป็นไปได้และการบูรณาการ (The Economics Policy in 2006)
17
มกราคม 2549
จากการที่นายกฯ ได้จัดงานแถลงทิศทางนโยบายเศรษฐกิจปี 2549 โดยใช้ชื่องานว่า ทิศทางและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในปี 2549 โดยเชิญนักธุรกิจเข้ามาฟังคำแถลง ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ทิศทางในปี 2549 ที่ท่านนายกฯ ได้แถลงดังนี้
>>
วิวาทะว่าด้วย Barter Trade (Discourse on the Barter
T
rade System)
16
มกราคม 2549
เกี่ยวกับนโยบายบาเ
ตอร์เทรด (Barter trade) ของรัฐบาล ซึ่งผมได้เขียนบทความวิพากษ์ไปก่อนหน้านี้ และมีเพื่อน ๆ ได้กรุณาเขียนจดหมายเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับผม โดยระบุถึงข้อดีของระบบ
บาเตอร์เทรด คือลดการพึ่งพาสกุลเงินต่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และช่วยขยายตลาดเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนา ผมจึงขอแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นนี้ ดังต่อไปนี้
>>
ความเป็นไปได้ในการขจัดความจนให้หมดไป (A Possibility to Eradicate Poverty)
15
มกราคม 2549
รัฐบาลกำหนดให้การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็น 1 ใน 3 สงคราม ที่รัฐบาลประกาศจะกำจัด นอกเหนือจาก ปัญหายาเสพติด และคอร์รัปชัน โดยนายกฯ ประกาศว่าจะทำให้คนจนหมดไปจากประเทศไทย ในช่วงเวลา 6 ปี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ปี 2546 ดังนั้นเส้นตายคืออีกประมาณ 3 ปีครึ่งต่อจากนี้ การจะรักษาสัญญานี้ให้ได้ ถือว่าเป็นงานหนักอย่างยิ่งของรัฐบาล
>>
เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯไม่โปร่งใส ห่วงหมกเม็ดผลประโยชน์
(
Non-transparent FTA negotiation : Is there any hidden personal benefit?)
14
มกราคม 2549
จากการที่ไทยได้ดำเนินการเจรจาเขตการค้าเสรีไทยกับสหรัฐ ผมสังเกตว่า กระบวนการเจรจาเอฟทีเอไม่โปร่งใส เพราะไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ควรจะเป็น กล่าวคือ
>>
นายกฯ ไม่นำเอฟทีเอเข้าสภาฯ ดูถูกกึ๋น ส.ส. ส.ว.
(
The Prime Minister will not submit FTAs through Parliament : A Sign of great contempt to MPs and the nations)
13
มกราคม 2549
กรณีที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะไม่นำข้อตกลงเอฟทีเอเข้าพิจารณาในสภาฯ เพราะสภาฯ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญนั้น ผมถือว่าเป็นการดูถูกความรู้ความสามารถของ ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็น ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยเอง และกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเจรจาเอฟทีเอ
>>
ตลาดมืดกับการควบคุมราคาน้ำตาลทรา
ย
(
The black market and sugar price control policy
)
12
มกราคม 2549
เมื่อคนทั่วไปนึกถึงตลาดมืด มักจะนึกถึงการขายสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด สิ่งลามก หรือสินค้าหนีภาษี ซึ่งต้องขายกันแบบหลบๆ ซ่อนๆ จะขายแต่ละทีก็ต้องขายในที่ลับตาคน หรือมิฉะนั้นก็กระซิบกระซาบชักชวนผู้ซื้อหน้าละอ่อนให้เข้ามา ซึ่งวิชาเรียกการแลกเปลี่ยนสินค้าเหล่านี้ว่าเศรษฐกิจใต้ดิน หรือ underground economic
>>
ปราบโกงไม่สำเร็จหากไร้แผนงานและองค์กรอิสระ
11
มกราคม 2549
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2549 ท่านนายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง นายกฯ ได้กล่าวถึงปัญหาคอร์รัปชัน โดยขู่ว่าได้ตั้งสายสืบลงไปตรวจสอบดูท้องถิ่นหลายพื้นที่ รวมถึงรัฐวิสาหกิจด้วย เพื่อสอดส่องการกระทำอะไรที่ไม่เหมาะสม พร้อมย้ำว่าปี 2549-2551 การปราบคอร์รัปชันจะดุ จะมีการกวดขันเป็นพิเศษ
พัฒนาการอุดมศึกษาให้รองรับ E-learning
10
มกราคม 2549
จากกระแสตอบรับการขยายตัวของระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-learning ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสและความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งพยายามจัดหลักสูตร e-learning เอง หรือสร้างเครือข่ายร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหรือกับหน่วยงานอื่น
นโยบายรัฐบาล : สาเหตุบั่นทอนเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
8
มกราคม 2549
จากรายงานการจัดอันดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจปี 2549 ที่จัดทำโดยวอลล์ สตรีท เจอร์นอล และมูลนิธิเฮอริเทจ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 71 จาก 157 ประเทศ ซึ่งเป็นทิศทางที่มีอันดับต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
เมกะโปรเจ็กต์ : เหตุปัจจัยเสี่ยงขาดดุลบัญชีฯ ปี 49
6
มกราคม 2549
ในปี 2549 ยังเป็นปีที่มีความเสี่ยงและไม่ชัดเจนสูง ต้องเผชิญกับปัจจัยบวกและลบหลายประการพร้อมกัน โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่หลายฝ่ายต่างวิตกว่าจะเป็นปัญหาที่อาจแก้ไขยาก และหากเกิดการขาดดุลติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศขาดเสถียรภาพ
การเมืองในปี 2549
5
มกราคม 2549
ในปี 2549 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นใหม่ในหลายเรื่อง โดยมีวาระที่มีความสำคัญทั้งในการเมืองระดับประเทศ และการเมืองระดับท้องถิ่น ได้แก่
เรื่องแรก การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) วันที่ 19 เม.ย. 2549
เรื่องที่สอง การอภิปรายไม่ไว้วางใจและถอดถอนรัฐมนตรี
เรื่องที่สาม การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร (ส.ข.) ของ กทม.