ระบบ E-auction
เปิดช่องการโกงเหมือนเดิม บริษัทกลางที่เข้ามาทำระบบ E-auction
ไม่น่าเชื่อถือ
และการทุจริตตรวจสอบได้ยากขึ้นจากความซับซ้อนของระบบ
นายกฯพูดผ่านรายการ
นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน"
เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.
2548 ว่า ครม.
ได้มีมติเห็นชอบแผนการลงทุนในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ ตั้งแต่ปี 2548-2552
มูลค่ารวม 1.7 ล้านล้านบาท เมื่อวันที่
14 มิ.ย. 2548
ประเด็นที่สำคัญ คือ
รัฐบาลจะนำระบบการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-auction
มาใช้ในการประมูลโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งนายกฯให้ความมั่นใจว่า
จะปราบการโกงประมูลในระบบราชการได้
ผมเกรงว่าระบบดังกล่าวจะกลายเป็นระบบที่เข้าไปขโมยเงินของประชาชน
โดยที่ประชาชนไม่รู้
รัฐบาลพยายามเอาเทคโนโลยีมาหลอกลวงประชาชนว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ
ป้องกันการโกงได้ แต่ปัญหาการโกงได้เกิดตั้งแต่ขั้นตอนก่อนใช้เทคโนโลยีเสียอีก
ไม่ช่วยแก้การฮั้วประมูล-ล็อคสเปก
เมื่อหน่วยงานรัฐจะประกวดราคาด้วยวิธี
E-auction
จะมีการประกาศให้ผู้สนใจส่งเอกสารประกวดราคามาให้หน่วยงานดังกล่าว
หน่วยงานรัฐจะเป็นผู้คัดเลือกผู้ที่เหมาะสม
และประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือก
กระบวนการฮั้วประมูลสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงนี้
ก่อนที่จะเข้าสู่การประกวดราคาในระบบ
E-auction
โดยแต่ละบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกอาจจะมีการตกลงถึงผลประโยชน์ร่วมกันก่อน
และระบบนี้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการล็อคสเปก
หรือการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจพิจารณาคัดเลือกบริษัทเพื่อเข้าประมูลในระบบ
e-auction ได้
ความน่าเชื่อถือของบริษัทกลาง?
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัย คือ ความน่าเชื่อถือของบริษัทกลางที่ทำหน้าที่จัดการประมูลแบบ
e-auction
ทั้งนี้หลังจากการคัดเลือกบริษัทที่ยื่นขอประกวดราคา รายชื่อบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การประมูล
จะถูกส่งไปยังบริษัทกลางที่มีอยู่ประมาณ
7
บริษัท
ซึ่งได้รับการไว้วางใจจากรัฐให้เป็นผู้จัดการประกวดราคาแบบ
e-auction
ทางอินเทอร์เน็ต
และหน่วยงานของรัฐจะเข้ามาดูราคาที่ยื่นประกวดที่บริษัทกลาง
อย่างไรก็ตาม
บริษัทกลางดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือได้เพียงใด
รัฐบาลได้เลือกมาด้วยวิธีใดรไม่อาจทราบได้
เพิ่มช่องทางรั่วไหล
ตรวจสอบยาก
ยิ่งไปกว่านั้น อาจเป็นการเพิ่มช่องทางการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic
rent)
โดยเข้าไปตรวจสอบได้ยาก
เพราะรัฐบาลให้อำนาจแก่บริษัทกลางในการจัดการประมูล
ซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทกลางฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทที่ยื่นประกวดราคา
โดยที่
สตง.ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้
เพราะเจ้าหน้าที่ของบริษัทกลางไม่ใช่ข้าราชการ
รวมทั้งความซับซ้อนของเทคโนโลยี
ทำให้ตรวจสอบการทุจริตได้ยาก
นอกจากนี้
ผู้ที่ชนะการประกวดยังมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
เพราะต้องเสียค่าการประกวดราคาให้กับบริษัทกลาง
ตามที่หน่วยงานรัฐได้ตกลงกับบริษัทกลางไว้
และแจ้งให้ผู้ที่เสนอราคาได้รู้ในเอกสารประกวดราคา
ความซับซ้อนของการประกวดราคาอาจไม่ได้ช่วยให้การโกงลดลง
ซ้ำยังเป็นการเพิ่มช่องให้มีการโกงงบประมาณ
น่าเป็นห่วงว่าการที่รัฐจะดำเนินโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีเงินลงทุนเป็นล้านล้านบาทนั้น
จะกลายเป็นโครงการที่ถูกผลาญงบประมาณไปกับการโกงอีกโครงการ