Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 |

หมวดเศรษฐกิจ
หมวดการเมืองไทย/ต่างประเทศ
หมวดสังคม

หมวดการศึกษา
กฟผ.ไม่เข้าตลาดหุ้น แล้วค่าไฟจะขึ้นจริงหรือ ?
19 พฤศจิกายน 2548
การสั่งระงับการกระจายหุ้นของ กฟผ.ไว้ชั่วคราวโดยศาลปกครอง กระทรวงพลังงานอ้างว่า “หากระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ ก็ต้องหาแหล่งเงินจากที่อื่นซึ่งมีต้นทุนสูง เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าชะลอไม่ได้เนื่องจากจะส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับ และอาจต้องปรับค่าไฟเพิ่มขึ้นด้วย” (มติชนรายวัน 17 พ.ย. 2548)
 
คำตอบสุดท้ายไม่ใช่ตลาดหลักทรัพย์
18 พฤศจิกายน 2548
หลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับการกระจายหุ้น บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ไว้ชั่วคราว เจ.พี.มอร์แกน ประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาการเงินกฟผ.เนื่องจากมีการสั่งจองซื้อหุ้นจากนักลงทุนต่างประเทศแล้ว 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ กฟผ.เสียหาย และกฟผ.อ้างว่าอาจส่งผลให้ต้องมีการปรับค่าไฟขึ้น เนื่องจาก กฟผ.ต้องระดมทุนจากแหล่งอื่น ที่มีต้นทุนสูงกว่าการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
 
International bidding ข้ออ้างเพื่อชะลอ Megaprojects
17 พฤศจิกายน 2548
รัฐบาลปรับแนวทางให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาประมูล (International bidding) ในโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยไม่มีทีโออาร์ (TOR) แม้เป็นไปเพื่อนำองค์ความรู้ต่างประเทศมาใช้ในไทยเต็มที่ แต่สุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน และเป็นเพียงข้ออ้างชะลอการลงทุนในโครงการอภิมหาช้าง
 
บัญญัติ 10 ประการ ก่อนแม้แต่จะคิดขายหุ้น กฟผ.
7
พฤศจิกายน 2548
แผนการของรัฐบาลในการแปรรูป กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์ กำลังเดินหน้าไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ แม้ว่ายังขาดการเตรียมพร้อมในด้านกฎกติกาและกลไกต่าง ๆ ในกิจการไฟฟ้าของประเทศก็ตาม
...
 
ความเข้าใจผิดเรื่องรถไฟฟ้า (Misunderstanding about the BTS)
2 พฤศจิกายน 2548
ความเข้าใจผิด 3 ประการเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า ความคุ้มค่าของโครงการ รัฐเป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด และการกำหนดค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย อาจทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการได้รับประโยชน์จากโครงการ หรือทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว...
 
วิเคราะห์มาตรการแก้ไขหนี้ภาคประชาชน (Refinancing individual debts)
29 ตุลาคม 2548
มาตรการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนของรัฐบาลอาจสร้างความเสี่ยงในเรื่องศีลธรรม สถาบันการเงินของรัฐรับภาระหนี้เสีย เสนอ 3 มาตราการอุดรอยรั่วคือ มาตรการคัดกรองลูกหนี้ มาตรการสร้างค่านิยม และมาตรการเสริมสร้างศักยภาพ...
 
ผลประโยชน์ขั้นแรกในนครสุวรรณภูมิ
28 ตุลาคม 2548
นายกรัฐมนตรีตอบข้อซักถามของสื่อต่อกรณีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่านักธุรกิจในพรรคไทยรักไทยเข้าไปเก็งกำไรที่ดินบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิว่า “…ชื่อบริษัทที่ต่างหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์นั้นเขามีมาตั้งแต่ก่อนสร้างสนามบินสุวรรณภูมิด้วยซ้ำไป แล้วอย่างนี้จะเรียกเก็งกำไรหรือไม่…เขาตั้งกันมา 10 กว่าปี บางคนซื้อจนเป็นหนี้ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ อย่างนี้เก็งกำไรหรือ..”
 
ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. การยางฯ  
27 ตุลาคม 2548
ร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....เป็นแนวคิดที่ดี แต่การทำธุรกิจไม่ควรเป็นหน้าที่ของ กยท. เพราะไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้ ไม่ใช่ธุรกิจที่ภาครัฐทำได้ดี ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม...
 
