ทำอย่างไรได้ ส.ส. สะท้อนเสียงประชาชน
รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ได้ก่อเกิดผลหลายประการต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ ทั้งมิติการเป็นตัวแทนของประชาชน ความเท่าเทียม และเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศในระยะยาว
การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในระยะเวลาไม่ถึง 6 เดือนข้างหน้า ทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องทำงานภายใต้ความกดดัน เพราะต้องเร่งมือกันอย่างหนัก อีกทั้งต้องพิจารณา แก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะความคาดหวังของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ค่อนข้างสูง
รูปแบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นประเด็นหนึ่งที่มีการตั้งคำถามว่า ควรเป็นไปในทิศทางใด เพื่อให้ได้ตัวแทนที่สะท้อนเสียงของประชาชนได้อย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นประเด็นหนึ่งที่สร้างปัญหาเมื่อนำมาใช้ในภาคปฏิบัติโดยรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
จากที่ผมได้ทำการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2548 เรื่อง ldquo; ผลกระทบของระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย rdquo;[1] พบว่า ประเทศไทยอาจมีความจำเป็นต้องหันกลับมาใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเดิมก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 เนื่องจากส่งผลดีต่อตัวแปรการพัฒนาประชาธิปไตยมากกว่าระบบเลือกตั้งในปี 2540
คง ส.ส. บัญชีรายชื่อต่อไป แต่กำหนดสัดส่วนใหม่
ข้อดีของ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อที่ทำให้ผมเห็นว่า ควรมีอยู่ต่อไปคือ การเลือกผู้แทนในระบบนี้จะทำให้ได้ผู้แทนที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ ซึ่งเป็นคนที่ไม่สามารถลงแข่งขันกับนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ได้ หากแต่ผลการวิจัยของผมพบว่า อรรถประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากระบบดังกล่าวไม่ดีขึ้น และ การกำหนดสัดส่วน ส.ส. ตามคะแนนเสียงเลือกตั้งที่พรรคการเมืองได้รับไว้ ร้อยละ 5 ทำให้พรรคใหญ่ได้ประโยชน์กว่าพรรคการเมืองขนาดเล็ก
วิธีการที่ผมขอเสนอเพื่อปิดจุดอ่อนในเรื่องนี้คือ การแก้ไขสัดส่วนคะแนนที่ได้รับจาการเลือกตั้ง อาจจะลดสัดส่วนลงจากร้อยละ 5 หรือไม่ต้องกำหนด % ว่าต้องได้เท่าไร แต่ให้พรรคการเมืองได้ ส.ส. ตามสัดส่วนของคะแนนเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งต้องมีการศึกษาแนวทางต่อไป วิธีการนี้อาจเป็นช่องทางในเรื่องตัวแทนของพรรคเล็กที่เข้ามาในสภา หากแต่ข้อควรระวังคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลเนื่องจากมีพรรคเล็ก พรรคน้อยเข้ามากเกินไป
ปรับเปลี่ยนการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ แทน เขตเดียวคนเดียว
ผลการวิเคราะห์พบว่า สภาพการเมืองในบริบทต่าง ๆ ระบบเลือกตั้งแบบ 1 เขต หลายตัวแทน (แบ่งเขตเรียงเบอร์) เป็นระบบพึงประสงค์มากกว่าระบบ 1 เขต 1 คน เพราะสะท้อนระดับการเป็นตัวแทน และความเท่าเทียมกันทางการเมืองในด้านการได้รับอรรถประโยชน์สูงสุดที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นการสะท้อนประโยชน์เชิงนโยบายแก่คนจากหลายกลุ่ม ขณะที่เสถียรภาพของรัฐบาล จะขึ้นหรือลงนั้นขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักของนโยบายที่จะเป็นการเอื้อส่วนรวมหรือเน้นนโยบายในระดับเขต
[1]เอกสารวิชาการส่วนบุคคล นำเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า ในหลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
ทั้งหมดนี้จึงต้องฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปร่วมขบคิด และถกเถียงกันต่อ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสม ที่จะนำสังคมไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยต่อไป
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-02-12
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 158 ครั้ง
คนไทยเรียนรู้อะไร จากบทเพลงสุดท้ายของพี่ศรี
Total views: อ่าน 74 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร
Total views: อ่าน 239 ครั้ง
บทบาทของไทยและอาเซียนต่อการรวมเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว
Total views: อ่าน 1,998 ครั้ง
การสร้างคุณภาพชีวิตเมืองเพื่อการสร้างชาติ ด้วยโมเดลเมืองน่าอยู่ 12 มิติ: Dr.Dan Can Do’s Livable City Model
Total views: อ่าน 2,638 ครั้ง