แจงเหตุโบกมือลา ปชป. เพราะหัวหน้าขาดธรรมาภิบาล
ผมขออนุญาตชี้แจงเหตุผลในการตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ให้มิตรสหายทราบพอสังเขป หลังจากที่ได้แถลงไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกท่านทราบเหตุผลอย่างครบถ้วนและถูกต้อง
ผมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มา 27 ปีแล้ว และนับตั้งแต่วันที่เป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมได้มุ่งมั่นทำงานการเมืองด้วยความเชื่อมั่นในพรรคและเชื่อมั่นในผู้บริหารพรรคว่าเป็นคนดี มีการตัดสินใจที่ดี ทำให้ทำงานกับพรรคได้อย่างเต็มที่ และไม่เคยคิดจะออกจากพรรค อยากอยู่จนวันตาย
ช่วงเวลาที่ผมทำงานในพื้นที่นั้น มีกระแสการตอบรับจากคนในพื้นที่อย่างดี ทั้งจากประชาชนที่ผมได้ไปพบปะโดยตรง และจากผลโพลของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ระบุว่า ผมมีคะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ในจำนวนผู้สมัครทั้ง 16 คน ซึ่งรวมถึงคนในพรรคที่แสดงความจำนงรับสมัครลงเลือกตั้ง และผู้สมัครพรรคอื่นที่มีชื่อเสียง ผมเชื่อมั่นว่าหากลงเลือกตั้ง จะช่วยให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถชนะการเลือกตั้งได้ด้วยความเมตตาของประชาชน
หากแต่ในระหว่างที่ลงพื้นที่นั้น ผมถูกเจ้าถิ่นเดิมซึ่งเป็นคนในพรรคเดียวกันพยายามขัดขวางการทำงานในพื้นที่ แทนที่หัวหน้าจะพยายามห้ามปรามลดการกระทำดังกล่าว กลับหาทางออกโดยไม่ยอมให้ผมกล่าวอ้างอิงว่า หัวหน้าพรรคได้เคยอนุญาตทางวาจาแล้วว่า จะให้ทำงานในพื้นที่ได้มีผลทำให้ผมถูกใส่ความ ใส่ร้ายป้ายสีในการทำงานในพื้นที่มาโดยตลอด
เมื่อมีการกำหนดตัวผู้สมัคร ส.ส. เขตของพรรค ผมกลับถูกตัดสินไม่ให้ลงเขตนี้ โดยอ้างว่ามีการร้องเรียนจากเจ้าถิ่นเดิมซึ่งเป็นคนของ ปชป. ทั้งที่ยังไม่มีพยานหลักฐานแสดงเลยว่า ผมได้ทำความผิดจริงหรือไม่ อย่างไร แต่หัวหน้าพรรคกลับยื่นคำขาดว่า มีเหลืออยู่เขตเดียวที่ราษฎรบูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน ที่ผมจะสามารถลงได้ โดยไม่ได้ชี้แจงถึงเหตุผลความเหมาะสมใดๆ ในการเสนอเขตนี้ทั้งๆ ที่ขณะนั้น การจัดตัวผู้สมัครในเขตอื่น ๆ หลายเขตใน กทม. ยังไม่ลงตัว ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้เหลือเขตเดียวที่จะพิจารณาให้ผมลงได้
ในวันประชุมคัดเลือกกรรมการ การประชุมในช่วงเช้าเพิ่งประกาศโผรายชื่อคณะกรรมการชุดนี้ให้ที่ประชุมรับรอง ประมาณ 30 กว่ารายชื่อ เวลาประมาณเที่ยง แต่อีกเพียงชั่วโมงเศษ ๆ ซึ่งแน่นอนว่าคณะกรรมการชุดนี้ยังไม่ทันดำเนินการใด ๆ หัวหน้าก็ได้เรียกผมเข้าไปในห้องเพื่อยื่นคำขาดให้ลงเขตราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน เหตุการณ์นี้จึงเป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้าย และเป็นการตอกย้ำประสบการณ์จากหลายเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ รวมถึงความในใจที่ผมเคยรับฟังจากเพื่อนร่วมพรรคจำนวนหนึ่งในการนำของหัวหน้าพรรคคนปัจจุบันว่า ได้ใช้หลักธรรมาภิบาลหรือไม่ สิ่งนี้เป็นเพียงการตอกย้ำคำถามในใจว่า หัวหน้าพรรครวบอำนาจในการคัดเลือกหรือไม่ หัวหน้าพรรคเชื่อข้อมูลที่กล่าวหาแทนการตรวจสอบข้อเท็จจริง และอยากตั้งคำถามว่า การคัดเลือกผู้สมัครของหัวหน้ามีหลักการที่ชอบธรรมและมีธรรมาภิบาลหรือไม่ ?