แปรรูป กฟผ. สุดเสี่ยง
18
ตุลาคม 2548
เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2548 คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง “แปรรูป กฟผ.อย่างไร ประชาชนได้ประโยชน์?” ผมในฐานะประธานการอภิปรายในการสัมมนา ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเสี่ยง 3 ประการของการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไว้ดังนี้
 
กระตุ้นเศรษฐกิจ ซ้ำเติมเงินเฟ้อ
11
ตุลาคม 2548
ภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 6 ในเดือนกันยายน รัฐบาลต้องระวังการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะอาจจะทำให้ประชาชนยากลำบาก
ผมเคยเตือนรัฐบาลแล้ว ทั้งในการอภิปราย เขียนบทความ และสัมภาษณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ว่าให้ระวังการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวพร้อม ๆ กับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
 
พันธบัตรกองทุนน้ำมันเสี่ยงหรือไม่
10
ตุลาคม 2548
ในวันที่ 29 ..ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานและสถาบันบริหารกองทุนพลังงานได้เปิดให้จองพันธบัตรน้ำมัน เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ที่เกิดจากการตรึงราคาน้ำมัน 92,000 ล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา โดยจำหน่ายพันธบัตรชุดแรก 26,400 ล้านบาท ให้แก่นักลงทุนสถาบันร้อยละ 60 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 40 ในราคาหน่วยละ 1,000 บาท ขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อราย
 
ข้าวแลกเครื่องบินส่วนตัวเพื่อใคร
9
ตุลาคม 2548
บาร์เตอร์เทรดข้าวไทยแลกเครื่องบินบราซิล 900 ล้าน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงและบุคคลสำคัญของรัฐบาลใช้ราชการส่วนตัว คิดดีแล้วหรือ ?
 
ควรรวมตัวเลขการพยากรณ์เศรษฐกิจของภาครัฐหรือไม่
8 ตุลาคม 2548
จากความเห็นของท่านอาจารย์ วีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ได้เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ทำการวิเคราะห์และเผยแพร่ผลการพยากรณ์เศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะทำให้มีตัวเลขเศรษฐกิจตัวเลขเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกันเอง     
 
ความ(ไม่)เสี่ยงของการปรับค่าเอฟที
20 กันยายน 2548
การปรับสูตรคำนวณเอฟที (Ft) ไม่ทำให้ กฟผ. แบกรับความเสี่ยงอย่างแท้จริง เพราะมีกลไกปกป้องผลประโยชน์ของตน แต่ประชาชนต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้น เพราะกลไกคืนกำไรผู้บริโภคได้ถูกทำลายแล้ว...
 
ข้อคิด 7 ประการ: FTA ไทย-ญี่ปุ่น  
14 กันยายน 2548
ในการสัมมนา เรื่อง “คนไทยได้อะไรจาก FTA ไทย-ญี่ปุ่น” เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ผมในฐานะประธานอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อคิดหลายประการแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ...
 
นโยบายราคาน้ำมันที่บิดเบือน  
13 กันยายน 2548
คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ผมเป็นประธาน ได้จัดการประชุมเมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา โดยมีการพิจารณาประเด็น “การกำหนดราคาพลังงานในประเทศไทย” ผมได้เรียนเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ มาชี้แจง รวมทั้งได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุดคนหนึ่งในด้านพลังงาน มาร่วมประชุมด้วย ...
 
โจทย์สุดหิน : ขยับเงินออมครัวเรือน  
6 กันยายน 2548
ล่าสุดกระทรวงการคลังได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1-4.6 จากเดิมร้อยละ 4.6-5.1 ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นการออมภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 ของจีดีพีในแต่ละปี หรือ ประมาณแสนล้านบาทในแต่ละปีเมื่อรวมกับการออมภาคบังคับที่กระทรวงการคลังเร่งให้มีผลบังคับใช้ ...
 
งบกลาง 3 รายการที่ควรถูกตัดงบ  
3 กันยายน 2548
การอภิปรายร่าง พ...งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ในมาตรา 4 งบกลาง เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ผมได้อภิปรายขอตัดงบประมาณลงร้อยละ 29.78 หรือลดลง 76,300 ล้านบาท โดยขอตัดใน 3 รายการ ซึ่งมีรายละเอียดในการขอแปรญัตติในแต่ละรายการ ดังต่อไปนี้...
 
รัฐบาลจัดงบไม่สร้างสรรค์
1 กันยายน 2548
การประชุมสภาผู้แทนฯ เมื่อ 31 ส.ค. 2548 ที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2549 ผมได้อภิปรายงบประมาณฉบับนี้ โดยใช้คำว่าเป็น การจัดทำงบประมาณ ‘ไม่สร้างสรรค์’ คำว่า “ไม่สร้างสรรค์” ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า การทำแบบเดิม ๆ หรือไม่คิดค้นสิ่งใหม่ แต่หมายความว่าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ การจัดทำงบประมาณฉบับนี้ไม่สร้างสรรค์อย่างไร ผมขออธิบายใน 3 ประเด็น ดังนี้...
 

ความสับสนต่อการลงทุนโครงการอภิมหาช้าง
21 สิงหาคม 2548
จากคำกล่าวของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนายทนง พิทยะ รมต.ว่าการกระทรวงการคลังที่ชี้แจงตัวเลขในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ชี้แจงว่า ตัวเลขการลงทุน จะลดลงเหลือ 1.56 ล้านล้านบาท ซึ่งการลดลงของมูลค่าการลงทุน ทำให้ลดแรงกดดันต่อการขาดดุล ในขณะที่ นายทนง พิทยะ กล่าวว่า ตัวเลขการลงทุน ยังคงเท่าเดิม คือ 1.7 ล้านล้านบาท เท่าเดิม...

