รู้จัก "อีโก้" ..รู้จักตัวเอง
ถ้าเราบริหารตัวเองไม่ได้ เราก็บริหารคนอื่นไม่ได้...
เป็นความจริงที่ว่า ไม่มีความพ่ายแพ้ใด ที่ทำให้คนล้มแล้ว ลุกขึ้นได้ยากที่สุด เท่ากับ ?แพ้ภัยตัวเอง?
เราเคยเห็นไหม..คนบางคนเรียนดีมาก ทำงานเก่งมาก แต่ขณะเดียวกันก็หยิ่งมากด้วย และความหยิ่งนี้เองทำให้เขาไม่เคยฟังคำแนะนำของใครเลย ยิ่งมีตำแหน่งสูง ยิ่งบงการทุกอย่างด้วยตนเอง และแน่นอนว่า ไม่มีใครเก่งได้ตลอด ตัดสินใจถูกต้องได้ตลอด จึงเป็นเหตุให้เขาผิดพลาด ล้มเหลวในที่สุด
เราเคยเห็นไหม..คนบางคนตั้งใจทำงานอย่างมาก ขยันขันแข็ง แต่หัวหน้าไม่เคยชมเขาเลย น่าเสียดาย แถมหลายครั้งยังถูกตำหนิด้วย เขารู้สึกน้อยใจ ขมขื่นใจ และทำงานไปวัน ๆ ไม่กระตือรือร้น เพราะคิดว่าทำไปก็เท่านั้น จึงทำงานอย่างไม่มีความสุขและแน่นอนว่า...ไม่ก้าวหน้า
และเราคงเคยเห็น...คนที่หลงตัวเอง ชอบคุยโวโอ้อวด คนที่ชอบดูถูกคนอื่น คนที่เห็นแก่ตัว กอบโกยเพื่อตัวเอง คนที่ไม่พอใจ อิจฉาริษยา เมื่อเห็นคนอื่นได้สิ่งดี...แน่นอนว่า คนเหล่านี้ย่อมไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย ที่สำคัญตัวเขาเองจะสะสมความทุกข์ และเสียเวลาชีวิตไปกับการทำสิ่งที่ไม่มีคุณค่า
ตัวอย่างที่กล่าวข้างต้นนี้คือ การกระทำของคนที่ให้ อีโก้ หรือ อัตตา ควบคุมความคิด อารมณ์ความรู้สึก และการตัดสินใจ
เมื่อเราให้ ?อัตตา? หรือ ?อีโก้? ของตัวเองเป็นใหญ่ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองตนเองเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น ไม่คำนึงถึงความถูกต้องดีงาม ไม่คำนึงถึงเหตุผลและผลเสียที่จะตามมา อีโก้ของเราจะย้อนกลับมาทำลายตัวเราในที่สุด
ธรรมชาติมนุษย์จะขับเคลื่อนด้วยอีโก้ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กและในช่วงวัยรุ่น จะสังเกตเห็นว่า เด็กมักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในโลกของตัวเอง มุ่งตอบสนองความต้องการของตนเอง แต่เมื่อเติบโตขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น พึ่งพาอาศัยกัน และร่วมมือทำงานกับผู้อื่น จึงต้องไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่น่าเศร้าที่ปัญหาส่วนใหญ่ของมนุษย์ล้วนเกิดมาจากความเป็นตัวตน หรืออีโก้ของตนเองทั้งสิ้น
ในครั้งนี้ เราลองสำรวจตัวเองก่อนว่า เราให้อีโก้ควบคุมตัวเรามากน้อยเพียงใด?
คิดถึงแต่ ?ตัวเอง? - มีแต่ ?ฉัน? ?ตัวฉัน? ?ของฉัน? เมื่ออีโก้ควบคุมจะทำให้เราคิดถึงแต่ตัวเอง พูดถึงแต่เรื่องของฉัน ความเป็นฉัน สนใจแต่เรื่องของฉัน ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น ในวงสนทนาชอบพูดเรื่องตัวเอง แต่ไม่ชอบฟังคนอื่น ในการทำงานมักจะคิดว่าตัวเองได้หรือเสียประโยชน์อะไร แทนที่จะดูว่าส่วนรวมได้ประโยชน์อะไร เป็นต้น คนที่คิดถึงแต่ตัวเอง นอกจากจะทำลายความสัมพันธ์แล้ว ยังส่งผลเสียต่อการประสานพลังร่วมกันในการทำเป้าหมายต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ
ปกป้อง ?ตัวเอง? - ฉันต้องถูกเสมอ เราชอบที่จะให้คนมองเราในแง่ดี เรามีความรู้สึกที่รุนแรงต่อคำติ ไม่ยอมรับ การถูกทำให้เสียหน้า และเราเห็นว่าการเป็นฝ่าย ?ถูก? เป็นเรื่องที่สำคัญมากหรือไม่? เมื่อมีใครมาตำหนิติเตียน ต่อว่า เราจะรู้สึกว่า รับไม่ได้ ไม่ชอบ ไม่พอใจ และจะลุกขึ้นต่อสู้ปกป้องตนเอง เพื่อพิสูจน์ว่า ฉันไม่ได้เป็นเช่นนั้น... เราชอบ ?แก้ตัว? มากกว่า?แก้ไข?? ชอบ ?โทษคนอื่น? มากกว่า ?โทษตัวเอง?? ?รักษาหน้า? มากกว่า ?รักษาใจ? หรือไม่?
