วิเคราะห์การกำหนดวันเลือกตั้งใหม่

จากการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับพรรคการเมือง 20 พรรค เสียงส่วนใหญ่คือ 13 พรรค(พรรคไทยรักไทยงดออกเสียง) มีมติให้มีการเลือกตั้งวันที่ 22 .. 49 โดยจะออกเป็นพระราชกฤษฎีกาในวันที่ 24 ส.. เปิดรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อในวันที่ 29-31 สิงหาคมและรับสมัคร ส.ส.ระบบเขตในวันที่ 1 ndash; 5 กันยายน ศกนี้

หาก ครม.เห็นชอบตามมติของที่ประชุม กกต. ผมคิดว่าจะมีปรากฏการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญตามมา ดังนี้

จะเกิดความพยายามย้ายพรรคของ ส.ส. บางส่วน เพราะการกำหนดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 22 ตค. 49 และกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดการปลดล็อค ม.107 (4) แห่งรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 90 วันก่อนวันรับสมัครเลือกตั้ง ทำให้การเมืองนับจากนี้จนถึงวันที่ 31 พ.ค. 49 ซึ่งเป็นเส้นตาย 90 วันก่อนวันรับสมัครเลือกตั้ง จะเกิดความพยายามย้ายพรรคและจะมีเงินสะพัดเป็นจำนวนมาก เพราะแกนนำพรรคการเมืองขนาดใหญ่จะต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อรักษาจำนวน ส..ในพรรคเอาไว้

ที่ผ่านมามีการวิเคราะห์ว่า แกนนำพรรคขนาดใหญ่จะไม่ออกทุนมาก เพราะการเว้นวรรคทางการเมือง จะทำให้ตนเองไม่ได้ประโยชน์มากนัก และจะทำให้หัวหน้ามุ้งแต่ละมุ้งจะต้องออกเงินกันเองในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนไป หัวหน้าพรรคขนาดใหญ่คงต้องทุ่มทรัพยากรเพื่อรักษาฐาน ส..ไว้

นอกจากนี้ ผมสังเกตว่าเหตุที่พรรคไทยรักไทยงดออกเสียงในการกำหนดการเลือกตั้งครั้งนี้เพราะพรรคไทยรักไทยเสียประโยชน์ เนื่องจากมีกระแสการกระเพื่อมออกมาว่า ส..ในสังกัดจะย้ายพรรคจำนวนมาก อาทิ กลุ่มวังน้ำเค็ม (สนธยา คุณปลื้ม) กลุ่มลำตะคอง (สุวัจน์) กลุ่มวังพญานาค (พินิจ จารุสมบัติ)

รักษาการนายกรัฐมนตรีจะยกเลิกการเว้นวรรค เนื่องจากการที่ พ...ทักษิณ ชินวัตร เว้นจากการเป็นนายกฯ ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ จะทำให้พรรคไทยรักไทยน่าจะอยู่ในสภาพที่แย่กว่าการที่รักษาการนายกฯประกาศเป็นตัวเลือกนายกฯ เพราะจะทำให้ประชาชนที่เลือกไทยรักไทยเพราะชื่นชอบในตัว พ...ทักษิณ อาจตัดสินใจไปเลือกพรรคอื่น เพราะไม่รู้จักคนที่พรรคจะยกชูให้เป็นตัวแทนของ พ...ทักษิณ

ในการเลือกตั้งใหม่ แม้ว่าพรรคไทยรักไทยน่าจะยังได้จำนวน ส..มากกว่าพรรคอื่น ๆ แต่หากหัวหน้าพรรคประกาศเว้นวรรค ประกอบกับการย้ายพรรคของมุ้งต่าง ๆ ในพรรค อาจทำให้มีความเสี่ยงที่พรรคไทยรักไทยจะได้ ส..ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภา และส่งผลทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ หรือแย่ที่สุดอาจจะต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน

ด้วยเหตุนี้ หัวหน้าพรรคไทยรักไทยน่าจะกลับคำทางการเมือง โดยหันมาลงเลือกตั้งพร้อมประกาศตัวเป็นนายกฯ เพื่อรักษาฐานเสียงทางการเมืองเดิมและผนวก ส..บางกลุ่มไว้กับพรรค ซึ่งท่าทีที่คนในพรรคไทยรักไทยได้แสดงออกมานั้นล้วนสนับสนุนความเชื่อนี้ โดยพยายามให้เหตุผลว่าเมื่อการเลือกตั้งวันที่ 2 เม..2549 เป็นโมฆะ ดังนั้นคำประกาศเว้นวรรคของ พ...ทักษิณ จึงไม่จำเป็นต้องยึดมั่นต่อไปอีก

จะเกิดพรรคการเมืองใหม่ระยะเวลาก่อนการรับสมัครเลือกตั้งถึง 90 วันจะเปิดโอกาสให้เกิดพรรคการเมืองใหม่และนักการเมืองหน้าใหม่จำนวนหนึ่ง ที่มีโอกาสสูงที่จะแทรกเข้ามามีบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรในสมัยหน้า

พรรคการเมืองใหม่อาจจะเป็นการรวมตัวของนักการเมืองเก่าที่แยกตัวออกจากพรรคไทยรักไทยและอดีตพรรคฝ่ายค้านเดิม เช่น พรรคประชาราษฎร์ของคุณเสนาะ เทียนทอง พรรคของ ร...เฉลิม อยู่บำรุง หรือแม้แต่พรรคของคุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นต้น

รวมทั้งพรรคการเมืองใหม่ที่เป็นการรวมตัวกันของนักการเมืองหน้าใหม่ (ร่วมกับนักการเมืองเก่าบางส่วน) ซึ่งพรรคการเมืองที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง คือ พรรคมุสลิมที่จะพยายามจะหาคะแนนเสียงจากประชาชนใน 4 จังหวัดภาคใต้ หรือพรรคที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรวมตัวของรักษาการสมาชิกวุฒิสภา ที่มีฐานเสียงขนาดใหญ่คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สนับสนุนการขับไล่นายกฯทักษิณ นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดพรรคการเมืองใหม่ที่ผันตัวเองมาจากกลุ่ม 77 ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการที่มี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์เป็นแกนนำ

สถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งรู้สึกเบื่อกับการเมืองและพรรคการเมืองที่มีอยู่ การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองใหม่ ๆ จะทำให้การแข่งขันทางการเมืองในการเลือกตั้งวันที่ 22 .. 2549 มีความน่าสนใจมากขึ้นและทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น และมีความเป็นไปได้สูงอย่างยิ่งที่จะเกิดการแตกกระจายของคะแนนเสียงเลือกตั้ง และทำให้เกิดรัฐบาลใหม่ที่มาจากหลายพรรคการเมือง

แม้การมีรัฐบาลผสมจะมีจุดด้อยในเรื่องเสถียรภาพทางการเมือง แต่ในภาวะที่รัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจที่มีหน้าที่เพื่อการปฏิรูปการเมือง การมี ส..จากพรรคการเมืองที่หลากหลายน่าจะเป็นผลดี เพราะจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีมุมมองรอบด้านและมีความรอบคอบมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวเป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะผู้ที่มีอำนาจในปัจจุบันย่อมหวงอำนาจและไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง เห็นได้ชัดจากการที่ ครม.เลื่อนการพิจารณามติของ กกต.ในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยอ้างเพียงว่า กกต.ยังไม่ส่งมติดังกล่าวให้ ครม.อย่างเป็นทางการ

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-05-18