เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การอภิปรายในวาระการพิจารณารับหลักการของร่าง
พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี
พ.ศ.2549
เมื่อวันที่
30
มิ.ย.2548
ผมวิพากษ์การจัดงบฯว่า
เป็น
‘งบจอมเสี่ยง’
เพราะนำพาความเสี่ยง
3 ด้าน
งบปี 49
เป็น
‘งบจอมฝัน’
ฝันว่าเศรษฐกิจปี
48
จะขยายตัว
4.5-5.5%
ทั้งที่แนวโน้มน่าจะโตแค่
4%
เท่านั้น
เพราะสมมติฐานการจัดเก็บรายได้ไม่สมจริง
ประการแรกที่กำหนดว่า
ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี
2548 ที่
44
ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ไม่จริง
เพราะเฉลี่ย
5
เดือนแรกอยู่ที่
43.2
ดอลลาร์ฯ
แล้ว
และครึ่งปีหลังราคาจะสูงขึ้นทุกปี
ราคาเฉลี่ยน่าจะเป็น
50-55
ดอลลาร์ฯ
ส่วนสมมติฐานส่งออกขยายตัว
18%
เป็นไปได้ยาก
เพราะ 4
เดือนแรก
ส่งออกขยาย
10.9%
หากจะให้ถึง
18% อีก
8
เดือนที่เหลือต้องขยายถึง
27.78%”
ส่วนสมมติฐานที่ระบุว่า
นักท่องเที่ยวปี
48
ต้องเพิ่มขึ้นเป็น
12.57
ล้านคน
ยิ่งเป็นไปไม่ได้
เพราะนักท่องเที่ยวเข้าไทย
2
ไตรมาสแรก
จะมีเพียง
5.29
ล้านคน
ดังนั้น
2
ไตรมาสสุดท้ายต้องมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง
18.57%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนสมมติฐานสุดท้าย
คือการเร่งเบิกจ่ายงบเพิ่มเติมปี
48
และงบฯปี
2546–2547
ที่ยังค้างอยู่ไม่น้อยกว่า
80%
เป็นไปได้ค่อนข้างยาก
เพราะงบดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นงบลงทุน
และงบลงทุนในปีงบประมาณ
2548
ถึงปัจจุบัน
มีการเบิกจ่ายเพียง
48.92%
เท่านั้น
การฝันว่าเศรษฐกิจจะโต
เสี่ยงว่าจะเก็บรายได้ไม่ถึงเป้า
ทำให้ประชาชนถูกขูดรีดภาษีมากขึ้น
9.3
หมื่นล้านบาท
ลักษณะประการต่อมาว่าเป็น
‘งบจอมแอบ’
โดยให้เหตุผลว่า
การจัดทำงบประมาณนำพาความเสี่ยงในการก่อหนี้สาธารณะและภาระผูกพันมากขึ้น
เพราะรัฐบาลได้พัฒนาวิธีการซ่อนหนี้และภาระผูกพันมากขึ้น
อาทิ
การให้ธนาคารรัฐปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อย้ายหนี้รัฐวิสาหกิจออกจากบัญชีหนี้สาธารณะ
การจัดตั้ง
SPV
เพื่อกู้เงินทุนจากเอกชน
โดยไม่ปรากฏเป็นหนี้สาธารณะ
รวมทั้งการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้มค่า
ทำให้รัฐต้องอุดหนุนในระยะยาว
โดยเท่าที่ค้นพบมีมูลค่าภาระผูกพันและหนี้ที่ซุกอยู่รวมกันถึง
546,944
ล้านบาทเป็นอย่างน้อย
ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีการเหล่านี้
จะกลายเป็นหนี้สาธารณะจำนวนมากในอนาคต
หากเศรษฐกิจถดถอยหรือเข้าสู่วิกฤต
ลักษณะประการสุดท้าย
‘งบจอมฮั้ว’
โดยเฉพาะการจัดงบปี
49
โดยเฉพาะการลงทุนในเมกะโปรเจคต์
เพราะรัฐบาลยังไม่มีแนวทางการระดมทุนที่ชัดเจน
จึงเป็นไปได้สูงที่จะนำวิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการเหมาแบบเบ็ดเสร็จ
หรือ
Turn Key
มาใช้
เพราะวิธีนี้ผู้รับเหมาจะรับผิดชอบระดมทุนเอง
แต่วิธี
Turn Key
จะมีการออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง
ทำให้การควบคุมและตรวจสอบงานทำได้ยาก
และวิธีการนี้จะมีผู้รับเหมาน้อยรายที่จะมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดให้มีสิทธิเข้าแข่งขันในการประกวดราคา
จึงเป็นช่องทางให้เกิดการฮั้วประมูล
และเปิดช่องให้สะดวกต่อการโกงกิน
จากที่ผมได้อภิปรายเกี่ยวกับความเสี่ยงของงบประมาณ
เพื่อน ๆ
คิดเห็นอย่างไรครับ
สามารถเสนอแนะได้ผ่านทาง
E-mail
ของผมครับ
|