เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ปรับโครงสร้างกระทรวง
ยังไม่พอ |
จากการที่รัฐบาลเตรียมปรับโครงสร้างกระทรวงครั้งใหญ่
ในการปฏิรูประบบราชการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบรวมกระทรวงด้านเศรษฐกิจต่าง
ๆ เข้าไว้ด้วยกัน
อาทิ
กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม
กระทรวงเกษตรและอาหาร
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งควบรวมหน่วยงานบางส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมด้วย
เช่น ทรัพยากรน้ำ
ดิน ฯลฯ
รวมทั้งมีการตั้งศูนย์ย่อย
เพื่อดูแลสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายกลุ่มต่าง
ๆ
เพื่อสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
อาทิ ข้าว ยาง
ผักผลไม้ กุ้ง
ไก่ อ้อย
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนตร์
สิ่งทอ จิวเวลรี่
อิเล็กทรอนิกส์และไอซีที
ฯลฯ
ผมเห็นด้วยหากปรับโครงสร้างแล้วจะทำให้การดำเนินนโยบายของส่วนราชการต่าง
ๆ
เป็นไปอย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้นั่นคือ
การเพิ่มผลิตภาพของผลิตภัณฑ์สินค้าไทยให้แข่งขันได้ในตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม
ผมไม่คิดว่า
การปรับโครงสร้างกระทรวงใหม่
จะเป็นกุญแจที่ทำให้ปัญหาทุกอย่างของการบริหารแผ่นดินได้รับการคลี่คลาย
ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่สร้าง
วิธีการทำงานแบบใหม่
ที่ต่างไปจากเดิม
ไม่ว่าจะเป็น
การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการตัดสินใจต่าง
ๆ ร่วมกับภาครัฐ
ดังเช่น
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบราชการ
โครงสร้างกระทรวงต่าง
ๆ
ในครั้งนี้รัฐได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นด้วยหรือไม่
การดำเนินงานอย่างรอบคอบรัดกุม
รัฐบาลได้ศึกษาวิจัยถึงผลดีผลเสียมาก่อนที่จะประกาศใช้นโยบายหรือกฏหมายใด
ๆ
ในประเทศหรือไม่
หรือจะเป็นเช่นเดียวกับ
การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ
(FTA)
การกำหนดยุทธศาสตร์การแข่งขันของชาติ
(Global niche) 5
ด้าน ฯลฯ
ซึ่งขาดการศึกษาผลกระทบทุกด้านอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจดำเนินการ
ทั้ง ๆ
ที่เรื่องเหล่านี้ควรพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกด้าน
เพราะเป็นตัวชี้อนาคตของชาติในระยะยาว
ผมคิดว่าการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุดหน้าได้นั้น
เพียงปรับโครงสร้างกระทรวง
แม้จะดีขึ้น
แต่ยังไม่พอ
รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับ
วิธีการ
ร่วมด้วย
เพราะหากเปลือกนอกดูดี
มีกระทรวงเกิดใหม่ต่าง
ๆ
มากมายให้เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจ
แต่ระบบวิธีการทำงานภายในยังคงเป็นเหมือนเดิมแล้ว
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างในครั้งนี้ย่อมเป็นเพียงการย้ายที่ทำงานใหม่เท่านั้น
|