ความยั่งยืนของประชาธิปไตย



* ที่มาของภาพ - http://www.14tula.com/images/gallery/event/images/g053_jpg.jpg
แม้จะชัดเจนว่า ประชาธิปไตยจะกลับคืนมาแล้ว จากผลการเลือกตั้งที่สะท้อนความล้มเหลวในการรัฐประหารและการบริหารประเทศ 1 ปีของ คมช. โดยเฉพาะในประเด็นที่ไม่สามารถทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เสื่อมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่ม สมาชิกพรรคไทยรักไทยเดิมได้
อย่างไรก็ตามเส้นทางอนาคตการเมืองไทยเหมือนเดินอยู่ในทางแยก วงจรที่เหมือนกับย้อนกลับไปสู่ในช่วงที่รัฐบาลไทยรักไทยได้รับความนิยมนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า รัฐบาลชุดนี้จะสามารถทำให้ประชาธิปไตยดำรงอยู่อย่างมั่นคงได้หรือไม่?
ldquo;การเลือกตั้งrdquo; เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของความเป็นประชาธิปไตย แต่ก้าวต่อไปจะเป็นเช่นไร อยู่ที่เงื่อนไขว่ารัฐบาลได้ทำสิ่งเหล่านี้หรือไม่
บริหารประเทศด้วยความรับผิดชอบต่อประชาชน หากรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี สามารถบริหารประเทศเพื่อความผาสุกของประชาชนโดยรวม ด้วยความโปร่งใส เที่ยงธรรม จนสามารถลบข้อครหาที่ว่า พรรคพลังประชาชนเป็นเพียง ldquo;นอมินีrdquo; ของผู้มีอำนาจเดิมประชาชนส่วนใหญ่ย่อมให้การยอมรับและเชื่อมั่นในการบริหารประเทศ โดยเพาะปัญญาชนและคนชั้นกลางมากขึ้นเรื่อย ๆ
สร้างความสมานฉันท์ระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านแม้พรรคพลังประชาชนจะได้เสียงข้างมากจากประชาชน แต่ส่วนหนึ่งนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากคนอีกกลุ่มหนึ่ง ผลการเลือกตั้งชี้ชัดว่า ชนชั้นกลางในเมืองหลวงและหัวเมืองใหญ่ คนส่วนใหญ่ในภาคใต้ ยืนอยู่ตรงข้าม พปช. ndash; ขณะที่คนในชนบทยังให้การสนับสนุนอย่างหนาแน่น ดังนั้น หากรัฐบาลสามารถสร้างความสมานฉันท์ระหว่างคนทั้งสองกลุ่ม ด้วยการออกนโยบายเพื่อประโยชน์ของทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค การสื่อสารที่ให้เกียรติกับประชาชนทุกกลุ่ม ที่สำคัญ การบริหารประเทศต้องโปร่งใส ไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและสื่อสารมวลชน และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศ ปัญหาย่อมไม่เกิดขึ้น
การจัดการปัญหาสำคัญของประเทศ ขณะนี้ ประชาชนในประเทศจึงอยู่ในภาวะ ldquo;คาดหวังrdquo; และ ldquo;รอคอยrdquo; รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ปัญหาสำคัญของชาติ ซึ่งรัฐบาล คมช. ไม่สามารถทำได้สำเร็จ ดังนั้น หากภารกิจเร่งด่วนที่เข้ามาดำเนินการของรัฐบาลชุดนี้ คือ การเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาสังคมอื่น ๆ คนชั้นกลางในสังคมคงพอยอมรับได้ แต่หากภารกิจเร่งรีบดำเนินการคือ การแก้กฎหมายนิรโทษกรรม 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย การคืนสมบัติให้กับอดีตนายกฯ การแทรกแซงสื่อสาธารณะ การดำเนินการเช่นนี้ อาจเท่ากับเป็นการเร่งเร้าให้เกิดความไม่พอใจ อันจะนำไปสู่การรวมกลุ่มต่อต้านรัฐบาลก็เป็นได้
ใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารประเทศ หากรัฐบาลชุดนี้ต้องการความยั่งยืนควรเป็น รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลเพื่อแสดงความจริงใจ อาทิ การให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่รวบอำนาจ ยึดมั่นในกฎหมายและกรอบกติกา ไม่ใช้อำนาจเหนือกฎหมาย บริหารงานด้วยความเปิดเผยโปร่งใส สามารถตรวจสอบและมั่นใจว่ารักษาผลประโยชน์ของประเทศ รับฟังเสียงของฝ่ายต่าง ๆ ไม่เพียงเสียงข้างมาก แต่รับฟังเสียงส่วนน้อย แก้ปัญหาประเทศและปัญหาของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน หากรัฐบาลบริหารอย่างมีธรรมาภิบาล ย่อมเชื่อมั่นได้ระดับหนึ่งว่าอาจจะดำรงอยู่ได้ครบวาระ
การเมืองไทยในตอนนี้ เหมือนกับกำลังเดินย้อนกลับไปสู่ยุคก่อนการปฏิวัติ 19 กันยายน พ.ศ.2549 การฟื้นตัวของประชาธิปไตย..จะดำรงอยู่อย่างยั่งยืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศในวิถีที่ควรจะเป็นหรือไม่?
* นำมาจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันอังคารที่11 มีนาคม 2551

แสดงความคิดเห็น
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-03-11