ปาตี้ลิสต์


ผมขออนุญาตชี้แจงเหตุผลในการตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ให้มิตรสหายทราบพอสังเขป หลังจากที่ได้แถลงไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกท่านทราบเหตุผลอย่างครบถ้วนและถูกต้อง

ปัญหางูกินหางกรณีผู้ว่า สตง. เป็นเพราะองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด

ผมเห็นว่าปัญหาที่จบไม่ลงในกรณีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (
สตง.)นั้นต้นเหตุสำคัญอาจมาจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นไม่ทำบทบาทหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดตั้งแต่แรกเริ่มจึงส่งให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นลูกโซ่และทำให้ผู้รับผิดชอบในขั้นสูงขึ้นไปต้องพลอยรับร่างแหและความเดือนร้อนตามมาอย่างไม่มีจบสิ้น ไม่ว่าจะเป็น



ดร.เกรียงศักดิ์ ตัดสินใจโค้งสุดท้าย บอกลา ปชป. เปิดใจไม่เชื่อมั่นในหัวหน้าพรรคขาดธรรมาภิบาลในการบริหาร หลังโดนป้ายสีแต่กลับเชื่อข้อกล่าวหาโดยไม่ตรวจสอบ ตัดสินไม่เป็นธรรม ทำให้ไม่สามารถทำงานกับพรรคต่อไปได้ เตือนสติหากหัวหน้าพรรคไม่บริหารอย่างมีธรรมาภิบาล จะบริหารประเทศให้ดีไม่ได้ ย้ำยังทำงานเพื่อประชาชน ยืนยันไม่ลงสมัคร ส.ส.รอบนี้

จากการที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ออกมาแถลงถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 และแนวโน้มปี 2549 โดยไม่นำปัญหาด้านการเมืองมาเป็นปัจจัยหลักในการคำนวณจีดีพีทั้งหมด เพราะคาดว่าจะยุติได้ไม่เกินกลางปี 2549 นั้น ผมคิดว่าเป็นการด่วนสรุปจนเกินไป สวนทางกับนักวิชาการและองค์กรหลายแห่ง ในความเป็นจริง สถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อจะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่สภาพัฒน์คิด

ประเด็นสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประการหนึ่ง ได้แก่ ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (party list) ยังควรมีและจำเป็นต่อสังคมการเมืองไทยต่อไปอีกหรือไม่?

รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ได้ก่อเกิดผลหลายประการต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ ทั้งมิติการเป็นตัวแทนของประชาชน ความเท่าเทียม และเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศในระยะยาว

หากจะกล่าวถึงความยิ่งใหญ่และมั่งคั่งของมหาวิทยาลัยระดับโลกดังเช่นฮาร์วาร์ด หลายคนคงคิดถึงฐานเงินสะสมจำนวนมหาศาลกว่า 29.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ อาณาบริเวณของมหาวิทยาลัยบนพื้นที่ 380 เอเคอร์ ริมแม่น้ำชาลส์ และสิ่งที่ลืมไม่ได้คือ ความมั่งคั่งด้านขุมทรัพย์ทางปัญญานั่นคือ ห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือมากกว่า 15 ล้านเล่ม นับเป็นห้องสมุดที่ใหญ่สุดอันดับหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยทั่วโลก เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และอันดับ 4 ของโลก

ข้อถกเถียงในประเด็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ เรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบในเชิงหลักการ ได้แก่ การเลือกตั้ง ส.ส. ว่าควรมีระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ หรือ เขตเดียวเบอร์เดียว จึงสะท้อนความเท่าเทียมและการเป็นตัวแทนประชาชนทั้งประเทศได้มากกว่ากัน

ถึงแม้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 พยายามที่จะเปิดโอกาสให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะการไม่ต้องปฏิบัติตามมติหรือข้อบังคับของพรรคหากขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยได้(มาตรา 47) แต่ในความเป็นจริงทางการเมือง หาก ส.ส. ท่านใดฝ่าฝืนมติของพรรค ย่อมถูกตรวจสอบในด้านพฤติกรรมว่าปฏิบัติตามระเบียบวินัยของพรรคหรือไม่ และโอกาสที่พรรคจะไม่ส่งลงสมัครในการเลือกตั้งสมัยหน้าก็มีสูงยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ ส.ส.