เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ร่าง
พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย
พ.ศ.
....เป็นแนวคิดที่ดี
แต่การทำธุรกิจไม่ควรเป็นหน้าที่ของ
กยท.
เพราะไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้
ไม่ใช่ธุรกิจที่ภาครัฐทำได้ดี
ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
เมื่อวันที่
26
ต.ค.2548
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณา
ร่าง
พ.ร.บ.
การยางแห่งประเทศไทย
พ.ศ.
....
ในวาระที่
1
ซึ่งผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดีที่บูรณาการการทำงานของหน่วยงานสำคัญด้านยางพาราของประเทศเข้าด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม
ร่าง
พ.ร.บ.ฉบับนี้
ให้การยางแห่งประเทศไทย
(กยท.)
ทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา
ซึ่งน่าจะเป็นธุรกิจที่มีการโอนมาจากองค์การสวนยางแห่งประเทศไทย
ผมเห็นว่าการทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพาราไม่ควรเป็นหน้าที่ของ
กยท.
เนื่องจาก
หนึ่ง
ไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้
หากพิจารณาหลักการทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจ
รัฐจะเข้าไปดำเนินการในกิจการที่เอกชนไม่สามารถทำได้หรือไม่ควรทำ
อันเนื่องจากเป็นสินค้าสาธารณะและสาธารณูปโภคพื้นฐาน
หรือสินค้าที่มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ
หรือเป็นธุรกิจที่ต้องใช้การลงทุนสูงมาก
หรือเป็นสินค้าที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสูงมาก
หรือตลาดของสินค้าประเภทนั้นมีปัญหาความล้มเหลวของตลาด
แต่ธุรกิจยางพาราไม่ได้มีคุณสมบัติดังที่กล่าวเบื้องต้น
อย่างไรก็ตาม
หากรัฐบาลต้องการให้
กยท.ทำธุรกิจเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางที่ยากจน
โดยไม่หวังผลกำไรมากนัก
ผมคิดว่าไม่ควรเขียนกฎหมายให้
กยท.ทำธุรกิจได้กว้างมากเกินไปเพราะเปิดช่องให้
กยท.แข่งกับเอกชนซึ่งเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมยางพาราโดยรวม
สอง
ไม่ใช่ธุรกิจที่ภาครัฐทำได้ดี
หากพิจารณาผลการประกอบการขององค์การสวนยางพบว่ามีปัญหาขาดทุนอย่างยาวนาน
โดยปี
2543
ขาดทุน
15.10
ล้านบาท ปี
2544 (เม.ย.-ก.ย.)
ขาดทุน
12.31
ล้านบาท
ก่อนที่จะมีกำไรในช่วงปี
2545-2547
โดยมีผลกำไรประมาณ
20-30
ล้านบาทต่อปี
ด้วยเหตุที่หน่วยงานภาครัฐมักมีประสิทธิภาพด้อยกว่าเอกชน
ผมจึงเห็นว่า
กยท.ควรนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้พัฒนาคุณภาพยาง
ส่งเสริม
สนับสนุน
พัฒนาธุรกิจยางพาราของเอกชนมากกว่าที่จะทำธุรกิจแข่งกับเอกชน
สาม
ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้อำนาจ
กยท.ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา
ซึ่งอาจทำให้
กยท.สามารถใช้อำนาจและสิทธิพิเศษที่ได้รับในฐานะที่เป็นหน่วยงานรัฐ
ทำให้ได้เปรียบภาคเอกชน
เช่น
มาตรา
23
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลทั่วไป
มาตรา
39
ระบุให้ไม่ต้องนำส่งเงินและทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง
และมาตรา
56
ระบุให้รายได้ที่
กยท.ได้รับจากการดำเนินงานให้ตกเป็นของ
กยท.
เมื่อเป็นเช่นนี้
หาก กยท.
ได้รับการสนับสนุนจนกลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่
มีอำนาจผูกขาดตลาด
และเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้
ไม่เท่ากับว่า
รัฐบาลนำเงินภาษีของประชาชนมาพัฒนา
กยท.
เพื่อขายให้เอกชนโดยชุบมือเปิบไปหรือ?
การจัดตั้ง
กยท.อาจช่วยแก้ไขปัญหาการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราที่ผ่านมา
ซึ่งขาดการบูรณาการร่วมกัน
แต่การที่ร่าง
พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย
ซึ่งกำหนดขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของ
กยท.ไว้มากเกินไป
ทำให้
กยท.
แทนที่จะเป็นองค์กรของรัฐที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของเอกชน
แต่กลับจะทำให้ภาคเอกชนอ่อนแอลง
เพราะกลายเป็นคู่แข่งที่มีความได้เปรียบอันเกิดจากกติกาที่ไม่เป็นธรรม
|