Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

สื่อควรยกป้าย “ตอบสร้างสรรค์ - ไม่สร้างสรรค์” ด้วยดีไหม?
Should either “Creative or Non-creative brand” be raised by press?

 

26 สิงหาคม 2548

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก     

ในขณะที่ นายกฯ ใช้สิทธิ “ยกป้าย” ตัดสินคำถามของสื่อว่าสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์  สื่อมวลชนควรสร้างดัชนีชี้วัดคำตอบนายกฯหรือแหล่งข่าวอื่น ๆ ว่า สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ด้วย เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน น่าจะเป็นการยุติธรรมดี

เมื่อวันที่
25 สิงหาคมที่ผ่านมานายกฯ ได้เปิดรายการ “นายกฯ พบสื่อมวลชน” เป็นครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเปิดโอกาสให้สื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ซักถามเป็นเวลา 1 ชั่วโมง สิ่งที่ได้สร้างสีสันในรายการดังกล่าวคือ การยกป้ายเครื่องหมายผิดหากสื่อตั้งคำถามที่นายกฯ คิดว่าถามไม่สร้างสรรค์ และป้ายเครื่องหมายถูก หากเป็นคำถามที่นายกฯ ว่าสร้างสรรค์ รวมถึงการกล่าวทิ้งท้ายของนายกฯ ที่ว่า  “ผมต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อแก้ข่าวของพวกคุณ … ถ้าอยากให้ผมทำงานมากๆ ขอให้สร้างสรรค์หน่อย” การตัดสินสื่อของนายกฯ ด้วยการกระทำที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการตัดสินสื่อด้วยการใช้วิจารญาณของบุคคลคนเดียวที่อาจจะขาดเกณฑ์ชี้วัด มาตรฐานที่ชัดเจนว่าอะไรสร้างสรรค์ ไม่สร้างสรรค์

หากวันนี้นายกฯ กำลังเรียกร้องให้สื่อถามคำถามที่สร้างสรรค์ โดยการยกป้ายเตือนหากสื่อถามไม่สร้างสรรค์แล้ว สื่อเองน่าจะร่วมกันจัดทำดัชนีชี้วัดที่มีหลักเกณฑ์ เพื่อชี้ว่าคำตอบของนายกฯ สร้างสรรค์หรือไม่เช่นกัน


ผมขอเสนอว่า คงเป็นการดีหากสื่อร่วมจัดทำเกณฑ์ วัดระดับ
“การตอบอย่างสร้างสรรค์”
โดยสื่ออาจรวมตัวกันที่จะคิดเกณฑ์กลางและจัดทำระดับความสร้างสรรค์ ว่าคำตอบใดอยู่ที่ความสร้างสรรค์ระดับใด โดยอาศัยหลักวิชาการ ร่วมกำหนดนิยามและลักษณะ คำตอบที่สร้างสรรค์ว่าควรมีลักษณะใด และให้สื่อมวลชนทุกแขนงได้รับรู้เกณฑ์เหล่านี้ร่วมกัน หากมีการให้สัมภาษณ์หรือซักถามประเด็นที่ประชาชนสนใจ สื่ออาจร่วมใจให้คะแนนในทุกคำตอบ และนำเสนอในส่วนที่สื่อลงความเห็นร่วมกันให้ประชาชนทราบ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจของประชาชนในอีกมุมมองหนึ่ง

การให้สื่อมวลชนร่วมกันจัดทำดัชนีชี้วัดคำตอบของนายกฯ นี้จะเป็นการสนับสนุนแนวคิดสื่อสร้างสรรค์ ที่จะยกระดับให้สื่อไม่เป็นเพียงผู้รายงานข่าว แต่จะช่วยตรวจสอบการตอบคำถามที่ประชาชนอยากรู้ว่า แหล่งข่าวคนนั้นให้ข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่ เพื่อให้ผู้ตอบจะไม่ตอบเพียงผ่าน  ๆ ไป โดยที่ประชาชนไม่ได้รับรู้สาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินเรื่องที่เกิดขึ้น