Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

“เท่าเทียมกัน” ไม่ได้หมายความว่า “เท่ากัน”
“Parity” doesn’t necessary mean “Quality”

 

6 พฤศจิกายน 2548

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

จากคำพูดที่ตรงไปตรงมาของนายกฯ ที่ว่า “ผมตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ แต่เราต้องดูแลคนทั้งประเทศด้วย แต่เวลาจำกัด ต้องเอาเวลาไปจังหวัดที่เราได้รับความไว้วางใจมากเป็นพิเศษ จังหวัดที่ไว้วางใจเราน้อยต้องเอาไว้ทีหลัง ไม่ใช่ไม่ไป คิวต้องเรียงอย่างนี้ … ก็อยากเห็นคนทั้งประเทศไม่ว่าอยู่ที่ไหน เลือกหรือไม่เลือกผม ก็อยากให้ทุกคนหายจน แต่เนื่องจากเวลาจำกัดก็ต้องไล่ลำดับกันไป แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำเหมือนกันหมดทั่วประเทศ”

คำกล่าวของนายกฯ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้เมื่อวันที่
3 .. นายกฯได้ให้สัมภาษณ์ในรายการนายกฯ ทักษิณพบสื่อมวลชน ที่ทำเนียบรัฐบาลถึงคำพูดดังกล่าว ว่าตนไม่ได้หมายความว่าจะเลือกพัฒนาเฉพาะจังหวัดที่เลือกพรรค ทรท. ก่อน รวมทั้งได้ยกเรื่องนโยบายการต่างประเทศ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อให้เห็นว่าแม้จะเลือกพรรค ทรท.หรือไม่ รัฐบาลก็ให้หมดเท่าเทียมกัน


แน่นอนว่ารัฐบาลต้องปฏิบัติกับประชาชนทั้งประเทศอย่างเท่าเทียมกัน แต่การที่รัฐบาลได้วางนโยบายให้ทุกที่ ทุกคนได้รับอย่างเท่า ๆ กัน
เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการเอสเอ็มแอล โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนนั้น ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วย เพราะนอกจากจะไม่ได้หมายความว่าเท่าเทียมกันแล้ว ยังจะได้ผลไม่เต็มที่ และเสี่ยงต่อข้อครหาที่ว่า “หว่านเงินซื้อเสียงไว้ก่อน” ผมเห็นว่าการวางนโยบายควรจัดลำดับตามความเหมาะสมของประชาชนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ โดยที่ไม่เกี่ยวข้องผลทางการเมือง

ยกตัวอย่าง เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน ที่รัฐบาลได้อ้างว่าให้กับทุกคนเท่ากัน
แต่นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายแบบปูพรม ไร้ยุทธศาสตร์ แม้ว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลจะเปิดโอกาสสำหรับทุกคน แต่ได้เปิดช่องให้คนที่ไม่จนจริงได้รับประโยชน์ ส่วนคนจนจริงไม่ได้รับประโยชน์หรือเข้าไม่ถึง รัฐบาลจำเป็นต้องทราบว่าคนยากจนเป็นใคร อยู่หมู่บ้านไหน มีอะไรเป็นเหตุแห่งความยากจน และใช้นโยบายแตกต่าง ให้พอดีกับคนจนแต่ละประเภท (ตัดเสื้อพอดีตัว)

โครงการกองทุนหมู่บ้าน ๆ ละ
1 ล้านบาท และ 1 อำเภอ 1 ทุน สะท้อนอย่างชัดเจนถึงความเท่ากัน แต่ไม่เท่าเทียมกัน เพราะหมู่บ้านหรืออำเภอที่ยากจนต่างได้รับเงินหรือทุนการศึกษาเท่ากับหมู่บ้านหรืออำเภอที่ไม่ยากจน ส่วนโครงการเอสเอ็มแอลซึ่งเป็นโครงการสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจนในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งการจัดงบประมาณพิจารณาจากจำนวนประชากรในหมู่บ้าน โดยทุกหมู่บ้านจะได้รับเงินขั้นต่ำ 2 แสนบาทอย่างแน่นอน แม้ว่าหมู่บ้านนั้นไม่มีคนยากจนเลย เป็นการสะท้อนแนวคิดความเท่ากัน แต่ไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งยังไม่มีหลักประกันว่าคนยากจนในหมู่บ้านจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้

การให้ทุกคนอย่างเท่า ๆ กัน เป็นคนละเรื่องกับการให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หรือให้อย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคล การให้ทุกคนเท่า ๆ กันอาจจะทำให้เกิดความพึงพอใจ แต่ไม่ได้ผลดีสูงสุด  อาจจะทำคนที่ไม่สมควรได้รับจะได้รับ แต่การให้ทุกคนแต่ดูความเหมาะสม นอกจากจะทำให้เกิดความพึงพอใจแล้ว ยังเป็นการใช้งบประมาณที่คุ้มค่าอย่างที่สุด