เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
มาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจไม่สมจริง
เหตุราคาน้ำมันแพง
ต้นทุนสูง
นายจ้างจึงไม่ต้องการเพิ่มเบี้ยยังชีพ
และค่าใช้จ่ายฝึกอบรมขึ้นอีก
มติ ครม.
วันที่
19
ก.ค.
2548
เห็นชอบกับ
มาตรการภาษีเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยมีรายละเอียด
2
ประการ
คือ
หนึ่ง
มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ
โดยกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้าง
สามารถนำจำนวนเงินดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้
1.5
เท่าของจำนวนเงินที่เพิ่มให้แก่ลูกจ้าง
และสอง
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและฝึกอาชีพแก่ลูกจ้าง
จะสามารถนำมาหักรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นจากเดิม
1.5
เท่า
เป็น
2
เท่าของรายจ่ายเพื่อการฝึกอบรม
หากพิจารณาในเชิงแนวคิด
ผมเห็นว่ามาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนเพิ่มเบี้ยยังชีพต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
เพราะการแก้ปัญหาค่าครองชีพในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว
แต่เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น
โดยการเพิ่มรายได้ให้ข้าราชการ
พนักงาน
และแรงงาน
อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
หากดำเนินการโดยขาดความสมดุล
ดังนั้นมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลควรเน้นด้วยเช่นกันคือ
การส่งเสริมการออมและการใช้จ่ายอย่างประหยัด
โดยงดบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย
แต่ผมเห็นด้วยในเชิงแนวคิดกับ
มาตรการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
เพราะการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพในการผลิต
นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต
ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
โดยไม่กดดันต่อเงินเฟ้อ
จึงเป็นมาตรการที่เหมาะสมกว่ามาตรการแรก
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า
มาตรการทั้งสองประการข้างต้นอาจไม่เกิดผลในทางปฏิบัติมากนัก
แม้รัฐบาลจะลดหย่อนภาษีให้มากขึ้นก็ตาม เพราะผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงอยู่แล้วจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ผู้ประกอบการจึงไม่ยินดีจะเพิ่มต้นทุนการจ้างงานขึ้นอีก
และต้นทุนที่ผู้ประกอบการไทยมักจะตัดออกเป็นอันดับแรกคือค่าใช้จ่ายฝึกอบรม
ฉะนั้นการประกาศมาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ
และเพิ่มค่าใช้จ่ายฝึกอบรม
จึงอาจเป็นเพียงการหลอกให้พนักงานและแรงงานหลงดีใจเท่านั้น
|