อีโก้

โฟล์คสวาเกนบริษัทรถยนต์ที่มี ?ชื่อเสียง? ระดับโลกมานานเกือบร้อยปี กลับกลายเป็นบริษัทที่มี ?ชื่อเสีย? ระดับโลก เพียงชั่วพริบตา เมื่อถูกจับได้ว่า ?ทุจริต? ใช้ซอฟต์แวร์โกงค่าการทดสอบปล่อยไอเสียจากรถเครื่องยนต์ดีเซล

กรณีทุจริตดังกล่าว ส่งผลให้ประธานผู้บริหารบริษัทโฟล์คสวาเกน ต้องลาออกจากตำแหน่ง และส่งกระทบต่อรถโฟล์คสวาเกน 11 ล้านคันทั่วโลก ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย ซึ่งอาจสูงถึง 6,500 ล้านยูโร และอาจต้องเผชิญการดำเนินคดีในสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าอาจมีโทษปรับเงินหลายพันล้านดอลลาร์

         คนเก่งที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นไม่ได้ มักไม่เป็นที่ต้องการ เพราะความสำเร็จของงาน คือ ความสำเร็จของทีม...ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว
         ที่ผ่านมา ผมบังเอิญได้เห็นเวบไซต์หนึ่ง ซึ่งได้จัดทำ info graphic กล่าวถึง ?นิสัยไทย ๆ ที่ทำให้ไทยไม่พัฒนา? มี 8 ลักษณะนิสัย ได้แก่

         จากการเฝ้าสังเกตคนจำนวนนับหมื่น ๆ คนที่ผมได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ด้วยในวาระต่าง ๆ ทำให้ผมพบว่า คนเรามีอายุ 3 อายุ 

         หนึ่ง อายุเวลา หรือ อายุจริงตามเวลาเกิด และอาจรวมไปถึงอายุงาน ซึ่งเป็นการสะสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญชำนาญที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการทำงาน

         สอง อายุหน้า คนส่วนใหญ่ชอบให้อายุเวลาไปก่อนอายุหน้า หรือชอบ ?หน้าอ่อน? มากกว่า ?หน้าแก่? 

คนเก่งที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นไม่ได้ มักไม่เป็นที่ต้องการ เพราะความสำเร็จของงาน คือ ความสำเร็จของทีม...ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว
 
คำกล่าวข้างต้นเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ในองค์กรการทำงาน ถ้าหน่วยงานนั้นมี 2 คนขึ้นไป ย่อมต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม และทีมงานที่แข็งแกร่ง ประสานงาน ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ย่อมมีพลังในการขับเคลื่อนองค์กรบรรลุเป้าหมาย และฝ่าฟันวิกฤตต่าง ๆ ได้

"อย่าบดบังรัศมีเจ้านาย"

โรเบิร์ต กรีน (Robert Greene) เจ้าของหนังสือ กฎแห่งอำนาจ 48 ข้อ (The 48 Laws of Power) ได้แนะนำวิธีเพิ่มอำนาจให้กับตนเอง กฎข้อแรกเลย คือ ?อย่าบดบังรัศมีเจ้านาย?  ถ้าอยากได้ดิบได้ดีในอนาคต อย่าทำตัวเก่งกว่า เหนือกว่าเจ้านาย การแสดงท่าว่าตนเองเก่งกว่า ฉลาดกว่า อาจเป็นการกระทำที่ ?ดับอนาคต? ของตนเองได้เลยทีเดียว เพราะหัวหน้าเราจะรู้สึกว่า ตนเองกำลังถูกคุกคาม เกิดความกลัว รู้สึกไม่มั่นคงในตำแหน่งของตน และทำให้มองเราเป็นศัตรูที่ต้องจัดการได้

เมื่อคนเก่งมารวมตัวกัน อาจเป็น ?ทีมที่แย่ที่สุด?!!!
 
ข้อสรุปหนึ่งที่ผมได้รับจากประสบการณ์ทำงานเป็นทีม ในคณะทำงานที่ประกอบไปด้วย คนเก่ง คนมีความรู้ความสามารถ ผู้เชี่ยวชาญชำนาญการ ผู้มีตำแหน่งสูง ๆ มักจะขับเคลื่อนงานด้วยความยากลำบาก เพราะแต่ละท่านมักมีวาระของตน พยายามนำเสนอความคิดเห็นของตนเองให้ทุกคนยอมรับ แต่กลับไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถได้ข้อสรุปที่เป็นข้อตกลงของทุกคนในทีมได้
 