ผมเห็นว่า หัวหน้าพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่อาสาตัวจะเป็นผู้บริหารประเทศ จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการบริหารพรรคด้วยความชอบธรรมและมีธรรมาภิบาลเสียก่อน การบริหารของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีการคัดตัวผู้สมัครในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในครั้งนี้ มีการจัดฉากการประชุมว่า มีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค แต่กลับเลือกผู้สมัครโดยไม่ได้ให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาจริงๆ เพื่อนในพรรคหลายคนรู้สึกว่าไม่มีความเป็นธรรม
คำกล่าวจากเพื่อน ส.ส.อาวุโสในพรรคประชาธิปัตย์ท่านหนึ่งที่กล่าวด้วยความคับแค้นใจว่า ldquo;เมื่อความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น จะมีคนที่ยอมพลีชีพเพื่อความเป็นธรรมrdquo; ทำให้ผมได้ข้อคิด และตัดสินใจว่า ผมขอเสียสละพลีชีพทางการเมืองของผม โดยการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอเป็นตัวเตือนสติให้หัวหน้าพรรครีบจัดการปฏิรูปพรรค ให้มีธรรมาภิบาล ความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเฉพาะหน้า คือ การคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งทั่วประเทศ เพื่อลงเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม ให้มีความเป็นธรรมแก่คนอื่น ครั้งนี้พรรคยังไม่ได้ประกาศชื่อ เมื่อผมลาออกไปในวันที่ 25 ตุลาคม ยังพอมีเวลาให้หัวหน้าพรรคให้ความเป็นธรรมกับเพื่อน ส.ส. คนอื่น ๆ
การลาออกของผมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ผมไม่ได้ลาออกเพราะผิดหวังหรือน้อยใจอย่างที่ผู้สื่อข่าวบางรายได้สื่อสาร แต่ลาออกเพราะไม่เห็นด้วยในหลักการ หัวหน้าพรรคต้องมีธรรมาภิบาล จึงสามารถบริหารประเทศอย่างมีธรรมาภิบาลได้ แต่หากหัวหน้าพรรคเล่นพรรคเล่นพวก ไม่ยึดมั่นในความถูกต้องตามหลักการ ถ้าการบริหารยังเป็นการรวบอำนาจ รวมศูนย์อำนาจ ย่อมไม่สามารถเชื่อได้ว่าจะสามารถบริหารประเทศอย่างมีธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์ประชาชนได้
ส่วนในเรื่องการกล่าวหาหรือการร้องเรียนเรื่องของผม ผมอยากให้มีการตรวจสอบ และขอให้คณะกรรมการสอบสวนบุคคลที่กล่าวหาผมด้วย เพื่อความเป็นธรรม หากมีหลักฐานปรากฎว่ามีการให้ร้ายผม ผมจะแจ้งความดำเนินคดีอาญากับทุกคนที่ใส่ร้าย หมิ่นประมาทผมด้วย
สิ่งสำคัญที่ผมขอสื่อสารเพิ่มเติมต่อเหตุการณ์ต่างๆ คือ ผมรู้สึกผูกพันกับพรรค และเพื่อน ส.ส. ผมเคยตั้งใจว่า จะอยู่กับพรรคตลอดไป เมื่อผมต้องลาออก ผมรู้สึกว่า ความผูกพันที่มีกับพรรคมานานจะต้องจบลงในวันนั้น น้ำตาจึงไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว เป็นน้ำตาที่เกิดจากความรู้สึกผูกพัน ไม่ใช่เกิดจากความอ่อนแอ หรือท้อถอย ผมขอยืนยันว่า การลาออกจากพรรคนี้ พรรคไม่มีความผิด ผมไม่ได้มีปัญหากับเพื่อน ส.