เศรษฐกิจ

หลังจากสภาปัญญาสมาพันธ์ที่ผมเป็นประธาน ได้ริเริ่มจัดทำดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (Thailand Effectiveness Index) ตลอดช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ดัชนีดังกล่าวได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างดัชนีฯ สะท้อนถึงภาพรวมของสถานการณ์การพัฒนาและความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังได้ทดลองนำดัชนีที่พัฒนามาประเมินประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศไทย

บทความที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอคะแนนประสิทธิผลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 3 ด้านแรกไปแล้ว ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการศึกษา โดยด้านการศึกษาของไทยน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะได้คะแนนในลำดับที่ 9 มาตรฐานการศึกษาของประเทศอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทุกภาคส่วนควรเร่งรัดแก้ปัญหาด้านการศึกษา ตามข้อเสนอต่างๆ ที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว
จำนวนผู้ประกอบการทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 400 ล้านคน (1 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2012 เป็น 1 พันล้านคน (2.3 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2020 เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ส่งผลให้ต้นทุนในการทำธุรกิจและต้นทุนในการผลิตสินค้าต้นแบบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่เป็นการยากที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการในปัจจุบัน ปัจจุบัน คนหนุ่มสาว โดยเฉพาะ Gen Y มีความต้องการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะต้องการทำงานที่เป็นอิสระตามความคิดของตัวเอง เป็นนายของตัวเอง หรือต้องการร่ำรวยอย่างรวดเร็ว และเกษียณอายุก่อนกำหนด แล้วใช้ชีวิตที่เหลือพักผ่อนและท่องเที่ยว
ความเข้มแข็งของภาคบริการจะช่วยสร้างโอกาสมากขึ้น สร้างงานเพิ่มขึ้น และยกระดับรายได้คนไทยให้สูงขึ้น ผมได้ศึกษาประวัติศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ของประเทศรายได้สูงเกิดใหม่ พบว่า หนึ่งในบทเรียนจากต่างประเทศในการก้าวข้ามผ่านกับดักรายได้ปานกลาง คือ การผลักดันให้ภาคบริการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันสัดส่วนกำลังแรงงานภาคบริการในประเทศต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แรงงานในภาคเกษตรของประเทศรายได้สูงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยภาคบริการเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง
เมื่อมองการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า เราไม่ได้ออกแบบอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์  คนในชาติมองไม่เห็นอนาคตว่า ประเทศชาติจะลงเอยอย่างไรในระยะยาว เพราะมุ่งเน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พรรคการเมืองเน้นทำนโยบายระยะสั้นเอาใจประชาชน และเปลี่ยนนโยบายทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาล

ปีนี้เป็นปีที่หลายธุรกิจเริ่มเห็นสัญญาณบวกของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทั้งภาวะเงินเฟ้อและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัจจัยท้าทายที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ต้องเผชิญ โดยเฉพาะการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ที่ผ่านมา SMEs มีบทบาทสำคัญในหลายมิติ ทั้งการสร้างงาน การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการแข่งขัน และการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทาน SMEs จึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในปี 2566 SMEs มีส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงถึง 6,317,181 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.2 ของ GDP รวมทั้งประเทศ

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาลปัจจุบัน ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน โดยพรรคเพื่อไทยเคยประกาศในช่วงหาเสียงว่าจะขึ้นค่าแรงเป็น 600 บาทภายในปี 2570 เมื่อต้นปี 2567 รัฐบาลได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำใหม่อยู่ระหว่าง 330 ถึง 370 บาท และในเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีการพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทสำหรับธุรกิจโรงแรมใน 10 จังหวัด นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าขึ้นค่าแรงเป็น 400 บาททั่วประเทศภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าแรงย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญในอนาคต

ที่ผ่านมาการเมืองไทยมักเต็มไปด้วยการใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ ตั้งแต่การซื้อสิทธิ์ขายเสียงประชาชนจนไปถึงการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทำให้นักการเมืองที่มีกำลังทุน เป็นผู้ได้เปรียบในเส้นทางการเข้าสู่อำนาจรัฐ

การเมืองปกติจึงเป็นการเมืองที่ไม่สุจริต รวมทั้งการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็เช่นกันที่มีการ ยิงกระสุน อัดฉีดเงินลงไปในแต่ละพื้นที่ และใช้สื่อ สร้างกระแส เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คู่แข่ง สร้างพลังให้ตัวเองโดยใช้กลุ่มคนที่สนับสนุนพรรคช่วยกันสื่อสารสนับสนุนพรรคของตน เป็นกระแสที่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2567 เวลา 19:00 น. ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้จัดรายการสดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (drdancando) ซึ่งเป็นการจัดรายการผ่านช่องทางนี้มาซักระยะหนึ่งโดยใช้ชื่อรายการว่า More Dan Live โดยในแต่ละครั้งก็จะหยิบเรื่องราวที่กำลังอยู่ในกระแสของสังคมมาพูดคุย

ย้อนไปวันนั้นผู้เขียนหยิบเอาประเด็น “ที่ดิน ส.ป.ก. ทำกินเพื่อเกษตรกร ไม่ใช่ ทุจริตเพื่อข้าราชการ นายทุนและ นักการเมือง” โดยใช้เวลาในการไลฟ์ครั้งนั้นประมาณ หนึ่งชั่วโมงสิบสามนาที มีผู้เข้าชมจำนวนหนึ่ง

ในบทความนี้จะได้หยิบเอาสาระสำคัญจากการจัดรายการสดในวันนั้นมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านแฟนๆ ของ CIO World Business ได้พิจารณา ถกเถียงและพูดคุยกันอย่างมีอารยะ ทำความเจตนารมของ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 

การพัฒนา ทุนมนุษย์ ยังถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะทุนมนุษย์ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ซึ่งเป็นสังคมความรู้ สังคมปัญญา และสังคมความดี ผู้เขียนขอเสนอแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ ไว้ในบทความนี้