Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

 ขอเสนออย่างสร้างสรรค์


ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 49
RISK FACTOKS FOR THAILAND’ S ECONOMIC IN 2006

 

29 มกราคม 2549

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

แม้ว่าหลายฝ่ายจะคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจปี 2549 จะสามารถขยายตัวได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ในปี 2549 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ อาทิ

โครงการเมกกะโปรเจกต์ ซึ่งรัฐบาลรีบเร่งลงทุนด้วยวงเงิน 1.8 ล้านล้านบาทภายใน 4-5 ปี สิ่งที่น่าวิตกคือการลงทุนในโครงการดังกล่าวต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงมากถึงร้อยละ 30 ถึง 50 ของมูลค่าโครงการ ซึ่งจะยิ่งสร้างแรงกดดันทำให้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรัฐบาลนำวิธีการประมูลนานาชาติ (International Bidding) มาใช้ และเป็นการประมูลที่ให้มีผู้ชนะการประมูลเพียง 1 รายต่อ 1 สาขา เช่นมีผู้รับเหมารายเดียวที่ได้รับงานก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่จะชนะการประมูลส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ของต่างประเทศ ดังนั้นโอกาสที่จะมีการนำเข้าเครื่องจักร เทคโนโลยี และวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศจะยิ่งมีสัดส่วนที่สูงขึ้น

แต่กระนั้น ความไม่ชัดเจนของโครงการอาจทำให้การดำเนินโครงการล่าช้า ซึ่งจะทำให้แรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดยังไม่สูงมากในปีนี้ แต่ปัญหาการขาดดุลฯจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในปีถัดไป

ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่ง คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังอยู่ในอยู่ในระดับสูง แม้ราคาจะมีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 แต่มูลค่าการนำเข้าน้ำมันตลอดทั้งปี 2549 น่าจะอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีก่อน เพราะราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี และยังมีความเสี่ยงที่ราคาจะสูงขึ้นอีกในปีนี้

สถานการณ์การเมืองโลกในปี 2549 เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ระดับราคาน้ำมันผันผวนในทิศทางที่สูงขึ้นอีกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานการณ์ความรุนแรงและความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลอิรัก รวมทั้งการคว่ำบาตรของนานาประเทศต่ออิหร่าน ในกรณีที่รัฐบาลอิหร่านยืนยันสิทธิของตนเองที่จะพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้ปริมาณน้ำมันที่ออกสู่ตลาดโลกลดลง เนื่องจากอิรักและอิหร่านเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ของโลก

โลกยังมีความเสี่ยงจากภัยก่อการร้าย โดยเฉพาะการลักพาตัวและก่อการร้ายต่อบริษัทน้ำมันของประเทศตะวันตกที่อยู่ในไนจีเรีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก ตลอดจนความเสี่ยงจากการก่อการร้ายครั้งใหญ่ในประเทศตะวันตก ตามคำขู่ของนายโอซามา บิน ลาเดน ผู้นำเครือข่ายอัลกออิดะห์ ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเกิดความผันผวน และส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันดิบโลกไม่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และไม่มีปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง เช่น การก่อการร้ายระดับโลก ภัยธรรมชาติร้ายแรง โรคระบาดรุนแรง เป็นต้น เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกน่าจะยังขยายตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการขยายตัวในปี 2548 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปมีทิศทางฟื้นตัวขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจจีนยังมีอัตราการขยายตัวสูงมาก