ปัญหาที่เกิดจากทีมงานที่มี ?อีโก้สูง? มีอยู่ทั่วไป เดวิด บรู๊กซ์ (David Brooks) คอลัมนิสต์นิวยอร์กไทมส์ กล่าวไว้ในรายการ Charlie Rose   ว่า บางครั้งมีคนฉลาดมากเกินไป ก็กลายเป็นปัญหา เขาชี้ให้เห็นว่าความยากลำบากในการบริหารงานของรัฐบาลโอบามา สาเหตุเกิดจากทีมนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศที่ล้วนแต่มีคนเก่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาไม่ได้อยู่ที่สติปัญญาที่เฉลียวฉลาด แต่อยู่ที่คนเหล่านี้มักยึดติดในความคิดตนเอง พวกเขาปักใจเชื่อมั่นว่าความคิดของตนเองนั้น ?ดีกว่า? มีเหตุผลหนักแน่นกว่า ความคิดของเพื่อนร่วมงาน

...อย่าก้าวสู่ตำแหน่ง ?ผู้นำ? เพียงเพราะทำงานมานาน
 
ดร.วินซ์ โมรินาโร (Vince Molinaro) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ กล่าวถึงผู้นำที่เลวร้าย 10แบบที่ลูกน้องอยากจะร้องตะโกนออกมา  ได้แก่ 

ปัจจุบัน ในสังคมมีคำเรียกหญิงวัยกลางคนถึงสูงอายุที่แสดงพฤติกรรม ?เห็นแก่ตัว? ว่า มนุษย์ป้า
 
ในพจนานุกรมออนไลน์ Longdo Dictionary ให้ความหมายคำว่า ?มนุษย์ป้า? ไว้ว่า ?คำที่ใช้เรียกผู้ที่มีพฤติกรรมที่มีลักษณะที่เห็นแก่ตัว ทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่สนใจว่าจะทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การแย่งที่นั่งว่างในรถโดยสาธารณะ, การแซงคิวไม่ยอมต่อแถวคอยเวลาขึ้นรถไฟฟ้า, โดยส่วนมากจะเป็นสุภาพสตรีในวัยกลางคนจนถึงสูงอายุ จึงเป็นที่มาถึงคำว่า "ป้า" เริ่มเป็นที่ใช้กันแพร่หลายในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในช่วงปี 2557?

“ถ้าละครไทยไม่มี ‘ตัวอิจฉา’ จะเป็นอย่างไร?”...จากคำถามนี้ หลายคนคงตอบว่า ละครคงไม่สนุก ความรักของพระเอกนางเอกคงจะราบเรียบเกินไป ไม่มีใครมาแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ลอบทำร้าย และคงไม่ได้สะท้อนภาพ ‘นางเอก’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนดี’ ชนะ ‘ตัวอิจฉา’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนไม่ดี’ หรือ ธรรมะย่อมชนะอธรรม ในตอนจบให้เรียนรู้กัน
ตัวอิจฉาในละคร คือ ตัวแสดงที่รับบทบาทเป็นผู้มีนิสัยที่เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนดูอยู่ไม่ได้ เป็นตัวแทน ‘ด้านมืด’ ของมนุษย์ ซึ่งในโลกความเป็นจริง เราทุกคนอาจสวมบท ‘ตัวอิจฉา’ ได้อย่างอัตโนมัติ และสามารถ ‘ตีบทแตก’ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อไม่พอใจที่เห็นคนอื่น ‘ได้ดี’ กว่าในเรื่องที่ตนอยากจะมี อยากจะเป็น อยากจะได้.. 
ความรู้สึกอิจฉาเกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องมีใครสอน คนที่ปล่อยให้อีโก้เข้าควบคุมจะถูกความอิจฉาริษยาเข้าครอบงำได้ง่าย เพราะมักเอาจุดอ่อนของตัวเอง ไปเทียบกับจุดแข็งของคนอื่น จึงเกิดความรู้สึกไม่พอใจ 


ความหยิ่งบั่นทอนเส้นทางความสำเร็จ แต่ความถ่อมใจช่วยรักษามันไว้...
คนหยิ่งนั้น มักจะคิดว่า ?ฉันรู้หมดแล้ว?  ?ฉันมั่นใจว่าคิดถูก? ?ฉันไม่เคยพลาดเลย? จึงไม่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่รับฟังคำแนะนำตักเตือน ดึงดันยึดมั่นถือมั่นความคิดตน...ในที่สุดก็ล้มเหลว
มาร์คัม และ สมิธ (Marcum & Smith) ผู้เขียนหนังสือ Economics สำรวจพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของธุรกิจที่ตัดสินใจผิดพลาด เกิดจากการขับเคลื่อนด้วยอีโก้ บริษัทที่เคยมีชื่อเสียง กลับล้มเหลวลงอย่างรวดเร็ว เพราะความหยิ่งยโสของผู้บริหาร ที่เชื่อมั่นตนเองเกินไป ไม่ฟังคำแนะนำ ลำพองในอำนาจและความสามารถของตน