อีโก้

อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาที่มีชื่อเสียง กล่าวถึงอีโก้ไว้ว่า
อีโก้ คือ ‘ตัวตนเล็ก ๆ ของเราที่มีค่าสูง'
อีโก้ คือ อัตตา หรือ ตัวตน ที่ตัวเองคิดว่า เราเป็นใคร อาจหมายถึง ตัวเราที่เป็นจริง หรือ เป็นเพียงการรับรู้ตนเอง หรือคิดว่าตัวเองเป็นอย่างไร 
อีโก้ของเราแต่ละคน เป็นส่วนผสมผสาน ระหว่าง ความรู้สึกนึกคิด (mind) ร่างกาย (body) และจิตวิญญาณ (soul) ทำให้เราตระหนักรู้ว่า ตัวเรามีอยู่ เราเป็นใคร ต้องการอะไร และควรตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างไร 
อีโก้มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของเรามากน้อยต่างกัน เพราะส่วนผสมสามส่วนนี้ 
  1. ความรู้สึกนึกคิด (mind) เป็นการใช้สติปัญญา การใช้เหตุผล และอารมณ์ ในการประเมินและตัดสินใจ 
  2. ร่างกาย (body) เป็นการตอบสนองตามสัญชาตญาณ มีความปรารถนา ความต้องการ ความอยาก - อยากมี อยากเป็น อยากได้ เพื่อเติมเต็มความพึงพอใจของร่างกายและจิตใจ 
  3. จิตวิญญาณ (soul) เป็นเรื่
     "คำที่มีอักษร 3 ตัว แต่มีพิษร้ายแรงที่สุด คือ คำว่า "ego"  ความทะนง หรือ ความเห็นแก่ตัว เอาชนะมันให้ได้"
     ข้อความนี้ ผมได้รับจากเพื่อนที่ชอบส่งต่อข้อคิดดี ๆ ผ่านมาทางไลน์  เชื่อว่าเมื่อหลายคนได้อ่าน ก็มักจะเห็นด้วยทันทีว่า อีโก้ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี และต้องเอาชนะมันให้ได้ ...
     ในความเป็นจริง ผมคิดว่า ข้อความนี้มองอีโก้ใน "แง่ ร้าย" เกินไป อีโก้โดยตัวมันเองนั้นมีความเป็นกลาง มีทั้ง ส่วนที่ดี และ ส่วนที่ไม่ดี ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่า ให้อีโก้ทำงานของมันอย่างไร?
     หากวิเคราะห์ในสังคม สามารถแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม
 
ถ้าเราบริหารตัวเองไม่ได้ เราก็บริหารคนอื่นไม่ได้...
     เป็นความจริงที่ว่า ไม่มีความพ่ายแพ้ใด ที่ทำให้คนล้มแล้ว ลุกขึ้นได้ยากที่สุด เท่ากับ ?แพ้ภัยตัวเอง? 
     เราเคยเห็นไหม..คนบางคนเรียนดีมาก ทำงานเก่งมาก แต่ขณะเดียวกันก็หยิ่งมากด้วย และความหยิ่งนี้เองทำให้เขาไม่เคยฟังคำแนะนำของใครเลย ยิ่งมีตำแหน่งสูง ยิ่งบงการทุกอย่างด้วยตนเอง และแน่นอนว่า ไม่มีใครเก่งได้ตลอด ตัดสินใจถูกต้องได้ตลอด จึงเป็นเหตุให้เขาผิดพลาด ล้มเหลวในที่สุด 
     เราเคยเห็นไหม..คนบางคนตั้งใจทำงานอย่างมาก ขยันขันแข็ง แต่หัวหน้าไม่เคยชมเขาเลย น่าเสียดาย แถมหลายครั้งยังถูกตำหนิด้วย เขารู้สึกน้อยใจ ขมขื่นใจ และทำงานไปวัน ๆ ไม่กระตือรือร้น เพราะคิดว่าทำไปก็เท่านั้น จึงทำ

 ถ้ามีคนพูดกับคุณแบบนี้....จะรู้สึกอย่างไร?

คิดได้เท่านี้หรือ ผมว่าเด็กประถมยังคิดได้ดีกว่าเลย..

