เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
กรณีบริษัท
จีเอ็มเอ็ม
แกรมมี่
เข้าซื้อหุ้นมติชน
และกรณีการที่องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(อ.ส.ม.ท.)
ได้ปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้
ๆ
กันนี้
คงเหมือนกับอีกหลายเหตุการณ์ที่สื่อต้องเผชิญในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้
นั่นคือ
การตกอยู่ภายใต้สภาพ
“ทวิลักษณ์ทางอำนาจ”
ระหว่าง
อำนาจของสื่อมวลชนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
กับ
อำนาจของผู้นำองค์กรสื่อที่มักอยู่เหนือสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
ซึ่งอำนาจหลังนี้จะใหญ่กว่า
การที่เสรีภาพของสื่อมวลชนตกอยู่ภายใต้องค์กร
ภายใต้นายทุน
ภายใต้โครงสร้างอำนาจใดก็ตาม
ย่อมส่งผลทำให้สื่อมวลชนในระดับปัจเจกชนไม่สามารถแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้
ยิ่งหากอำนาจเหล่านี้ขาดสำนึกประชาธิปไตย
ขาดอุดมการณ์และจิตสำนึกสื่อมวลชนที่ดีด้วยแล้ว
ยิ่งเรียกได้ว่ารัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
กลับไม่ใหญ่กว่ากฎหรือคำสั่งของผู้นำในการสั่งสื่อให้เป็นเครื่องมือทำสิ่งใดตามที่ต้องการก็ได้
หากสื่อในประเทศเรายังตกอยู่ภายใต้สภาพ
ทวิลักษณ์ทางอำนาจเช่นนี้
ประเทศนี้คงจะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยอีกต่อไป
เพราะเมื่อสื่อมวลชนถูกปิดปาก
ประชาชนย่อมถูกปิดหูปิดตา
และถูกชักนำไปในทางที่มีเพียงบุคคลเพียงกลุ่มเดียวพาเดินไป
แต่ในโลกยุคที่กระแสประชาธิปไตย
กระแสสิทธิเสรีภาพเบ่งบานเช่นนี้
คงไม่มีมวลชนจำนวนมากหลงผิดเดินตามไปอย่างแน่นอน
กลับจะยิ่งส่งผลในทางตรงกันข้ามคือการลุกฮือของมวลชนผู้รักเสรีภาพ
จะรวมกลุ่มกันเหนียวแน่นขึ้น
และต่อต้านอำนาจทุนเด่นชัดขึ้น
ทางออกในเบื้องต้นผมขอเสนอว่าว่า
ทุกภาคส่วนของสังคมควรร่วมกันกดดันให้องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสื่อทุกแห่ง
ประกาศอุดมการณ์ให้ชัดเจนว่า
ต้องการเป็นสื่อที่นำเสนอข่าวสารอะไร
ประเภทใด
สื่อมวลชนในสังกัดมีสิทธิเสรีภาพได้มากน้อยเพียงใด
ซึ่งถ้าองค์กรนั้นเป็นเพียงเครื่องมือของนายทุน
ของผู้มีอำนาจรัฐ
อุดมการณ์ของสื่อนั้นก็ต้องชัดเจนว่า
หน่วยงานของตนทำหน้าที่เป็นเพียง
“เครื่องมือ”
เท่านั้น
มิใช่เป็นกระบอกเสียงให้ประชาชน
การทำเช่นนี้
นอกจากให้ประชาชนทราบแล้วว่าแต่ละสื่อมีจุดยืนอย่างไร
ยังช่วยให้สื่อมวลชนทุกคนมีทางเลือกเดินที่ถูกต้อง
และจะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มสื่อที่มีอุดมการณ์
มีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม
ในระยะต่อไป
เราต้องช่วยกันหาข้อสรุปให้ได้ว่า
ประเทศนี้อำนาจใดใหญ่กว่ากัน
อำนาจตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
หรือ
อำนาจของผู้นำองค์กรสื่อ
ที่สามารถตัดสินยุติเสรีภาพของสื่อได้
แม้ขัดรัฐธรรมนูญ
|