การเลือกตั้ง

เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย (Corruption Situation Index : CSI) เดือน ธ.ค. 2557 หากการสำรวจทำได้ดีและเป็นจริงก็แสดงว่า สิ่งที่พบนำกำลังใจแก่เราได้บ้าง เพราะโพลพบว่า สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นปรับตัวดีขึ้นดีที่สุดในรอบ 5 ปี เอกชนจ่ายเงินเพิ่มให้ข้าราชการเพื่อรับงานจากภาครัฐมีจริงแต่ลดลงบ้าง
นี่เป็นครั้งแรกที่ประชาชนและภาคธุรกิจเห็นว่าสถานการณ์มีโอกาสน่าจะคลี่คลายและปรับตัวดีขึ้นได้ในอนาคต
 
การสำรวจครั้งนี้แม้ว่าจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่หากจะคาดหวังอนาคตการทุจริตคอร์รัปชั่นจะดีขึ้น...ต้องดูหลังเลือกตั้งด้วย เมื่อรัฐบาลชุดนี้คืนอำนาจให้ประชาชนแล้ว...หลังจากนั้นจะเป็นภาพความจริงว่าจะลดลงจริงหรือไม่ หรือจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม!!
 
คอร์รัปชั่นจะลดลงอย่างต่อเนื่องแท้จริง หากนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศ ไม่หวังเข้ามาโกงกินเหมือนที่ผ่านๆ มา!!

แนวคิดการให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชน ไม่ใช่พรรคของนายทุนเป็นแนวคิดที่ผมพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นมาโดยตลอด ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ.2548 ผมได้สื่อสารแนวคิดนี้แก่ผู้มาฟังคำปราศรัย ได้กล่าวเชิญชวนให้ร่วมกันบริจาค และสมัยที่ผมเป็น ส.ส. ในปีนั้น ผมร่างกฎหมายฉบับหนึ่งในเรื่อง ให้ประชาชนแต่ละคนมอบเงิน 100บาทให้แก่พรรคการเมืองที่ตนนิยมได้ ผ่านใบ ภงด.แต่ผลักดันไม่สำเร็จในเวลานั้น ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการตอบสนอง โดยการประกาศใช้ในปีนี้เป็นครั้งแรก ตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550



ที่มของภาพ http://rizkisaputro.files.wordpress.com/2008/02/raila-odinga.jpg
สิงคโปร์นับเป็นตัวอย่างหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่อาจนับได้ว่า มีนักการเมืองส่วนใหญ่มีคุณภาพ โดยเฉพาะนักการเมืองที่มีตำแหน่งบริหารในกระทรวงต่าง ๆ รัฐบาลสิงคโปร์ได้คนที่มีความรู้ มีความสามารถทางการบริหาร มีความซื่อสัตย์ มีจริยธรรมในการทำงานสูง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มาโดยบังเอิญ แต่มีกระบวนการในการคัดเลือกและพัฒนาผู้นำทางการเมืองรุ่นใหม่ ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความสามารถ ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วจะไปซื้อตำแหน่งได้เหมือนเช่นในหลายประเทศ กระบวนการพัฒนานักการเมืองของสิงคโปร์นี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาอย่างยิ่ง อยากขอเล่าให้ฟังคร่าว ๆ
เหตุการณ์ช็อกโลกเมื่อปลายปี ค.ศ.2007 ที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นข่าวการลอบสังหาร นางเบนาซีร์ บุตโต (Benazir Bhutto) นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของปากีสถาน ในขณะกำลังหาเสียงเพื่อการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในปี ค.ศ.2008 ข่าวการเสียชีวิตของนางเบนาซีร์ ได้สร้างความเศร้าสลดแก่คนทั่วโลก ที่เฝ้าติดตามความสำเร็จของผู้นำหญิงคนนี้ รวมถึงประชาคมฮาร์วาร์ด ที่ได้สูญเสียศิษย์เก่าคนสำคัญไปอีกคนหนึ่ง
อัล กอร์ (Albert A Gore, Jr.) นับเป็นศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดคนล่าสุดที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ผ่านการรณรงค์และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อันเป็นผลจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งยังเป็นผู้นำในการก่อตั้งองค์กร Save our Selves เพื่อสนับสนุนแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์สภาพอากาศ


* ที่มาของภาพ - http://www.14tula.com/images/gallery/event/images/g053_jpg.jpg
เดอะ ฮาร์วาร์ด คริมสัน (The Harvard Crimson) เป็นหนังสือพิมพ์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่มีอายุยาวนานถึง 135 ปี (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1873) และเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับเดียวของเมืองเคมบริดจ์ ที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้อ่านประมาณ 14,000 คน