หน้าตาแบบนี้ ทำงานเบื้องหลัง แบบไม่ต้องเจอผู้คนน่าจะดีกว่านะ

ประสบการณ์ก็น้อย แถมไม่จบเมืองนอก ยังคิดจะรับงานใหญ่ ..ไม่ประเมินตัวเองเลย!!

เมื่อใครมาพูดกับเราทำนองนี้ ด้วยสีหน้าที่บ่งบอกถึงการดูหมิ่น เยาะเย้ย ไม่ได้แสดงความจริงใจ เราย่อมรู้สึกได้ทันทีว่า กำลังถูก "ดูถูก"

เป็นความจริงที่ว่า ไม่มีใครชอบถูกคนอื่น ดูถูกดูแคลน ดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือพูดถึงจุดอ่อน ปมด้อย กล่าวหาว่า เราไม่มีความสามารถ ไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยไม่ได้ออกมาจากความปรารถนาดี เพียงต้องการ ?กด?เราให้ต่ำลง ด้อยลง สูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเองลง

ในทางกลับกัน แม้คนส่วนใหญ่จะเห็นพ้องกันว่า การดูถูกเป็นสิ่งไม่ดี แต่เพราะเหตุใด คนส่วนใหญ่ยัง "ชอบ" ที่จะ "ดูถูก" คนอื่น ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว

นี่..เห็นไหม ผลงานจากไอเดียฉันล้วน ๆ
ดีนะที่ไม่ฟังความคิดของพวกเธอ

ผมทำคนเดียวได้..บอกตรง ๆ ผมไม่ไว้ใจเด็กใหม่พวกนี้

ผมยืนยันว่า จะต้องทำแบบนี้ ถ้าใครไม่เห็นด้วย ก็คงร่วมทีมกันไม่ได้!!?

ลองสำรวจดูว่า คำพูดประมาณนี้เคยออกมาจากปากเราหรือไม่?...

ถ้าเคย...หรือแม้ไม่เคยพูด แต่อาจเคยมีความรู้สึกแบบนี้ในใจ เช่น ชอบทำงานคนเดียว ไม่ชอบทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ หรือ มั่นใจตัวเองสูงมาก ๆ ว่า เราคนเดียวทำได้ และทำได้ดีกว่าด้วย หรือถ้าหนักกว่านั้นคือ ชอบทำดี เด่น ดัง กว่าคนอื่น ๆ ฯลฯ ถ้ามีอาการเช่นนี้ แสดงว่า เรามีปัญหา "อีโก้" ที่ต้องแก้ไขแล้ว!!

อีโก้ (ego) หรือ อัตตา มาจากรากศัพท์ภาษากรีก?????(อ่านว่า อีโก้)หมายถึง "ฉัน" (I)คำนี้ถูกใช้เพื่ออธิบายถึง ตัวตน หรือ อัตลักษณ์ของบุคคล เป็นตัวตนที่คิดว่า "เราเป็น" ซึ่งอาจจะเป็นหรือไม่ได้เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ก็ได้

เตือนไม่เคยฟังเลย ความหวังดีของเราสูญเปล่าจริง ๆ
เบื่อจริง ๆ ไม่อยากร่วมงานกับนายคนนี้เลย คุยโต โอ้อวดตลอด
ดึงดันจะเอาความคิดตัวเองอยู่นั่นแหละ ขอเปลี่ยนทีมได้ไหม?
 
     ในการทำงาน เราอาจเลือกงานได้ แต่ไม่อาจเลือกเพื่อนร่วมงานได้ ดังนั้น จึงมีโอกาสร่วมงานกับเพื่อนที่ไม่ถูกใจ แบบในลักษณะข้างต้นที่ทำให้เรารำคาญ หมั่นไส้ เบื่อหน่าย หงุดหงิด เครียด และทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างราบรื่น 
     หากเราต้องปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่มี ?อีโก้สูง?
ครับ เรามาว่ากันต่อถึงการรับมือกับหัวหน้าที่มีอีโก้สูงนะครับ
 
ทางที่ดีกว่าหากเราต้องเผชิญหน้ากับหัวหน้างานอีโก้สูง ถูกปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม และเห็นว่าพฤติกรรมของเขาส่งผลเสียหายทั้งต่อคนทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และองค์กรในภาพรวม สิ่งที่เราควรทำเพื่อ "แก้ไข" พฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่
 
