คบเพื่อน "อีโก้สูง" แบบเป็นสุข
เตือนไม่เคยฟังเลย ความหวังดีของเราสูญเปล่าจริง ๆเบื่อจริง ๆ ไม่อยากร่วมงานกับนายคนนี้เลย คุยโต โอ้อวดตลอดดึงดันจะเอาความคิดตัวเองอยู่นั่นแหละ ขอเปลี่ยนทีมได้ไหม?
ในการทำงาน เราอาจเลือกงานได้ แต่ไม่อาจเลือกเพื่อนร่วมงานได้ ดังนั้น จึงมีโอกาสร่วมงานกับเพื่อนที่ไม่ถูกใจ แบบในลักษณะข้างต้นที่ทำให้เรารำคาญ หมั่นไส้ เบื่อหน่าย หงุดหงิด เครียด และทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างราบรื่น
หากเราต้องปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่มี ?อีโก้สูง? เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ฟังคำแนะนำตักเตือน ชอบคุยโม้โอ้อวด เราควรทำอย่างไร?
ผมเชื่อว่า หลายคนคงไม่ค่อยอยากพูดคุยด้วย ไม่ค่อยอยากจะร่วมงานเป็นทีมเดียวกัน บางคนบอกว่า พยายามหาทางทำให้เพื่อนรู้ตัวและคิดได้ว่า พฤติกรรมโอ้อวด หรือดื้อดึงไม่ฟังใครนั้น สร้างความเสียหายต่อตัวเขาอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคนที่อยากจะขอย้ายไปทำงานแผนกอื่น จะได้เลิกคบพวกอีโก้สูงไปโดยปริยาย...
โดยธรรมชาติแล้ว ไม่มีใครชอบคนที่มีอีโก้สูง - หมั่นไส้คนชอบโอ้อวด ไม่อยากคบคนเย่อหยิ่ง ไม่ชอบถูกดูถูกดูแคลน ไม่อยากทำงานกับคนยึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ฯลฯ แต่เมื่อเราต้องทำงานกับเพื่อนร่วมงานอีโก้สูง เราควรเปลี่ยนความ ?ไม่ชอบ? เป็น ?ช่วยเหลือ? เพื่อให้สามารถร่วมงานได้อย่างเป็นสุขและมีเอกภาพ
เริ่มต้นด้วย การมองด้วยความเข้าใจ เราจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติพื้นฐานของคนที่มีอีโก้สูง เพื่อช่วยให้เราเข้าใจเขาและไม่ด่วนตัดสินว่า เป็นสิ่งที่ผิด เป็นสิ่งไม่ดี แต่เรียนรู้ที่จะยอมรับและปฏิบัติอย่างเหมาะสม
คนที่มีอีโก้สูงอาจมาจากธรรมชาติที่แตกต่าง เช่น ผู้ชาย ถูกมองว่า อีโก้สูงกว่าผู้หญิง โดยเรกา มอร์เวย์ (Reka Morvay) นักจิตวิทยา ได้อธิบายว่า ผู้ชายจะมีอีโก้บางอย่างที่แตกต่างจากผู้หญิง อาทิ มีแนวโน้มชอบการแข่งขันมากกว่าผู้หญิง ชอบแก้ปัญหาที่ท้าทาย ชอบงานที่ยาก โดยมีความเชื่อมั่นลึก ๆ ว่า ตัวเองจะสามารถทำสำเร็จได้ จึงพยายามแข่งขันให้ตัวเองเป็นฝ่ายชนะ ชอบทำให้ตัวเองดีกว่าหรือเหนือกว่าคนอื่น ๆ ต้องการที่จะเล่นบทบาทผู้นำ ต้องการที่จะเป็นคนตัดสินใจ อยากรู้สึกว่าตัวเองนั้นเข้มแข็ง เป็นลูกผู้ชายตัวจริง ขณะเดียวกัน ผู้ชายก็ยังคงมีความปรารถนาที่จะได้รับความรัก และการดูแลเอาใจใส่ด้วย หากเขาได้รับความรัก การให้กำลังใจ และการดูแลเอาใจใส่อย่างดี จะยิ่งเสริมสร้างธรรมชาติของอีโก้ให้เป็นในทางบวกมากขึ้น
