ค่าเงินบาทอ่อนลง สวัสดิการของสังคมดีขึ้นหรือไม่?
เกี่ยวเนื่องมาจากมาตรการกันสำรองเงินตราต่างประเทศร้อยละ 30 เพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่าง มากมาย ผมเห็นว่าการดำเนินมาตรการนี้ ภาครัฐมีเหตุผลที่ดี ที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการส่งออกมากกว่าการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะการส่งออกมีความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างมากกว่า
แต่ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดว่า รัฐบาลควรมีเป้าหมายเพื่อทำให้สวัสดิการโดยรวมของสังคมสูงที่สุด ทำให้ผมเกิดคำถามว่า การที่รัฐบาลพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง จะทำให้สวัสดิการโดยรวมของสังคมเพิ่มขึ้นหรือไม่? ซึ่งหากพิจารณาในทางทฤษฎีแล้ว อาจไม่เป็นเช่นนั้น
ผลกระทบต่อระดับราคา
ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงทำให้ระดับราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ทั้งสินค้าบริโภคและสินค้าทุน ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นในระยะสั้น ทำให้เกิดการแย่งกันใช้สินค้าและปัจจัยการผลิต จึงทำให้ราคาสินค้าและปัจจัยการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ค่าเงินบาทที่ลดลง จึงมีผลทำให้ระดับราคาสินค้าโดยรวมหรืออัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง
ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงทำให้ระดับราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ทั้งสินค้าบริโภคและสินค้าทุน ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นในระยะสั้น ทำให้เกิดการแย่งกันใช้สินค้าและปัจจัยการผลิต จึงทำให้ราคาสินค้าและปัจจัยการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ค่าเงินบาทที่ลดลง จึงมีผลทำให้ระดับราคาสินค้าโดยรวมหรืออัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง
ผลกระทบต่อค่าจ้างแรงงาน
ค่าเงินบาทที่ลดลง จะทำให้การส่งออกขยายตัว และส่งผลทำให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น แต่เพียงเท่านี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า ความเป็นอยู่ของแรงงานดีขึ้นหรือไม่ เนื่องจาก ต้องพิจารณาจากค่าจ้างที่แท้จริง ซึ่งหมายถึงค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเทียบกับระดับราคาสินค้าและบริการ
ค่าเงินบาทที่ลดลง จะทำให้การส่งออกขยายตัว และส่งผลทำให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น แต่เพียงเท่านี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า ความเป็นอยู่ของแรงงานดีขึ้นหรือไม่ เนื่องจาก ต้องพิจารณาจากค่าจ้างที่แท้จริง ซึ่งหมายถึงค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเทียบกับระดับราคาสินค้าและบริการ
ทั้งนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนลงจะทำให้อัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินและระดับราคาเพิ่มขึ้นไปด้วยกัน ดังนั้นแรงงานจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับ ค่าจ้างแรงงานหรือระดับราคามีอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงกว่ากัน หากระดับราคาเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าค่าจ้าง หมายถึง แรงงานมีค่าจ้างที่แท้จริงลดลง
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้
การอ่อนตัวของเงินบาททำให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น ภาคการส่งออกต้องขยายการผลิต ทำให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีแรงงานที่จะได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่น่าจะเป็นแรงงานที่มีทักษะ เพราะภาคการส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรม (มูลค่าร้อยละ 77 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) และสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะ นั่นหมายความว่าแม้ว่าภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะได้ประโยชน์ แต่ประโยชน์ที่ได้รับจะกระจายไปยังแรงงานที่มีทักษะมากกว่า ทำให้แรงงานระดับล่างได้รับผลประโยชน์ไม่มากนัก ดังนั้นค่าเงินบาทที่ลดลงอาจจะทำให้การกระจายรายได้แย่ลงได้
การอ่อนตัวของเงินบาททำให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น ภาคการส่งออกต้องขยายการผลิต ทำให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีแรงงานที่จะได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่น่าจะเป็นแรงงานที่มีทักษะ เพราะภาคการส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรม (มูลค่าร้อยละ 77 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) และสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะ นั่นหมายความว่าแม้ว่าภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะได้ประโยชน์ แต่ประโยชน์ที่ได้รับจะกระจายไปยังแรงงานที่มีทักษะมากกว่า ทำให้แรงงานระดับล่างได้รับผลประโยชน์ไม่มากนัก ดังนั้นค่าเงินบาทที่ลดลงอาจจะทำให้การกระจายรายได้แย่ลงได้
การลดค่าเงินบาทอาจทำให้สวัสดิการสังคมโดยรวมสูงขึ้นหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากค่าเงินที่ลดลงมีผลทั้งด้านบวกและลบ จากอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้น แต่อัตราค่าจ้างที่แท้จริงและการกระจายรายได้อาจจะแย่ลง ดังนั้นการกำหนดนโยบายใด ๆ รัฐบาลจึงต้องมีความชัดเจนว่า เป้าหมายที่แท้จริงที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญสูงสุดนั้นเป็นเป้าหมายใด
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-03-01
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 127 ครั้ง
การหมิ่นประมาท คือ ฆาตกรรมชื่อเสียง
Total views: อ่าน 93 ครั้ง
Passive Outcome
Total views: อ่าน 215 ครั้ง
เกียรติระบบ : Honour System สังคมให้เกียรติ หลู่เกียรติ ทอนเกียรติ ตู่เกียรติ
Total views: อ่าน 175 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 158 ครั้ง