ส. คณะกรรมการบริหารพรรค สาขาพรรค และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ผมยังคงเป็นเพื่อนกับทุกคนในพรรค มีความปรารถนาดีกับทุกคนตลอดไป และขอเอาใจช่วยให้พรรคทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ผมขอยืนยันจุดยืนทางการเมืองของผม คือ ภายหลังการลาออกจากประชาธิปัตย์ ผมยังมีโอกาสที่จะไปร่วมกับพรรคอื่น เพื่อลงเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม แต่ผมยืนยันที่จะไม่ลงเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่อทำให้คุณอภิสิทธิ์แน่ใจว่า ผมต้องการเตือนสติในการกระทำที่ผิดด้วยความจริงใจ และผมเชื่อว่า การลาออกของผมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม จะเป็นวันที่คุณอภิสิทธิ์มองย้อนมาแล้วจะสำนึกได้ว่า การบริหารพรรคต้องมีธรรมาภิบาล ภายใต้การนำของหัวหน้าพรรค
การทำงานการเมืองนั้นภาพลักษณ์อย่างเดียวไม่เพียงพอ ผู้นำต้องมีเนื้อแท้ด้วย หัวหน้าพรรคจะไม่สามารถบริหารประเทศได้ดี หากในพรรคเล็ก ๆ ยังขาดธรรมาภิบาลอย่างนี้ ผมอยากรู้ว่า หัวหน้าพรรคยอมให้คนเตือนได้หรือไม่ ถ้ายอมไม่ได้ อนาคตก็ยิ่งน่าเป็นห่วง
สำหรับการทำงานในอนาคต ผมจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ อย่างแน่นอน แต่ตั้งใจจะทำงานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนต่อไป ผ่านงานโครงการพัฒนาสังคมต่าง ๆ ที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องในหลายองค์กร และในฐานะที่ผมยังมีตำแหน่งเป็นนักวิชาการอาวุโส (Senior Fellow) ให้กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และนักวิชาการมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ทำงานวิจัยและสอนหนังสือที่เน้นการหาแนวทางการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งผมจะดึงความร่วมมือจากสถาบันชั้นนำจากต่างประเทศเข้ามาทำงาน เพื่อพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจน
นอกจากนี้ ผมจะอยู่ในบทบาทของประชาชนคนหนึ่ง ไม่ได้สังกัดพรรคใด และสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องบ้านเมือง โดยใช้ความเป็นนักวิชาการของผม ในการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองและการเลือกตั้งที่จะมาถึง เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจให้ประชาชน
สิ่งที่ผมชี้แจงในวันนี้ จึงไม่ได้มุ่งโจมตีใคร เพียงแต่ต้องการชี้แจงความจริงของเหตุการณ์เพื่อให้มิตรสหายและบุคคลที่ติดตามข่าวนี้มาโดยตลอดได้รับทราบความจริงจากปากของผมเอง
เหตุผลการลาออกของผม เนื่องจาก ผมไม่เชื่อมั่นในหัวหน้าพรรค ด้วยเห็นว่าการบริหารจัดการนั้น ขาดหลักธรรมาภิบาลและผมต้องการเห็นการเมืองสีขาว ไม่ใช่สีเทาหรือสีดำ
ผมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มา 27 ปีแล้ว และนับตั้งแต่วันที่เป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมได้มุ่งมั่นทำงานการเมืองด้วยความเชื่อมั่นในพรรคและเชื่อมั่นในผู้บริหารพรรคว่าเป็นคนดี มีการตัดสินใจที่ดี ทำให้ทำงานกับพรรคได้อย่างเต็มที่ และไม่เคยคิดจะออกจากพรรค อยากอยู่จนวันตาย
เมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนการตัดสินใจลงสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตผมได้หารือกับหัวหน้าอภิสิทธิ์ และได้รับการอนุมัติด้วยวาจาให้ลงพื้นที่ในเขตพระโขนง บางนา สวนหลวง ประเวศได้ เหตุผลที่ผมขอลงพื้นที่นี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่มี ส.ส. มานานหลายสมัย ผมจึงขออาสาตัวทำงานในพื้นที่นี้ เพื่อสร้างฐานเสียงให้คืนกลับมาสู่พรรค และเห็นว่าการลงทำงานกับประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเป็น ส.ส. พื้นที่ที่ดี ผมจึงได้ทำงานในพื้นที่ตลอดมา
ช่วงเวลาที่ผมทำงานในพื้นที่นั้น มีกระแสการตอบรับจากคนในพื้นที่อย่างดี ทั้งจากประชาชนที่ผมได้ไปพบปะโดยตรง และจากผลโพลของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ระบุว่า ผมมีคะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ในจำนวนผู้สมัครทั้ง 16 คน ซึ่งรวมถึงคนในพรรคที่แสดงความจำนงรับสมัครลงเลือกตั้ง และผู้สมัครพรรคอื่นที่มีชื่อเสียง ผมเชื่อมั่นว่าหากลงเลือกตั้ง จะช่วยให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถชนะการเลือกตั้งได้ด้วยความเมตตาของประชาชน
หากแต่ในระหว่างที่ลงพื้นที่นั้น ผมถูกเจ้าถิ่นเดิมซึ่งเป็นคนในพรรคเดียวกันพยายามขัดขวางการทำงานในพื้นที่ แทนที่หัวหน้าจะพยายามห้ามปรามลดการกระทำดังกล่าว กลับหาทางออกโดยไม่ยอมให้ผมกล่าวอ้างอิงว่า หัวหน้าพรรคได้เคยอนุญาตทางวาจาแล้วว่า จะให้ทำงานในพื้นที่ได้มีผลทำให้ผมถูกใส่ความ ใส่ร้ายป้ายสีในการทำงานในพื้นที่มาโดยตลอด
เมื่อมีการกำหนดตัวผู้สมัคร ส.ส. เขตของพรรค ผมกลับถูกตัดสินไม่ให้ลงเขตนี้ โดยอ้างว่ามีการร้องเรียนจากเจ้าถิ่นเดิมซึ่งเป็นคนของ ปชป. ทั้งที่ยังไม่มีพยานหลักฐานแสดงเลยว่า ผมได้ทำความผิดจริงหรือไม่ อย่างไร แต่หัวหน้าพรรคกลับยื่นคำขาดว่า มีเหลืออยู่เขตเดียวที่ราษฎรบูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน ที่ผมจะสามารถลงได้ โดยไม่ได้ชี้แจงถึงเหตุผลความเหมาะสมใดๆ ในการเสนอเขตนี้ทั้งๆ ที่ขณะนั้น การจัดตัวผู้สมัครในเขตอื่น ๆ หลายเขตใน กทม. ยังไม่ลงตัว ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้เหลือเขตเดียวที่จะพิจารณาให้ผมลงได้
ในวันประชุมคัดเลือกกรรมการ การประชุมในช่วงเช้าเพิ่งประกาศโผรายชื่อคณะกรรมการชุดนี้ให้ที่ประชุมรับรอง ประมาณ 30 กว่ารายชื่อ เวลาประมาณเที่ยง แต่อีกเพียงชั่วโมงเศษ ๆ ซึ่งแน่นอนว่าคณะกรรมการชุดนี้ยังไม่ทันดำเนินการใด ๆ หัวหน้าก็ได้เรียกผมเข้าไปในห้องเพื่อยื่นคำขาดให้ลงเขตราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน เหตุการณ์นี้จึงเป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้าย และเป็นการตอกย้ำประสบการณ์จากหลายเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ รวมถึงความในใจที่ผมเคยรับฟังจากเพื่อนร่วมพรรคจำนวนหนึ่งในการนำของหัวหน้าพรรคคนปัจจุบันว่า ได้ใช้หลักธรรมาภิบาลหรือไม่ สิ่งนี้เป็นเพียงการตอกย้ำคำถามในใจว่า หัวหน้าพรรครวบอำนาจในการคัดเลือกหรือไม่ หัวหน้าพรรคเชื่อข้อมูลที่กล่าวหาแทนการตรวจสอบข้อเท็จจริง และอยากตั้งคำถามว่า การคัดเลือกผู้สมัครของหัวหน้ามีหลักการที่ชอบธรรมและมีธรรมาภิบาลหรือไม่ ?
