เพิ่มอำนาจ กมธ. ตรวจสอบรัฐบาล
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ldquo;hellip;ฉะนั้นท่านต้องห้ามไม่ให้มีการทุจริตขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอที่มีประสิทธิภาพ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง แช่งให้มีอันเป็นไป แต่ถ้าไม่ทุจริต สุจริตและมีความตั้งใจจะทำ ขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปีhellip;rdquo;
วันนี้ ผมขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบบูรณาการ (ซีอีโอ) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2546 มากล่าวถึง ด้วยเห็นว่า ปัญหาสำคัญของบ้านเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานและร้ายแรงกว่าภัยใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง นั่นคือ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งในแวดวงการเมืองและในระบบราชการ
สิ่งที่ประชาชนฝากความหวังไว้คงจะเป็นความเข้มแข็งของผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระที่หวังว่าจะมีอิสระอย่างแท้จริง กระบวนการยุติธรรม และฝ่ายนิติบัญญัติที่เข้มแข็ง
ในฐานะอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการ (กมธ) หลายคณะ พบว่า แม้กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 189 จะให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาร่างกฎหมาย ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาล เรียกได้ว่าเป็นด่านแรกของการตรวจจับคอร์รัปชัน โดยมีอำนาจในการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาติดตามการดำเนินนโยบาย และการทำงานของรัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ แต่ตลอดช่วงที่ผ่านมา กมธ.คณะต่าง ๆ ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาเหตุสำคัญเนื่องจาก กมธ.นั้นไม่มีอำนาจเพียงพอในการตรวจสอบรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในเรื่องง่าย ๆ อาทิ
การเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ndash; ไม่เห็นความสำคัญ แม้กมธ.จะสามารถออกคำสั่งเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำ หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่ปัจจุบันไม่มีระบบจูงใจให้คนที่มาให้ข้อมูลนั้นเห็นความสำคัญว่าต้องมาและต้องให้ข้อมูล ปัญหาที่พบนั่นคือ การไม่มาตามนัด การส่งตัวแทนที่ไม่ทราบข้อจริงมาแทน การไม่ให้ข้อมูลตามที่ กมธ.ต้องการ และอาจมองว่า กมธ.ไม่ใช่ศาล ไม่มีสิทธิในการซักฟอกและบังคับให้ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง กมธ.ไม่สามารถบังคับได้ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการชี้แจงนั้นมักไม่มีประโยชน์ตามที่ต้องการ รวมทั้งไม่มีบทลงโทษที่เข้มงวด ถ้าข้าราชการไม่มาตามนัด กมธ.ทำได้เพียงฟ้องหัวหน้างานหรือรัฐมนตรีต้นสังกัด ซึ่งย่อมมีแนวโน้มได้รับการปกป้องมากกว่า การขอข้อมูล - ไม่ต้องการให้ข้อมูลเชิงลึก แม้กมธ.จะสามารถออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ แต่หลายครั้งมักจะไม่ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ โดยเฉพาะข้อมูลที่จะชี้มูลให้เห็นว่ามีการทุจริต มีความไม่ชอบมาพากลอยู่ โดยมักจะอ้างว่าข้อมูลนั้นเป็นความลับ เปิดเผยไม่ได้ จึงทำให้ กมธ.มักจะได้เพียงข้อมูลพื้นฐาน ไม่ได้ให้ข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ ข้อมูลที่จะนำมาเป็นหลักฐานได้นั้นแทบจะไม่มี และ กมธ.ไม่มีอำนาจใดไปบังคับได้
ปัญหาเช่นนี้ที่เกิดขึ้น นับเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำงานของกรรมาธิการในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล จึงเสนอว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญภายหลังการเลือกตั้ง ควรพิจารณาแก้ไขในเรื่องการเพิ่มอำนาจ กมธ. ตรวจสอบรัฐบาลให้มากขึ้น อาทิ การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้ที่มาชี้แจงกับ กมธ.เห็นคุณค่าและต้องการมาให้ข้อมูล เช่น มีการให้รางวัลหากสามารถช่วยสืบสาวข้อเท็จจริงที่ปกปิดออกมาได้ ให้รางวัลในการสนับสนุนการทำงานของ กมธ. การให้ค่าเสียเวลาการทำงานสำหรับเอกชน เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ควรเพิ่มบทลงโทษที่เหมาะสม หากไม่มาให้ข้อมูลตามที่ กมธ.ได้ทำหนังสือเชิญไปโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร รวมทั้งเสนอว่าควรแก้ไขให้ กมธ.มีอำนาจในการนำข้อมูลหรือเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะตรวจสอบออกมาใช้ได้
การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลของคณะกรรมาธิการทุกคณะจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีการเพิ่ม ldquo;อำนาจrdquo; ในการทำหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเปิดโปงความไม่ชอบมาพากล การทุจริตคอร์รัปชัน และความไม่โปร่งใสในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบและช่วยกันระงับยับยั้งตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้น