FTA ไทย-ญี่ปุ่น ระวังกำแพงแหล่งกำเนิดสินค้า
20 สิงหาคม 2548
ที่ผ่านมารัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ข้อตกลงตกลงระดับนโยบายเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า ข้อตกลงที่เสร็จไปแล้วนั้นเป็นข้อตกลงทางภาษี โดยมีสินค้า และของไทยที่ลดภาษีเหลือศูนย์ทันที และมีลดภาษีให้แต่ยังไม่เป็นศูนย์ในทันที และในขณะนี้ทั้ง 2 ประเทศยังอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งเป็นการเจรจาขั้นสุดท้าย...
“ครึ่งปีหลัง รัฐบาลควรเปลี่ยนท่าทีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ”
13 สิงหาคม 2548
เศรษฐกิจครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ชะลอตัว มีปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด เงินเฟ้อสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากท่าทีการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้วย หากรัฐบาลยังคงมีท่าทีแบบเดิมต่อไปในครึ่งปีหลัง ประชาชนอาจได้รับผลกระทบมากขึ้น...
ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FTA ไทย – ญี่ปุ่น
11 สิงหาคม 2548
ข้อตกลงการเจรจายังมีอุปสรรคในภาคปฏิบัติ ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นจะเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวบางรายการ และเปิดเสรีสินค้าเกษตรหลายรายการ แต่การส่งออกในภาคปฏิบัติยังติดปัญหามาก อาทิ ความเข้มงวดเรื่องสุขอนามัยของสินค้าเกษตรและประมง อุปสรรคเกี่ยวกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งยังไม่มีการเจรจาเกี่ยวกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าในสินค้าหลายรายการ
 
เปิดเสรีไทย – ญี่ปุ่น แค่การจองพื้นที่หรือไม่
10
สิงหาคม 2548
วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นสามารถบรรลุข้อตกลงกันในระดับนโยบาย เกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า โดยสินค้าที่ญี่ปุ่นลดภาษี/ให้โควตานำเข้าแก่ไทยเหลือศูนย์ทันที อาทิ กุ้งสด กุ้งต้ม กุ้งแช่เย็น แช่แข็งและกุ้งแปรรูป...
เศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร?
8 สิงหาคม 2548
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน มิถุนายน 2548 ทำให้เห็นภาพของเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ธปท.ยังได้คาดการณ์เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังไว้ด้วย ซึ่งจากการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ผมมีความเห็นบางส่วนที่แตกต่างออกไปจาก ธปท. ...
ครม.ปรับใหญ่ ไม่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
4 สิงหาคม 2548
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2548 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการปรับคณะรัฐมนตรี ชุดทักษิณ 2/2 จำนวน 17 ตำแหน่ง ถือได้ว่าเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่ เพราะเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีเกือบครึ่งหนึ่งของคณะรัฐมนตรีทั้งหมด
...
กฎหมายเศรษฐกิจ : รัฐควรแก้ไขอย่างรอบคอบและครบถ้วน
29 กรกฎาคม 2548
รงงานต่างด้าวปัญหาเรื้อรังที่ต้องแก้ไขทั้งระบบ
26 กรกฎาคม 2548
มาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวของรัฐบาลอาจแก้ไขปัญหาได้ในระยะสั้น แต่ระยะยาวต้องจัดการแรงงานทั้งระบบ โดยสำรวจความต้องการแรงงานต่างด้าว ปรับโครงสร้างการจ้างงาน ย้ายอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้นอยู่ตะเข็บชายแดน ย้ายฐานการผลิตสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
...
ทำอย่างไรไทยจึงได้รับประโยชน์จากการทำ FTA กับนิวซีแลนด์
24 กรกฎาคม 2548
มติ ครม. วันที่ 19 ก.ค. 2548 เห็นชอบกับ มาตรการภาษีเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีรายละเอียด 2 ประการ คือ หนึ่ง มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ โดยกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้าง สามารถนำจำนวนเงินดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่าของจำนวนเงินที่เพิ่มให้แก่ลูกจ้าง
...
มาตรการภาษี : ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
23 กรกฎาคม 2548
TA ไทย-นิวซีแลนด์ต้องไม่มุ่งเพียงการค้าและการลงทุนเพียงประเด็นเดียว เพราะไทยยังเสียเปรียบอยู่มาก ทางออกคือ รัฐบาลควรเร่งปรับโครงสร้างไปสู่การผลิตที่แข่งขันได้ และให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่ม เพื่อไทยจะได้รับประโยชน์จากความรู้ วิทยาการ ในการจัดการกับสิ่งแวดล้อม
...