ขอคิดอย่างสร้างสรรค์
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ว่าด้วยช่องว่างของร่างแก้ไข ม.297
การแปรญัตติ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 297
ในประเด็นคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (
ปปช.
) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญทั่วไปครั้งที่ 17 เมื่อวันพุธที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่ายัง
มีช่องว่างทางกฎหมายในหลายเรื่อง
โดยเฉพาะใน
มาตรา 3 วรรค 2
ของร่างฉบับ
แก้ไขโดยคณะรัฐมนตรี
ได้เพิ่มเติมข้อความ วรรค 2 (หรือรัฐธรรมนูญมาตรา 297 วรรค 4) ว่า
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตผู้แห่งชาติผู้ใดตามวรรคสามหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ แล้วให้ดำเนินการสรรหาต่อไปได้
และแม้ว่ากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแปรญัตติร่างนี้จะได้แก้ไขเป็น
ในกรณีที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแต่มีกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่ครบองค์ประกอบตามวรรคสามหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
ข้อความที่สะท้อนให้เห็น
ช่องว่างทางกฎหมาย
ยังคงเด่นชัดอยู่!
หากพิจารณาวรรคนี้ จะพบว่า
มีข้อความที่คลุมเครือ
อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต
เพราะ
ถูกตีความในทางมิชอบ และใช้ในทางที่ผิด
ได้ เช่น ข้อความที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหา หรือ
มีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
คำว่า
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
เป็นการ
ใช้ภาษาคลุมเครือ ไม่มีเหตุผลรองรับที่เหมาะสม
เพราะจะวัดอย่างไรว่า ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีไปต่างประเทศ ป่วย จะถูกตีความว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยหรือไม่ การบัญญัติเช่นนี้นับเป็นช่องว่างทางกฎหมาย อาจถูกใช้เป็นข้ออ้าง หรือช่องว่างในการใช้ประโยชน์ในการสรรหาได้ ที่สำคัญคณะกรรมการสรรหาฯ บางคนอาจถูกบีบให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในเวลาดังกล่าว
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต
กรรมาธิการวิสามัญ
ที่พิจารณาร่างฯนี้
ควรพิจารณาในประเด็นนี้อย่างรอบคอบอีกครั้ง
และเสนอว่าข้อความนี้
ควรตัดทิ้งไป
จะเหมาะสมและป้องกันปัญหาที่จะเกิดในระยะยาวได้มากกว่า
บทสรุปที่ได้จากการแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญมาตรานี้ จะกลายเป็นต้นแบบหรือบรรทัดฐาน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสรรหากรรมการองค์กรอิสระอีกหลาย ๆ องค์กรที่จะตามมา ดังนั้น เพื่อให้องค์กรอิสระสามารถทำหน้าที่ที่ก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในระยะยาว จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทุกฝ่ายควรเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนทุกคนในชาติร่วมกัน