เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ผมได้อภิปรายในวาระที่
1
การรับหลักการของ ร่าง พ.ร.บ.สถิติ
พ.ศ.
.
เมื่อวันพุธที่ 16
พฤศจิกายน ที่ผ่านมา จากการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐบาลหลาย ๆ ฉบับที่ผ่านมา
ผมได้พบว่า ภายใต้หลักการและเหตุผลอันสวยหรูของร่างกฎหมายแต่ละฉบับ
รัฐบาลมีวาระแอบแฝงมาโดยตลอด จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า รัฐบาลมีแรงจูงใจอย่างไร
ในการเสนอกฎหมายฉบับนี้
ครม.มีมติ
อนุมัติในหลักการของร่าง พ.ร.บ.นี้
ตั้งแต่วันที่ 1
ตุลาคม
2545
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลมีความขัดแย้งกับนักวิชาการอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะกรณีเอแบคโพลล์
ที่ได้แถลงผลโพลล์ ที่สำรวจพบว่า
ภาพพจน์รัฐบาลแย่ลง
หลังจากนั้น
ได้มีทหารและตำรวจเข้าไปขอตรวจค้นดูระเบียบของสำนักงานเอแบคโพลล์
และขอแบบสอบถามไปทั้งหมด จากนั้นได้มีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ใหม่ แล้วแถลงว่า
ภาพลักษณ์ของนายกฯและรัฐมนตรีดีขึ้น รวมถึงได้แจ้งว่า ถ้าเอแบคโพลล์จะทำอะไร
ต้องแจ้งก่อน และเมื่อทำเสร็จแล้ว จะขอดูก่อน
ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับบทบัญญัติใน ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้ที่ระบุไว้ในมาตรา
9
ว่า
ก่อนที่หน่วยงานจะจัดทำสถิติต้องส่งรายละเอียดให้สำนักงานสถิติดูก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่า
5
วัน รวมถึงมาตรา
15
ที่เมื่อหน่วยงานจัดทำสถิติเสร็จแล้วต้องส่งให้สำนักงานสถิติดูภายใน
30
วันหลังจากทำเสร็จ
ความสอดคล้องของช่วงเวลาการเสนอร่างกฎหมาย และแนวทางการควบคุมโพลล์ดังกล่าว
ทำให้ผมเกิดคำถามว่า รัฐบาลต้องการแทรกแซงงานด้านวิชาการหรือไม่ และเมื่อพิจารณาเนื้อหาในร่าง
ฯ ผมพบว่าความสงสัยของผมเป็นจริง ผมจึงอยากให้ชื่อของร่างกฎหมายนี้ว่า
กฎหมายนายทาสทางความคิด
โดยผมจะวิเคราะห์ว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้
เป็นนายทาสทางความคิดอย่างไร
|