เปรียบเทียบ ?ผู้อื่น? ? ฉันเหนือกว่า ดีกว่า เก่งกว่า ฯลฯ เรารู้สึกดี มีความสุข เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วเราดีกว่า เหนือกว่า เก่งกว่า รวยกว่า ฯลฯ หรือไม่? เราชอบที่จะเป็นผู้ชนะ และเกลียดความพ่ายแพ้ ชอบที่จะดูดีกว่าคนอื่น ๆ จึงพยายามเอาชนะทุกคนที่สามารถเอาชนะได้หรือไม่? และเรารู้สึกไม่พอใจที่คนอื่นได้ดี รู้สึกอิจฉาคนอื่น หาทางกดคนอื่นลงหรือไม่? เราเคยใช้คำพูดหรือการกระทำที่ส่อการดูถูกคนที่ด้อยกว่าหรือไม่? หรือหลายครั้ง เรานึกน้อยใจตัวเองที่ไม่มีเหมือนคนอื่นหรือไม่?
นำเสนอ ?ตัวเอง? - ฉันทำได้ดีกว่าใครทั้งหมด เราชอบพูดเรื่องของตนเองฝ่ายเดียว ชอบยกชูตัวเองเพื่อให้คนอื่นชื่นชมหรือไม่? เราชอบโอ้อวดถึงความสำเร็จของตัวเอง พอ ๆ กับตอกย้ำความอ่อนแอของผู้อื่นหรือไม่? ในการสนทนามักชอบพูดเรื่องของตัวเอง มากกว่าฟังหรือไม่? เราชอบเล่นบทที่ตัวเองสามารถเป็นฮีโร่ และต้องการที่จะเป็นดาวเด่น แม้ว่าจะเล่นเป็นทีมหรือไม่? เราไม่ชอบทำงานเป็นทีม แต่ชอบ ?บินเดี่ยว? เพราะคิดว่า ตัวเองทำได้ดีกว่าใครทั้งหมดหรือไม่? เรามักจะชอบสอนคนอื่น แต่ไม่ชอบให้ใครมาสอนหรือแนะนำใด ๆ หรือไม่?
เรียกร้องจาก ?ผู้อื่น? - เธอต้องสนใจ/ยอมรับฉัน เราแสวงหาการยอมรับจากคนอื่น ชอบให้คนสนใจ ชอบเป็นจุดเด่น ชอบให้คนชื่นชมหรือไม่? เรามีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะมีสถานะทางสังคม เพียงเพื่อให้ได้รับการเคารพนับถือ และการยอมรับว่าเป็นคนสำคัญ โดยไม่ได้ให้คุณค่าสิ่งเหล่านี้จากภายในหรือไม่? หลายครั้ง เรายอมสวมหน้ากากของคนที่ดูดี มีเมตตา คนที่สังคมชื่นชม เพียงเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมหรือไม่? เราเคยรู้สึกไม่พอใจ เสียหน้า น้อยเนื้อต่ำใจ เมื่อไม่ได้รับการยอมรับหรือไม่?
ในความเป็นจริง โอกาสที่เราแต่ละคนอาจมีอีโก้เป็นศูนย์กลางในบางเรื่อง บางมุม บางด้าน บางครั้ง ย่อมเป็นไปได้ และไม่ได้หมายความว่า เราเป็นคนที่มีจิตใจเลวร้าย แต่อาจเป็นเรื่องของการเติบโตอย่างไม่สมบูรณ์ของวุฒิภาวะ การให้คุณค่าสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่เหมาะสม และอาจเป็นความเคยชินในการตอบสนองความต้องการของตนเอง....แต่แน่นอนว่า เราไม่สามารถปล่อยไว้เช่นนี้ จำเป็นต้องแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
อีโก้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดเรา ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุข รวมทั้ง สร้างประโยชน์ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากเราไม่เรียนรู้ที่จะบริหารจัดการอย่างเหมาะสม และปล่อยให้อีโก้ขับเคลื่อน เท่ากับเรากำลังสะสมความทุกข์ และทำลายอนาคตของตัวเองลงโดยไม่รู้ตัว
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
แหล่งที่มาของภาพ : http://andrewware12.files.wordpress.com/2013/04/how-do-you-see-yourself.jpg?w=470&h=140&crop=1
Catagories:
Tags:
Post date:
Tuesday, 25 November, 2014 - 11:38
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
แนะอธิษฐาน/สวดมนต์ได้ประโยชน์สัมพันธ์ 4 ระบอบชีวิต
Total views: อ่าน 53 ครั้ง
'ความเคยชิน' ที่ต้องจัดการ
Total views: อ่าน 3,930 ครั้ง
'อดีต' ไม่รับประกัน 'อนาคต'
Total views: อ่าน 2,997 ครั้ง
กล้า "รับ" คุ้มกว่า กล้า "หลบ"
Total views: อ่าน 7,217 ครั้ง
ทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ศักยภาพมนุษย์ ในแนวคิด ดร.แดน
Total views: อ่าน 1,475 ครั้ง