เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การสั่งระงับการกระจายหุ้นของ กฟผ.ไว้ชั่วคราวโดยศาลปกครอง
กระทรวงพลังงานอ้างว่า
หากระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้
ก็ต้องหาแหล่งเงินจากที่อื่นซึ่งมีต้นทุนสูง
เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าชะลอไม่ได้เนื่องจากจะส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับ
และอาจต้องปรับค่าไฟเพิ่มขึ้นด้วย (มติชนรายวัน
17
พ.ย.
2548)
ในกรณีของบริษัทเอกชนอื่น
ๆ คำกล่าวนี้อาจจะเป็นความจริง
แต่สำหรับกรณีของ
กฟผ.
ผมไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น
หากพิจารณากรณีของบริษัททั่วไป
การระดมทุนในตลาดหุ้นมักมีต้นทุนต่ำกว่าการหาเงินทุนด้วยวิธีการกู้
เนื่องจากได้กระจายความเสี่ยงไปให้กับผู้ถือหุ้นแล้ว
และไม่ต้องจ่ายเงินปันผลในปีที่ผลประกอบการไม่ดี
แต่การกู้เงินผู้กู้ต้องรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด
และต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกปีไม่ว่าผลประกอบการจะเป็นอย่างไร
แต่กรณีของ
กฟผ.อาจแตกต่างจากบริษัททั่วไป
เพราะต้นทุนการกู้อาจต่ำกว่าการระดมทุนในตลาดหุ้น
เพราะกฟผ.เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสินทรัพย์จำนวนมาก
รัฐบาลถือหุ้นใหญ่จึงมีความมั่นคง
และมีความสามารถชำระหนี้ได้สูงมาก
สามารถหาเงินกู้ระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำได้ง่าย
การกระจายหุ้นของกฟผ.ต่างจากการระดมทุนของบริษัททั่ว
ๆ ไป เพราะมติครม.เมื่อ
9
ธ.ค.
46 ได้ระบุกรอบการกำกับดูแลที่จะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า
ซึ่งต้องคำนึงถึงเกณฑ์การประกันผลตอบแทนการลงทุน
(ROIC)
เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาซื้อหุ้น
ดังนั้นการระดมทุนด้วยการกู้เงินและการขายหุ้นในตลาดหุ้น
ในกรณีของ กฟผ.จึงไม่แตกต่างกันเลยในแง่การกระจายความเสี่ยง
แต่กฟผ.กลับต้องรับความเสี่ยงมากขึ้น
เพราะการกู้เงินยังมีกำหนดเวลาชำระคืนที่แน่นอน แต่การขายหุ้นในตลาดหุ้นนั้นต้องจ่ายเงินปันผลไปตลอดกาล
นอกจากนี้
การที่ กฟผ.แทบไม่มีความเสี่ยงต่อการขาดทุน
และมีแนวโน้มที่จะมีผลกำไรสูง
เพราะได้รับสิทธิลงทุนผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย
50%
ของความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และเป็นเจ้าของสายส่งไฟฟ้ารายเดียว
ดังนั้นกฟผ.อาจได้รับประโยชน์ไม่มากจากการกระจายความเสี่ยงในตลาดหุ้น
เหตุผลที่กล่าวทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า เมื่อ กฟผ.ไม่สามารถเข้าตลาดหุ้น
ไม่ได้หมายความว่า กฟผ.จะขัดสนจนปัญญา
จนไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำได้เลย
และมีความเป็นไปได้ว่า การระดมทุนจากตลาดหุ้นในรูปแบบที่รัฐบาลกำหนดขึ้นนี้
อาจไม่ใช่แนวทางที่ทำให้ กฟผ.ได้รับเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับทุกทางเลือกที่มีอยู่
การอ้างว่าต้องใช้เงินลงทุน
1
แสนล้านบาท
เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จำนวน
4
แห่ง
แต่ในเมื่อ กฟผ.ต้องการเงินลงทุนเฉพาะการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
ทำไมจึงไม่แยกออกเป็น 4
บริษัท
เพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นเหมือนบริษัททั่ว ๆ ไป
เหมือนกับโรงไฟฟ้าราชบุรี หรือให้ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเข้ามาผลิตแทนโดย
กฟผ.ไม่ต้องลงทุนเอง
แต่รัฐบาลกลับนำ กฟผ.ทั้งองค์กรเข้าตลาดหลักทรัพย์
การนำหุ้นกฟผ.เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
เป็นวิธีการที่แตกต่างจากการเข้าตลาดหุ้นของบริษัททั่วไป
เพราะไม่ได้เป็นการกระจายความเสี่ยงให้นักลงทุนตามแนวคิดของการกระจายหุ้น แต่ กฟผ.กลับต้องรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
จากการประกันผลตอบแทนของนักลงทุนในระดับสูง การที่ กฟผ.เข้าตลาดหุ้นด้วยวิธีการเช่นนี้
จึงน่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นมากกว่าการที่ไม่ได้เข้าตลาดหุ้น
|