ผมเห็นว่า หัวหน้าพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่อาสาตัวจะเป็นผู้บริหารประเทศ จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการบริหารพรรคด้วยความชอบธรรมและมีธรรมาภิบาลเสียก่อน การบริหารของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีการคัดตัวผู้สมัครในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในครั้งนี้ มีการจัดฉากการประชุมว่า มีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค แต่กลับเลือกผู้สมัครโดยไม่ได้ให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาจริงๆ เพื่อนในพรรคหลายคนรู้สึกว่าไม่มีความเป็นธรรม
คำกล่าวจากเพื่อน ส.ส.อาวุโสในพรรคประชาธิปัตย์ท่านหนึ่งที่กล่าวด้วยความคับแค้นใจว่า ldquo;เมื่อความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น จะมีคนที่ยอมพลีชีพเพื่อความเป็นธรรมrdquo; ทำให้ผมได้ข้อคิด และตัดสินใจว่า ผมขอเสียสละพลีชีพทางการเมืองของผม โดยการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอเป็นตัวเตือนสติให้หัวหน้าพรรครีบจัดการปฏิรูปพรรค ให้มีธรรมาภิบาล ความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเฉพาะหน้า คือ การคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งทั่วประเทศ เพื่อลงเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม ให้มีความเป็นธรรมแก่คนอื่น ครั้งนี้พรรคยังไม่ได้ประกาศชื่อ เมื่อผมลาออกไปในวันที่ 25 ตุลาคม ยังพอมีเวลาให้หัวหน้าพรรคให้ความเป็นธรรมกับเพื่อน ส.ส. คนอื่น ๆ
การลาออกของผมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ผมไม่ได้ลาออกเพราะผิดหวังหรือน้อยใจอย่างที่ผู้สื่อข่าวบางรายได้สื่อสาร แต่ลาออกเพราะไม่เห็นด้วยในหลักการ หัวหน้าพรรคต้องมีธรรมาภิบาล จึงสามารถบริหารประเทศอย่างมีธรรมาภิบาลได้ แต่หากหัวหน้าพรรคเล่นพรรคเล่นพวก ไม่ยึดมั่นในความถูกต้องตามหลักการ ถ้าการบริหารยังเป็นการรวบอำนาจ รวมศูนย์อำนาจ ย่อมไม่สามารถเชื่อได้ว่าจะสามารถบริหารประเทศอย่างมีธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์ประชาชนได้
ส่วนในเรื่องการกล่าวหาหรือการร้องเรียนเรื่องของผม ผมอยากให้มีการตรวจสอบ และขอให้คณะกรรมการสอบสวนบุคคลที่กล่าวหาผมด้วย เพื่อความเป็นธรรม หากมีหลักฐานปรากฎว่ามีการให้ร้ายผม ผมจะแจ้งความดำเนินคดีอาญากับทุกคนที่ใส่ร้าย หมิ่นประมาทผมด้วย
สิ่งสำคัญที่ผมขอสื่อสารเพิ่มเติมต่อเหตุการณ์ต่างๆ คือ ผมรู้สึกผูกพันกับพรรค และเพื่อน ส.ส. ผมเคยตั้งใจว่า จะอยู่กับพรรคตลอดไป เมื่อผมต้องลาออก ผมรู้สึกว่า ความผูกพันที่มีกับพรรคมานานจะต้องจบลงในวันนั้น น้ำตาจึงไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว เป็นน้ำตาที่เกิดจากความรู้สึกผูกพัน ไม่ใช่เกิดจากความอ่อนแอ หรือท้อถอย ผมขอยืนยันว่า การลาออกจากพรรคนี้ พรรคไม่มีความผิด ผมไม่ได้มีปัญหากับเพื่อน ส.