กล้าขอนัดคุยส่วนตัวความขัดแย้งหลายครั้งแก้ไขได้ด้วยการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น การสื่อสารทำให้เกิดความเข้าใจและรู้จักอีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น ดังนั้น เมื่อเราเห็นว่าอีโก้ของเขากำลังสร้างปัญหาให้กับตัวเรา คนอื่นๆ และองค์กร ให้เรากล้าเข้าไปขอนัดเวลาส่วนตัวเพื่อสนทนากับหัวหน้าตามลำพัง โดยการพูดคุยควรทำอย่างไม่เป็นทางการ เสนอว่าควรนัดสถานที่นอกออฟฟิศ เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ฯลฯ เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำให้การรับฟังสิ่งที่เราจะพูดนั้นง่ายขึ้น
     "คิดดีแล้วหรือครับหัวหน้า แบบนี้ไม่เวิร์คหรอก เอาวิธีผมดีกว่า"
     "หัวหน้าจะไปรู้อะไร เคยเรียนมาหรือเปล่า ผมจบมาโดยตรงเลยนะ"
     "เห็นไหม..นี่ครับฝีมือผม ผมว่าถ้าเป็นคนอื่นคงทำไม่ได้"
     หัวหน้างานที่ต้องทำงานร่วมกับลูกน้องที่มีคำพูดประมาณนี้...คงเครียดน่าดู!
     ที่ผ่านมา มีลูกศิษย์หลายคนมาปรึกษาผมว่า จะจัดการอย่างไรกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ชอบทำตัวแบบ ?เก่งขั้นเทพ? รู้ดีไปหมด เชื่อมั่นในตัวเองสูง โอ้อวด ชอบดูถูกคนอื่น..ไม่เว้น แม้แต่หัวหน้าตัวเอง ถ้ามีโอกาสจะชอบแสดงความเก่งเพื่อข่มหัวหน้า ยิ่งเป็นพวกที่จบมาจากสถาบันที่มีชื่อเสียง หรือจบการศึกษาในระดับที่สูงกว่าหัวหน้าด้วยแล้ว หลายครั้งชอบทำหยิ่ง มั่นใจตัวเองเกินร้อย และชอบทำท่าดูแคลนคำสั่งหรือการตัดสินใจของหัวหน้าตน

เครียดกับงานยาก ๆ  ดีกว่าเครียดกับคนแย่ ๆ...
     ใครเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ ยกมือขึ้น?
     ผมเชื่อว่า หลายคนคงเห็นด้วย เพราะจากประสบการณ์ทำงานในบทบาทหน้าที่ และตำแหน่งต่าง ๆ มานานกว่า 30 ปี รวมทั้ง จากการได้พูดคุยกับเพื่อน ๆ ลูกศิษย์ และผู้คนในแวดวงต่าง ๆ มักจะเครียดกับปัญหาเกี่ยวกับคน มากกว่าปัญหาเกี่ยวกับงาน ซึ่งแก้ไขได้ยากมากกว่า
     ...ยิ่งหากคนที่มีปัญหานั้นเป็น หัวหน้า หรือ ผู้บังคับบัญชา ด้วยแล้ว ยิ่งเพิ่มความเครียดขึ้นอีกเป็นทวีคูณ เพราะไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อบุคคลเหล่านี้มี ?อีโก้สูง?

แพ้ชนะเริ่มต้นที่ความคิด ถ้าเราไม่คิดที่จะแพ้ แม้วันนี้ดูเหมือนเราพ่ายแพ้ แต่แน่นอนว่ามันจะไม่อยู่กับเราตลอดไป

คนคิดบวกไม่ใช่คนที่ไม่เคยแพ้ ไม่ใช่คนที่ไม่เคยเศร้า ไม่ใช่คนที่ไม่เคยท้อ แท้ แต่คือคนที่ไม่เคยทิ้งเป้าหมาย ไม่เคยทิ้งอุดมการณ์ที่ดี ไม่เคยทิ้งหลักคิดที่ยึดมั่น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงสามารถฉุดตัวเองให้ลุกขึ้นก้าวเดินต่อไปได้ไม่ว่าจะล้มลงกี่ครั้งก็ตาม