เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
รัฐจะตรึงราคาสินค้าไม่อยู่
เพราะมาตรการรัฐกระทบต้นทุน
เสนอให้แฉสินค้าที่ฉวยโอกาสขึ้นราคา
สร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
และลดภาษีผู้ผลิตสินค้าจำเป็น
ผลกระทบจากมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้นของรัฐบาล
จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
รัฐบาลจึงควรจัดการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
ตามที่กรมการค้าภายในจะขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้า
และให้ข่าวว่า
การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
ขึ้นเงินเดือนราชการ
และลอยตัวราคาดีเซล
ไม่ใช่ข้ออ้างที่ผู้ประกอบการจะปรับขึ้นราคาสินค้าโดยเด็ดขาด
เพราะคาดการณ์เงินเฟ้อตลอดทั้งปีจะอยู่ที่
3.8%นั้น
ผมเห็นว่า
ในภาคปฏิบัติทำไม่ได้จริง
และการไม่ให้ขึ้นราคาสินค้าจะไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิต
เนื่องจากมาตรการของรัฐมีผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตโดยตรง
โดยเฉพาะการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
ทำให้ผู้ผลิตจะไม่ให้ความร่วมมือในการตรึงราคา
ณ
ระดับเดิม
ยิ่งไปกว่านั้น
ตัวเลขเงินเฟ้อ
3.8%
เป็นการคาดการณ์เดิมที่
สศช.
ประเมินไว้ในกรณีที่ไม่มีมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้น
แต่จากการที่ผมได้วิเคราะห์ด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์พบว่า
ลำพังการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
6
บาท
จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก
0.4%
จากการคาดการณ์เดิมแล้ว
หากรวมผลกระทบของมาตรการอื่น
ๆ ด้วย
เงินเฟ้อจะยิ่งสูงกว่านั้นอีก
ส่วนการปรับขึ้นราคาดีเซล
แม้ไม่มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้าบางประเภท
เพราะโรงงานส่วนหนึ่งใช้น้ำมันเตา
แต่การขึ้นราคาน้ำมันดีเซลทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งจะกระทบต่อราคาสินค้าแทบทุกประเภท
ขณะที่การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ
แม้ไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าโดยตรง
แต่จะทำให้ความต้องการสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น
ซึ่งทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น
ผมมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ดังนี้
ประการแรก
ราคาสินค้าที่เหมาะสมและสมจริงที่สุด
คือราคาตามกลไกตลาดโดยไม่มีการบิดเบือนโก่งราคา
การควบคุมราคาโดยขอความร่วมมือนั้น
ผมคิดว่าไม่สมจริงในทางปฏิบัติ
เพราะผู้ผลิตจะไม่ยอมขาดทุนเพราะเห็นแก่สังคม
แต่หากกรมการค้าภายในพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและเป็นไปตามหลักวิชาการแล้ว
พบว่า
มีผู้ผลิตหรือกลุ่มผู้ผลิตที่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าหรือลดคุณภาพของสินค้าจริง
นอกเหนือจากการใช้มาตรการทางกฎหมายแล้ว
ควรใช้มาตรการการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ
เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าดังกล่าว
ประการสอง
กรมการค้าภายในควรใช้ช่องทางต่าง
ๆ
ให้ข้อมูลราคาสินค้าแก่ประชาชน
เช่น
กำหนดให้ผู้ผลิตต้องติดป้ายราคา
การประกาศรายชื่อสินค้าที่ขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม
การเชื่อมโยงฐานข้อมูลของกรมการค้ากับเครือข่ายของห้างร้านต่าง
ๆ
เพื่อเปิดจุดให้บริการตรวจสอบราคาสินค้าแก่ประชาชน
ประการสาม
ควรส่งเสริม/สนับสนุนให้มีการตั้งกลุ่มหรือชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในแต่ละชุมชน
เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนตรวจสอบ
และเผยแพร่ข้อมูลผู้ผลิตและจัดจำหน่ายที่เอารัดเอาเปรียบ
เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองในเบื้องต้นก่อน
และทำหน้าที่เป็นเครือข่ายของกรมการค้าฯ
ที่ทำหน้าที่ร้องเรียนปัญหามายังกรมการค้าฯด้วย
โดยอาจจะกำหนดให้มีรางวัลนำจับสำหรับผู้ที่แจ้งข้อมูลแก่กรมการค้า
ประการสุดท้าย
หากรัฐต้องการลดภาระของประชาชน
ควรใช้มาตรการด้านอุปทาน
ซึ่งจะไม่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
เช่น
การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ผลิต
เพื่อลดต้นทุนการผลิตเฉพาะที่ผลิตสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
หรือการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงแก่ประชาชนที่มีฐานะยากจน
และประสบปัญหาในการดำรงชีพ
|