Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

บทบาทของ UNHCR ที่ถูกกล่าวหา
The Role of UNHCR Under fire of accusation

 

21 กันยายน 2548

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก     

เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา นายกฯ ได้กล่าวถึงการตำหนิหน่วยงานของสหประชาชาติในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ผ่านรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน “ผมได้ถือโอกาสใช้เวทีนี้ก็พูดกันตรง ๆ เลยว่าองค์การสหประชาชาติ ทำงานโดยไม่ประสานหรือไม่ทำงานเป็นลักษณะของพาร์ทเนอร์ชิพ กับประเทศที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร เป็นเรื่องไปทำงานเหมือนตำรวจซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะองค์กรสหประชาติเป็นองค์กรพหุภาคีที่ต้องทำงานในลักษณะพาร์ทเนอร์ชิพกับประเทศที่เกี่ยวข้อง ผมก็เลยต้องต่อว่าเรื่องของการทำงานร่วมกับประเทศต่าง ๆ” แน่นอนว่าสิ่งที่นายกฯ กล่าวนั้นหมายถึง ความไม่พอใจต่อการทำงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่ได้ตรวจสอบ 131 คนไทยที่หลบหนีข้ามแดนไปยังประเทศมาเลเซีย ว่าเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่ โดยไม่ได้ติดต่อกับรัฐบาลไทยก่อน ซึ่งทางฝั่งไทยเองระบุว่ามาจากการสร้างสถานการณ์จากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โดยดึง UNHCR มาเป็นเครื่องมือ

ผมจะไม่ตัดสินคำกล่าวของท่านนายกฯ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่อยากตั้งคำถามว่า
“สหประชาชาติมีสิทธิที่จะกระทำเช่นนั้นหรือไม่  เพราะตามบทบาทหน้าที่แล้วหน่วยงาน UNHCR นั้นรับผิดชอบในการเข้าไปดูแลผู้ลี้ภัย เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมาแล้วในหลายพื้นที่ทั่วโลก ทั้งนี้ “เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย” จึงไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐบาลของประเทศผู้ลี้ภัยก่อน

การเข้าไปสัมภาษณ์
131 คนไทยที่หลบหนีข้ามไปมาเลเซียของ UNHCR เป็นการทำงานด้านการรวบรวมข้อมูลของผู้อพยพลี้ภัย เป็นข้อมูลภูมิหลัง และความต้องการของผู้ลี้ภัย เพื่อต้องการที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ลี้ภัย หากผู้หลบหนีทั้ง 131 คนเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำที่รุนแรงของทหารไทยจริง และไม่ต้องการอยู่ในพื้นที่เดิม การช่วยเหลือในขั้นต่อมาของ UNHCR คือ การหาที่พักชั่วคราวให้ การส่งผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่สาม หรือพยายามส่งกลับประเทศ ซึ่งเป็นความช่วยเหลือตามปกติที่ทำอยู่ทั่วโลกตามบทบาทหน้าที่ของ UNHCR อีกทั้งการทำงานของ UNHCR จะอยู่ภายใต้การร่วมมือกับรัฐบาลในประเทศผู้ลี้ภัย องค์กรท้องถิ่น องค์กรระดับนานาชาติ และองค์กรอิสระอื่น ๆ

ในกรณีของประเทศไทย จึงสามารถสรุปได้ว่า
UNHCR ที่จะกระทำเช่นนั้นเป็นการทำตามบทบาทหน้าที่และเป็นการทำงานในลักษณะการมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม หาก UNHCR เชื่อข้อมูลที่ได้เข้าไปสัมภาษณ์คนไทยทั้ง 131 คนเพียงฝ่ายเดียว ย่อมถือว่าเป็นการกระทำไม่ถูกต้องอยู่ ในด้านรัฐบาลหากเป็นความจริงที่ว่าการอพยพของคนไทย 131 คนนั้นเป็นการสร้างสถานการณ์โดยกลุ่มผู้ก่อการร้าย รัฐบาลต้องยืนยันกันด้วยหลักฐาน ข้อเท็จจริง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมสูงสุด

การที่ท่านนายกฯกล่าวตำหนิการทำงานของ UN ในครั้งนี้ อาจเป็นการด่วนสรุปเกินไป อันเกิดจากความไม่พอใจเมื่อถูกแทรกแซงอำนาจ ซึ่งคงเป็นเช่นเดียวกับในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา