Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา
 
  ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

หน้า 1 | 2 |  3 | 4 | 5 |

หมวดเศรษฐกิจ
หมวดการเมืองไทย/ต่างประเทศ
หมวดสังคม

หมวดการศึกษา

6 แนวทางลดความเสี่ยงโครงการเมกกะโปรเจกต์ภาครัฐ
20 กรกฎาคม 2548
มาตรการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลยังมีช่องว่าง จากกระบวนการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นค่าจ้างที่ยังไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าแรงไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และกระทบภาพรวมของเศรษฐกิจ

 

หากรัฐบาลยังลวง จะเรียกความมั่นใจประชาชนได้อย่ายไร
15 กรกฎาคม 2548
รัฐจะตรึงราคาสินค้าไม่อยู่ เพราะมาตรการรัฐกระทบต้นทุน เสนอให้แฉสินค้าที่ฉวยโอกาสขึ้นราคา สร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และลดภาษีผู้ผลิตสินค้าจำเป็น ผลกระทบจากมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้นของรัฐบาล จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลจึงควรจัดการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย...

สัมมนาเรื่อง “ความเสี่ยงโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ
14 กรกฎาคม 2548
เมื่อวันพุธที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้รับการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนเรื่องข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาลที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้มากนัก หากรัฐบาลชุดนี้ยังเป็น ‘รัฐบาลลวง’...
วินาศกรรมลอนดอนกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่รัฐบาลต้องเร่งทบทวน
8 กรกฎาคม 2548
นาศกรรมกลางกรุงลอนดอน ไม่น่าห่วงเรื่องความปลอดภัย แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจกลับน่าเป็นห่วงมากกว่า แม้เหตุการณ์วินาศกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ได้สร้างความตกตะลึงแก่โลกมิใช่น้อย แต่สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบในด้านความปลอดภัย เนื่องจากได้มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยที่เข้มงวด และมีการเฝ้าระวังอยู่เป็นระยะ...
FTA กับความมั่นคงทางอาหาร
6 กรกฎาคม 2548
ผมได้กล่าวไว้ในวันอภิปรายแล้วว่า โครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลซึ่งใช้งบประมาณสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาทนั้น มีโอกาสก่อปัญหาวิกฤตตามมา เช่น ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ปัญหาหนี้สาธารณะ และได้เสนอให้รัฐบาลเตรียมการล่วงหน้าให้พร้อม เช่น เตรียมการว่าจะหาเงินมาเพิ่มเพื่อทำให้โครงการสำเร็จได้อย่างไร ประเมินต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการ ตลอดจนทำเอกสารสัญญาต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการดำเนินโครงการอยู่ในกรอบที่ควบคุมได้...
ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีกหรือไม่ ?
3 กรกฎาคม 2548
จากการที่ผมได้เสนอความคิดเห็นของผมส่งไปทางอีเมล์ให้กับมิตรสหาย มีหลายท่านได้ให้ความสนใจ และแสดงความคิดเห็นและได้ถามคำถามกลับมา ผมจึงอยากถือโอกาสตอบคำถามที่มิตรสหายของผมท่านหนึ่งได้ถามมาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว?...
ข้อพึงระวังจากการทำ Barter trade
27 มิถุนายน 2548
barter trade เสี่ยงเปิดช่องคอร์รัปชันข้ามชาติ ไม่ช่วยแก้ขาดดุลฯ และทำให้การค้าระหว่างประเทศขาดประสิทธิภาพ ภายหลังการประชุม ครม. กลุ่มย่อยเพื่อวางยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2548 ที่ห้องประชุมกองทัพเรือ ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะให้มีการปรับโครงสร้างการผลิต การเพิ่มค่าการตลาด...
ธ.ก.ส. ไม่ควรให้รัฐมนตรีกำหนดปริมาณเงินสำรอง
26 มิถุนายน 2548

การแยกฝ่ายกำกับและดูแลระบบสถาบันการเงินออกจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาไว้ที่กระทรวงการคลังนั้น เป็นประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ และยังคงไม่ได้ข้อสรุป แต่อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านในเรื่องดังกล่าว ซึ่งผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว...
 
ข้อคิดจากหนังสือ “ตีแผ่โครงการเมกะโปรเจคท์”
22
มิถุนายน 2548
มีเพื่อนสมาชิกส่ง Email มาถามกันเป็นจำนวนมากว่าหนังสือ “ตีแผ่โครงการเมกะโปรเจคท์” ที่ผมใช้ประกอบการอภิปรายในสภาเมื่อหลายเดือนก่อนนั้น มีชื่อเต็มว่าอะไร ใครเป็นผู้เขียน และจะหาซื้อได้จากไหนนั้น เพื่อคลายข้อข้องใจ ผมจึงขออนุญาติตอบคำถามดังกล่าวใน Email ฉบับนี้ในคราวเดียวเลยนะครับ...
โครงการยาง 1 ล้านไร่ โครงการเจ้าปัญหาอีกโครงการ
20
มิถุนายน 2548
“ห่วงเกษตรกรรับการโฆษณานโยบายยาง 1 ล้านไร่ ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า สูญเสียพื้นที่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ปัญหาราคายางตกต่ำ การกระจายของพันธุ์ยางที่ไร้คุณภาพ เกษตรกรไม่หายจน ขอรัฐกำหนดพื้นที่ปลูก ให้ความรู้เกษตรกร แก้ปัญหาผู้ลักลอบปลูกยางไร้คุณภาพ”
...
ข้อสังเกตต่อแผนการลงทุนเมกะโปรเจกต์
18
มิถุนายน 2548
แผนลงทุนเมกะโปรเจกต์ มีความน่าสงสัยว่า รัฐบาลให้ข้อมูลขาดดุลฯไม่ครบถ้วน เร่งลงทุนปีสุดท้ายหวังคะแนนเสียง และมาตรการลดขาดดุลฯเป็นไปไม่ได้จริง จากมติ ครม. วันที่ 14 มิ.ย. 2548 ที่ได้รับทราบแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega-project) ของกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการต่อเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งผมมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับแผนดังกล่าว
...
ดับฝันรัฐบาล หมดหวังเศรษฐกิจโตถึงเป้า
12 มิถุนายน 2548
จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมีทิศทางชะลอตัวลงอย่างชัดเจน แต่รัฐบาลยังไม่ยอมรับความจริงว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย สังเกตได้จากภายหลังจากการแถลงข่าวของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รัฐบาลกลับแสดงท่าทียืนยันเป้าหมายเดิมออกมา...
เศรษฐกิจชะลอตัว
9 มิถุนายน 2548
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ทราบข่าวที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แถลงว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 1 ในปี 2548 มีอัตราขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปี ดังนั้น สคช. จึงได้ปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2548 เหลือร้อยละ 4.5-5.5 จากเดิมร้อยละ 5.5-6.5...
รัฐบาลไม่มีแผนแก้หนี้กองทุนน้ำมัน
8 มิถุนายน 2548
ผมผิดหวังจากคำตอบที่ได้รับในสภาฯ จากการที่ผมได้ตั้งกระทู้ถามไปหลายเรื่องเกี่ยวกับมาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. และในวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมก็ต้องผิดหวังอีก เพราะ นายกฯ ยังคงไม่ได้ตอบคำถามของผมที่ได้ถามไป ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้มีแผนการลอยตัวราคาน้ำมันอย่างจริงจัง
...
ขอนายกฯ ตอบคำถามมาตรการลอยตัวน้ำมันดีเซล
6 มิถุนายน 2548
จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 มิ.ย. ที่ผมได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี เรื่อง 'มาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและผลกระทบต่อประชาชน' ซึ่งนายกฯได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาตอบกระทู้แทน อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า รมว.พลังงานยังตอบไม่ตรงคำถาม
...
ขอนายกฯ ตอบคำถามมาตรการลอยตัวน้ำมันดีเซล
5 มิถุนายน 2548
จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 มิ.ย. ที่ผมได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี เรื่อง 'มาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและผลกระทบต่อประชาชน' ซึ่งนายกฯได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาตอบกระทู้แทน อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า รมว.พลังงานยังตอบไม่ตรงคำถาม ผมจึงได้ตั้งกระทู้ถามนอกสภาต่อนายกรัฐมนตรีผ่านไปทางสื่อ เกี่ยวกับมาตรการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และได้ขอให้นายกฯตอบในรายการ ‘นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน’
...
 

ยอดการใช้จ่ายของบัตรเครดิตขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
22 พฤษภาคม 2548
ในช่วงปี 2546 เคยเกิดเหตุการณ์ยอดการใช้จ่ายของบัตรเครดิตขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนของรัฐบาล ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวล จนในที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมาคุมเข้มบัตรเครดิตมากขึ้น กระแสในเรื่องดังกล่าวจึงเงียบไป

 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานตัวเลข
15 พฤษภาคม 2548
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รายงานตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL ในไตรมาสแรกพบว่า NPL ของระบบสถาบันการเงิน มีจำนวนทั้งสิ้น 596,193.20 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 พันล้านบาท จากช่วงสิ้นปี 2547 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ และเหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่ควรตั้งคำถาม คือ การแก้ไขปัญหา NPL ของรัฐบาลทักษิณ 1 ที่ผ่านมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ ?...
 
ผลการดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
12 พฤษภาคม 2548
จากการที่ผมได้เคยกล่าวถึงในเรื่องการรับทราบผลการดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยหรือ บสท. ไตรมาส 4 / 2546 ซึ่งเป็นวาระหนึ่งในการประชุมสภาฯ ที่ต้องเลื่อนออกไป เนื่องจาก การประชุมในวันนั้นได้เกินเวลาไปมาก อย่างไรก็ตามการเลื่อนวาระนี้ออกไปทำให้ผมได้มีเวลาในการหาข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น ในการที่จะแสดงความคิดเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์ ในวันพฤหัสที่ 11 พฤษภาคมนี้ ซึ่งจะมีการประชุมในวาระนี้อีกครั้งหนึ่ง...
 
"ไทยแลนด์ อีลิท การ์ด"
11 พฤษภาคม 2548

การรื้อยุทธศาสตร์โครงการบัตร "ไทยแลนด์ อีลิท การ์ด" มาดำเนินการอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจระดับบน (hi-end) ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังการใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยรัฐบาลคาดหวังว่า จะนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และมั่นใจว่าจะเป็นโครงการที่ทำรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น...
 
ตัดนายกฯออกจากการรักษาการตามพ.ร.บ.
5 พฤษภาคม 2548
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป เมื่อวันพุธที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยผมได้ขอแปรญัตติในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวใน 2 มาตราคือ มาตรา 4 ที่ขอตัดงบฯ 3 รายการออกทั้งหมด และมาตรา 6 ขอตัดนายกฯออกจากการรักษาการตามพ.ร.บ.นี้...
 

ขาดดุลการค้าจากน้ำมัน
27 เมษายน 2548
ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมานั้นดุลการค้าของประเทศ ขาดดุลต่อเนื่องทั้ง 3 เดือน ซึ่งสาเหตุหลักของการขาดดุลการค้า คือ การนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก..

 
พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
21 เมษายน 2548
เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้อภิปรายเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พ.ศ.2548 โดยชี้ให้เห็นว่า งบประมาณนี้ได้ซ่อนเร้น ความไม่ชอบมาพากลหลายประการ อาทิ การหางบอย่างมีพิรุธ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจงใจหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบ โดยรัฐบาลคาดการณ์รายรับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถนำรายรับในส่วนที่เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้มาใช้เป็นงบเพิ่มเติมกลางปีได้ตามต้องการ...
 
อภิมหาโครงการช้าง
7 เมษายน 2548
เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐบาลมีความตั้งใจจะสร้างอภิมหาโครงการช้าง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า 7 เส้นทาง ความยาว 291 กิโลเมตร ล่าสุดรัฐบาลยังมีแนวคิดในการจัดตั้งซูเปอร์คอมเพล็กซ์ ซึ่งมีทั้งศูนย์การแสดงสินค้า ศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ โรงแรมหรูหรา ห้างสรรพสินค้า และที่อยู่อาศัยในบริเวณที่รถไฟฟ้าแล่นผ่าน...
 
  ส.ส.ปชป.เตือนประชาชนให้จับตาโครงการเมกะโปรเจกต์ หลังรัฐบาลปฏิเสธเสียงเตือน
6 เมษายน 2548
ผมได้กล่าวไว้ในวันอภิปรายแล้วว่า โครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลซึ่งใช้งบประมาณสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาทนั้น มีโอกาสก่อปัญหาวิกฤตตามมา เช่น ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ปัญหาหนี้สาธารณะ และได้เสนอให้รัฐบาลเตรียมการล่วงหน้าให้พร้อม...
 
 ปรับโครงสร้างภาคเกษตรใหม่
30 มีนาคม 2548
เมื่อไม่นานนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้เสนอแผนการปรับโครงสร้างภาคเกษตรใหม่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถรับมือกับการเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ได้ โดยแบ่งสินค้าเกษตรออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อพัฒนาตามศักยภาพ สร้างผลผลิตเพิ่ม สร้างความเข้มแข็ง และเชื่อมโยงกับตลาดโลก นอกจากนี้ยังตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรรองรับข้อตกลงเอฟทีเอ 100 ล้านบาท ...
 
  กรณีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ชี้แจงเรื่องเมกะโปรเจกท์
28 มีนาคม 2548

กรณีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ชี้แจงเรื่องเมกะโปรเจกท์หลังจากที่ผมได้อภิปราย ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่รัฐมนตรีสุริยะชี้แจงไม่ชัดเจน คลุมเครือ เหมือนกับยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในการดำเนินการเรื่องนี้จริง ๆ...
 
  การอภิปรายโครงการขนาดใหญ่
25 มีนาคม 2548
ในการอภิปรายโครงการขนาดใหญ่ หรือ Mega-Project ของรัฐบาล ที่มีแนวคิดว่าจะสร้างรถไฟฟ้ายาว 291 กิโลเมตร สร้างถนน เชื่อมถนน พัฒนาลุ่มน้ำ และโครงการอื่น ๆ โดยใช้เงินประมาณ 1.5 ล้านล้านบาทใน 4 ปีว่า ความใหญ่และความเร่งรีบในการก่อสร้างของโครงการนี้ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงควรดำเนินการอย่างรอบคอบ...
 

  การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา โดยการปรับโครงสร้างภาษี
14
มีนาคม 2548
ก่อนที่รัฐบาลใหม่จะเริ่มทำงานได้มีการประกาศนโยบายออกมามากมาย ซึ่งนโยบายที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา โดยการปรับโครงสร้างภาษี และจูงใจคนให้ปฏิบัติตาม โดยกำหนดให้สามารถนำค่าใช้จ่ายไปหักลดหย่อนภาษีได้ ผมเห็นว่าวิธีดังกล่าวเป็นวิธีการที่ดี แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากเสนอความเห็น คือ รัฐบาลควรมีการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ตามหลักวิชาการก่อน...