ส. คณะกรรมการบริหารพรรค สาขาพรรค และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ผมยังคงเป็นเพื่อนกับทุกคนในพรรค มีความปรารถนาดีกับทุกคนตลอดไป และขอเอาใจช่วยให้พรรคทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ผมขอยืนยันจุดยืนทางการเมืองของผม คือ ภายหลังการลาออกจากประชาธิปัตย์ ผมยังมีโอกาสที่จะไปร่วมกับพรรคอื่น เพื่อลงเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม แต่ผมยืนยันที่จะไม่ลงเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่อทำให้คุณอภิสิทธิ์แน่ใจว่า ผมต้องการเตือนสติในการกระทำที่ผิดด้วยความจริงใจ และผมเชื่อว่า การลาออกของผมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม จะเป็นวันที่คุณอภิสิทธิ์มองย้อนมาแล้วจะสำนึกได้ว่า การบริหารพรรคต้องมีธรรมาภิบาล ภายใต้การนำของหัวหน้าพรรค
การทำงานการเมืองนั้นภาพลักษณ์อย่างเดียวไม่เพียงพอ ผู้นำต้องมีเนื้อแท้ด้วย หัวหน้าพรรคจะไม่สามารถบริหารประเทศได้ดี หากในพรรคเล็ก ๆ ยังขาดธรรมาภิบาลอย่างนี้ ผมอยากรู้ว่า หัวหน้าพรรคยอมให้คนเตือนได้หรือไม่ ถ้ายอมไม่ได้ อนาคตก็ยิ่งน่าเป็นห่วง
สำหรับการทำงานในอนาคต ผมจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ อย่างแน่นอน แต่ตั้งใจจะทำงานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนต่อไป ผ่านงานโครงการพัฒนาสังคมต่าง ๆ ที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องในหลายองค์กร และในฐานะที่ผมยังมีตำแหน่งเป็นนักวิชาการอาวุโส (Senior Fellow) ให้กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และนักวิชาการมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ทำงานวิจัยและสอนหนังสือที่เน้นการหาแนวทางการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งผมจะดึงความร่วมมือจากสถาบันชั้นนำจากต่างประเทศเข้ามาทำงาน เพื่อพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจน
นอกจากนี้ ผมจะอยู่ในบทบาทของประชาชนคนหนึ่ง ไม่ได้สังกัดพรรคใด และสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องบ้านเมือง โดยใช้ความเป็นนักวิชาการของผม ในการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองและการเลือกตั้งที่จะมาถึง เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจให้ประชาชน
สิ่งที่ผมชี้แจงในวันนี้ จึงไม่ได้มุ่งโจมตีใคร เพียงแต่ต้องการชี้แจงความจริงของเหตุการณ์เพื่อให้มิตรสหายและบุคคลที่ติดตามข่าวนี้มาโดยตลอดได้รับทราบความจริงจากปากของผมเอง
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-11-05
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 158 ครั้ง
คนไทยเรียนรู้อะไร จากบทเพลงสุดท้ายของพี่ศรี
Total views: อ่าน 74 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร
Total views: อ่าน 239 ครั้ง
บทบาทของไทยและอาเซียนต่อการรวมเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว
Total views: อ่าน 1,998 ครั้ง
การสร้างคุณภาพชีวิตเมืองเพื่อการสร้างชาติ ด้วยโมเดลเมืองน่าอยู่ 12 มิติ: Dr.Dan Can Do’s Livable City Model
Total views: อ่าน 2,638 ครั้ง