ในปี
2549
ยังเป็นปีที่มีความเสี่ยงและไม่ชัดเจนสูง
ต้องเผชิญกับปัจจัยบวกและลบหลายประการพร้อมกัน โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่หลายฝ่ายต่างวิตกว่าจะเป็นปัญหาที่อาจแก้ไขยาก
และหากเกิดการขาดดุลติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศขาดเสถียรภาพ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจมหาวิทยาลัยหอการค้า
ประมาณว่าปี 2549 ไทยจะยังขาดดุลการค้าสูงเป็นประวัติการณ์
โดยคาดว่าจะขาดดุลการเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ
11,720 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
6.1 ของ GDP ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัด
ปี 2549 ไทยจะขาดดุลอยู่ที่ระดับร้อยละ
2.7 ของ GDP
ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่าไว้วางใจ
การคาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับ TDRI
ซึ่งคาดว่าปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจปี
2549 โดยประมาณเศรษฐกิจไทยแม้จะขยายตัวได้ร้อยละ 5.2
แต่จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 198,524
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
2.6 ของ GDP
เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 163,301 ล้านบาท
และจะขาดดุลการค้า 387,781 ล้านบาท
แม้ว่าการลงทุนของภาครัฐในโครงการขนาดใหญ่ หรือ
Mega project จะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง
4 ปีข้างหน้า
(2549-2552) แต่โครงการขนาดใหญ่ดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้นและต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย
4-5 ปี
เนื่องจากโครงการ Mega project
ของรัฐบาลจะต้องนำเข้าสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศเป็นสัดส่วนที่สูง
ซึ่งจะก่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
หากยังไม่มีการจัดการที่ดี
อาจนำไปสู่เกิดวิกฤติรอบใหม่ได้
ดังนั้นต้องรัฐบาลต้องระวังกรอบการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เกินร้อยละ
3 ของจีดีพี
และควรดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้ดำเนินต่อไป เช่น นโยบายประหยัดพลังงาน
นโยบายกระตุ้นการออมในประเทศ กระตุ้นการส่งออก และส่งเสริมการท่องเที่ยวและภาคบริการ
ให้กลับมาฟื้นตัว เป็นต้น ประการสำคัญคือ
จัดลำดับความสำคัญของการลงทุนในโครงการต่าง ๆ และลงทุนในระดับที่เหมาะสม