เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากคำกล่าวของ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
เทวกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
และนายทนง
พิทยะ
รมต.ว่าการกระทรวงการคลังที่ชี้แจงตัวเลขในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่
ไม่ตรงกัน
กล่าวคือ
ม.ร.ว.
ปรีดิยาธร
เทวกุล
ชี้แจงว่า
ตัวเลขการลงทุน
จะลดลงเหลือ
1.56
ล้านล้านบาท
ซึ่งการลดลงของมูลค่าการลงทุน
ทำให้ลดแรงกดดันต่อการขาดดุล
ในขณะที่
นายทนง
พิทยะ
กล่าวว่า
ตัวเลขการลงทุน
ยังคงเท่าเดิม
คือ
1.7
ล้านล้านบาท
เท่าเดิม
จากคำกล่าว
ของทั้ง
2
ท่าน
ย่อมสะท้อนว่า
ความสับสนของรัฐบาลต่อการลงทุนในโครงการอภิมหาช้างครั้งนี้
ความสับสนต่อเงินลงทุน
หากระดับนโยบายเกิดความสับสน
สื่อสารไม่ตรงกัน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของโครงการคือ เงินลงทุนในโครงการอภิมหาช้างนี้
ย่อมแสดงถึงความไร้เอกภาพ สร้างความสับสน และความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งไทย
และต่างประเทศว่าอนาคตของโครงการดังกล่าวจะยิ่งมีความสับสนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลาในการลงทุน การควบคุมสัดส่วนการนำเข้า
โดยเฉพาะตัวเลขการขาดดุลฯ ที่กระทรวงการคลังเคยแถลงว่าจะไม่เกิน
2% GDP ในปี 2550-2552
จะเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
เทวกุล กล่าวว่า หากลดมูลค่าการลงทุนลง ย่อมลดแรงกดดันต่อการขาดดุล
แสดงว่าหากไม่ลดการลงทุน
ตัวเลขการขาดดุลที่กระทรวงการคลังแถลงซึ่งเป็นตัวเลขที่คิดจากเงินลงทุน 1.7
ล้านล้านบาท ยังเป็นตัวเลขที่มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในอนาคต
ความสับสนในเป้าหมายการลงทุน
นอกจาก
คำกล่าวของ รมต.
ว่าการกระทรวงการคลัง คนใหม่ จะไม่ตรงกับ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องตัวเลขการลงทุนแล้ว คำกล่าวของ รมต.
ว่าการกระทรวงการคลัง ยังไม่ตรงกับคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี
เกี่ยวกับเป้าหมายการลงทุนโครงการขนาดใหญ่นี้ เพราะท่านนายกฯ เคยกล่าวปาฐกถาพิเศษ
เรื่อง ประเทศไทยกับเศรษฐกิจฐานความรู้
ในงานกาลาดินเนอร์ 72 ปี มงฟอร์ตฯ
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมาว่า
การลงทุนโครงการขนาดใหญ่นี้ เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่ในครั้งนี้ รมต.ว่าการกระทรวงการคลัง กับกล่าวว่า
เพื่อหากการลงทุนเบิกใช้ไม่ทันในอีก 5-7 ปีข้างหน้า
อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ
ฉะนั้นหากรัฐบาลไม่สามารถสร้างความชัดเจนให้กับโครงการอภิมหาช้าง
ตั้งแต่เริ่มต้นได้ อนาคตของโครงการอภิมหาช้าง ย่อมอยู่ในความเสี่ยง
เหมือนที่ผมเคยกล่าวในการอภิปรายว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแห่งความสุ่มเสี่ยง
|