นอกจากนี้ คนที่มีอีโก้สูงจำนวนไม่น้อย ลึก ๆ แล้วเป็นพวก ?ป่วยทางจิต? ขาดความภาคภูมิใจเชื่อมั่นในตัวเอง (low self-esteem) และต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น จึงแสดงออกในทางตรงกันข้าม เพื่อลดความเจ็บปวดภายในใจตัวเอง และเพื่อให้คนยอมรับ คนอีโก้สูงจึงเป็นคนที่น่าสงสารและเป็นคนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพราะอีโก้ของเขาย่อมกลับมาทำร้ายตัวเองในที่สุด อาทิ ทำลายความสัมพันธ์กับผู้อื่น ตัดสินใจผิดพลาด ฯลฯ ดังนั้น ถ้าเรามีโอกาสรู้จักเขา เราไม่ควรปฏิเสธ รังเกียจ ไม่พอใจ หรือเลิกคบ แต่ให้พยายามทำความเข้าใจ มองในส่วนดีที่มีอยู่ และพร้อมช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส
ปล่อยผ่าน - ถ้าไม่สร้างปัญหา ถ้าอีโก้ไม่ได้สร้างปัญหาหรือความเดือดร้อนให้กับคนอื่น และงานในภาพรวม อาจเป็นเพียงสร้างความรำคาญ ความน่าหมั่นไส้ เช่น ชอบพูดโอ้ออวด ยกตนข่มท่าน คนประเภทนี้ไม่ควรโต้ตอบหรือขัดคอ ในบางครั้ง อาจต้องรับฟังและเออออห่อหมกตาม เพื่อรักษามิตรภาพ ที่สำคัญ อย่าทำให้คนเหล่านี้เสียหน้าหรืออับอายต่อหน้าคนอื่น เพราะจะทำให้เขาไม่ชอบเรา เป็นการสร้างศัตรูโดยไม่จำเป็น และอาจตามมาด้วยการหาทางทำร้ายเรา เพื่อล้างแค้นที่ถูกทำให้เสียหน้า
เตือนไม่ฟัง ? ปล่อยให้ทำจนเห็นผลเสีย หากเรามีเพื่อนที่อีโก้สูง ไม่ฟังคำแนะนำตักเตือน แย้งแล้วไม่ฟัง มักจะชอบพูดว่า ฉันรู้ ฉันเคยทำมาก่อน ยิ่งเราห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เพราะจะกระตุ้นความต้องการเอาชนะมากขึ้นไปอีก ทางที่ดีกว่าคือ ปล่อยให้เขาทำไป สุดท้ายผลของสิ่งที่ทำ จะทำให้เขารู้ด้วยตัวเองว่า มันดีหรือไม่ดี สำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร เป็นไปตามสิ่งที่เราเคยเตือนหรือไม่ สุดท้ายถ้าเขาล้มเหลวในสิ่งที่เขาทำ อีโก้ในตัวจะลดลง และกลับมาขอความช่วยเหลือจากเรา
ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานที่หลงตัวเอง ชอบทำงานแบบ ?เก่งคนเดียว? คนประเภทนี้ มักจะไม่ยอมให้ใครทำงานแทน ไม่ยอมฟังคำแนะนำจากใคร และไม่ยอมปล่อยให้คนอื่นมาร่วมทำงานด้วย เราต้องปล่อยให้เขาทำงานไปคนเดียว ไม่เข้าไปช่วยเหลือ จนเกิดปัญหา เกิดความล้มเหลว จึงค่อยชี้แนะว่า หากงานนี้ได้รับการร่วมมือกันหลายคน น่าจะมีอะไรใหม่ ๆ เพิ่มเติมในเนื้องานบ้าง เพื่อเปิดมุมมองให้เพื่อนเห็นว่า งานที่ร่วมมือกันทำ น่าจะมีผลงานร่วมกันมากกว่าทำเพียงคนเดียว
การทำงานกับเพื่อนอีโก้สูง จะไม่เป็นปัญหา ถ้าเราพยายามหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่าเราสามารถจัดการเพื่อนอีโก้สูง แบบไม่เสียเพื่อนได้ ถ้าเรามีความปรารถนาดีต่อเขาอย่างแท้จริง...
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
ิแหล่งที่มาของภาพ : http://www.eintouch.com/app_themes/eintouch/images/different3.jpg
Post date:
Thursday, 21 August, 2014 - 15:21
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 90 ครั้ง
การหมิ่นประมาท คือ ฆาตกรรมชื่อเสียง
Total views: อ่าน 61 ครั้ง
Passive Outcome
Total views: อ่าน 185 ครั้ง
เกียรติระบบ : Honour System สังคมให้เกียรติ หลู่เกียรติ ทอนเกียรติ ตู่เกียรติ
Total views: อ่าน 159 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 122 ครั้ง