เมื่อวันที่ 6
มิถุนายนที่ผ่านมา
หลายท่านคงได้ทราบข่าวที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.)
ได้แถลงว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่
1 ในปี 2548
มีอัตราขยายตัวเพียงร้อยละ
3.3
ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ
3 ปี ดังนั้น สคช.
จึงได้ปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจในปี
2548 เหลือร้อยละ
4.5-5.5
จากเดิมร้อยละ
5.5-6.5
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ
3.6
ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้เดิมร้อยละ
3.2
และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ
0.1
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ซึ่งต่ำกว่าการเกินดุลฯร้อยละ
1
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่คาดไว้เดิม
แต่จากการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามกรอบการบริหารราชการแผ่นดิน
4 ปี (25482551)
เมื่อวันที่ 12
พฤษภาคม 2548
ที่ทำเนียบรัฐบาล
รัฐบาลได้ยืนยันเป้าหมายเศรษฐกิจปี
2548
ต่อนักธุรกิจที่เข้าร่วมประชุมว่า
เศรษฐกิจจะต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ
5
ทั้งนี้การคาดการณ์ของ
สศช.
ที่ระบุว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี
2548
จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ
4.5-5.5
ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่นายกฯ
ได้ประกาศไว้
รวมถึงการที่เลขาธิการ
สคช.ได้กล่าวว่า
การที่ GDP
หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะขยายตัวที่ร้อยละ
5
ถือเป็นเรื่องยาก
ทำให้มีความน่าเป็นห่วงว่า
รัฐบาลจะสามารถดำเนินการตามที่ประกาศไว้ได้หรือไม่
หากพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า
มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นความเสี่ยง
ซึ่งอาจส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถทำตามเป้าหมายไม่ว่าจะเป็น
ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
รวมถึงโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐหรือ
เมกกะโปรเจ็คที่รัฐบาลคาดว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้
เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนที่สูงถึง
1.7 ล้านล้านบาท
แต่เศรษฐกรจาก
สศค.กลับระบุว่า
โครงการเมกะโปรเจกต์จะส่งผลต่อ
GDP เพียงร้อยละ
0.2 เท่านั้น
ดังนั้นหากรัฐบาลยังคงยืนยันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ดังที่ประกาศไว้นั้น
รัฐบาลควรที่จะมีแนวทางในการดำเนินการ
เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจโตไม่ต่ำกว่าเป้าหมาย
อย่างรอบคอบ
โดยไม่มองเพียงผลลัพธ์ของตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สวยงาม
แต่ควรคำนึงถึงการนำปัจจัยเสี่ยงต่าง
ๆ
มาร่วมคิดในการกำหนดแนวทางและนโยบายต่าง
ๆ อย่างสมจริง
เพื่อไม่ให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับผลโดยตรงจากนโยบายของรัฐบาลต้องเดือนร้อนในระยะยาว |