|
|
|
|
|
|
ขอคิดอย่างสร้างสรรค์ |
|
เปิดเสรีไทย
ญี่ปุ่น
แค่การจองพื้นที่หรือไม่
Thai
Japanese
Free
Tread
Agreement:
Reserved
only for
what we
preferred?
|
|
10 สิงหาคม
2548 |
|
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
วันที่
1
สิงหาคมที่ผ่านมา
รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นสามารถบรรลุข้อตกลงกันในระดับนโยบาย
เกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า โดยสินค้าที่ญี่ปุ่นลดภาษี/ให้โควตานำเข้าแก่ไทยเหลือศูนย์ทันที
อาทิ กุ้งสด กุ้งต้ม กุ้งแช่เย็น แช่แข็งและกุ้งแปรรูป สินค้าที่ญี่ปุ่นยอมลดภาษีให้แต่ยังไม่เป็นศูนย์ในทันที
อาทิ ไก่ปรุงสุก ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และสินค้าที่ญี่ปุ่นให้โควตานำเข้า
อาทิ กล้วย
แป้งมันสำปะหลังแปรรูปใช้ในอุตสาหกรรม กากน้ำตาล รวมสินค้าทั้งหมด 7,000
รายการ
ด้านสินค้าที่ไทยลดภาษี/ให้โควต้านำเข้าแก่ญี่ปุ่น
อาทิ ยานยนต์ชิ้นส่วนในส่วนของ OEM
ที่มีอัตราภาษีเกิน 20%
ลดภาษีเหลือ
20%
ในปี
2550
และลดเหลือ
0%
ในปี
2554,
รถยนต์สำเร็จรูปขนาดมากกว่า 3,000
ซีซีขึ้นไป
จะลดภาษีแบบขั้นบันได และเหล็ก
โดยแบ่งเป็น เหล็กรีดร้อนที่ไม่มีการผลิตในไทย จะยกเลิกภาษีทันที
เหล็กรีดร้อนที่ไทยผลิตได้ไม่พอ จะให้โควต้าปลอดภาษี และเหล็กรีดร้อนอื่น ๆ
และนอกโควตา จะคงภาษีไว้ 10
ปี
และยกเลิกภาษีในปีที่ 11
ผมได้วิเคราะห์ข้อตกลงดังกล่าวว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ใครจะได้ประโยชน์
และใครจะเสียประโยชน์ โดยประเด็นหลักที่ค้นพบ คือ
ข้อตกลงยังห่างไกลจากการเปิดเสรีอย่างสมบูรณ์
เนื่องจากข้อตกลงยังคงมีข้อจำกัดมาก เช่น สินค้าที่เป็นเป้าหมายของทั้งสองประเทศคือ
สินค้าเกษตรและยานยนต์ เปิดเสรีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
แม้ญี่ปุ่นจะเปิดเสรีผัก ผลไม้ และกุ้ง แต่สินค้าเกษตรหลัก ๆ ที่ไทยส่งออก
แต่ยังไม่มีการเปิดเสรีให้กับไทย เช่น ข้าว และน้ำตาล ในขณะที่
ไทยเปิดเสรียานยนต์และเหล็กให้ญี่ปุ่นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
ดังนั้นผลจากการเจรจาที่ยังไม่มีการเปิดเสรีอย่างเต็มที่ น่าจะทำให้ไทยไม่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบมากนัก
ผมได้วิเคราะห์ข้อตกลง
FTA
ไทย-ญี่ปุ่นด้วยแบบจำลองวิเคราะห์การค้าโลก
(GTAP)
ในกรณีที่มีการลดภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนลงปีละ
4% (ลด
20%
ใน
5
ปี)
และลดภาษีนำเข้าผัก
ผลไม้
และสิ่งทอเหลือ 0%
พบว่า
ประการที่หนึ่ง จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ไทยจะลดลง
0.03%,
ดุลการค้าของไทย
จะขาดดุลมากขึ้น
9.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการลงทุนจะเพิ่มขึ้น
0.05%
ประการที่สอง โครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง
ๆ จะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์
(ผลผลิตมากขึ้น)
ได้แก่
ผัก ผลไม้ และถั่ว เพิ่มขึ้น 0.15% ด้านสิ่งทอ เพิ่มขึ้น 0.17% เครื่องนุ่งห่ม
เพิ่มขึ้น 0.04% และอุตสาหกรรมที่จะเสียประโยชน์
(ผลผลิตลดลง)
ได้แก่
ยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศไทยจะมีผลผลิตลดลง
0.98% ในแต่ละปี
ท่าทีของญี่ปุ่น ในการตกลง
FTA
ครั้งนี้
ญี่ปุ่นไม่ต้องการเปิดเสรีภาคเกษตร
เพราะเป็นสินค้าอ่อนไหว
โดยเฉพาะข้าว และน้ำตาล เกษตรกรญี่ปุ่นมีอำนาจต่อรองมาก
โอกาสในการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ จึงเป็นไปได้ยากมาก
ญี่ปุ่นเพียงต้องการจองพื้นที่
และดูท่าทีการเจรจา
FTA
ของไทยกับมหาอำนาจอื่น ๆ
เช่น สหรัฐ จีน เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการเจรจาต่อรองกับไทยด้วย
เพราะญี่ปุ่นต้องการแข่งขันกับประเทศมหาอำนาจอื่น และไม่ต้องการเสียเปรียบประเทศมหาอำนาจอื่น
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|