Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
Participatory Democracy

 

18 สิงหาคม 2548

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก     

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมกันกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศ และแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน           

การเมืองไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังที่เรียกขานกันว่า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เช่น การที่ประชาชนมีสิทธิที่เสนอร่างกฎหมายทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การขอยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดเห็นต่อโครงการของรัฐที่กระทบต่อชุมชนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เป็นต้น           

กล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เป็นการเมืองที่ภาคประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง มีความสนอกสนใจความเป็นไปของบ้านเมือง วิพากษ์วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐในเรื่องต่าง ๆ  ตลอดจนมีการรวมตัวคัดค้านหากเห็นว่านโยบายหรือโครงการของรัฐมีผลกระทบเสียหายต่อวิถีชีวิตของชุมชนหรือประเทศ            

ในสภาวะปัจจุบัน ที่สังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์ ปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังรุมเร้าเข้ามา ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดวิกกฤตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของประเทศ โดยไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักการเมืองเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ด้วยกันแสดงความคิดหาแนวทางในการแก้ปัญหาของชาติบ้านเมือง ร่วมกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หรือกำหนดนโยบายสาธารณะในการพัฒนาประเทศ

ในระหว่างวันที่
8 – 9 ตุลาคม 2548 ที่ อิมแพคท์ เมืองทองธานี
 พรรคประชาธิปัตย์จะขอทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง อำนวยความสะดวก และประสานให้ประชาชนจากภาคส่วนต่าง ๆ มีโอกาสได้พบปะ ร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันกำหนดทิศทางและแนวปฏิบัติในการพัฒนาแก้ไขปัญหาของประเทศในมุมมองของประชาชนด้วยตนเอง หรือที่เรียกกันว่า “สมัชชาประชาธิปัตย์หรือสมัชชาประชาชน” ฉบับประชาชน อันจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเกิดขึ้นจริงในภาคปฏิบัติ