การจัดสรรผลประโยชน์

ข้อมูลจากธนาคารโลก บ่งชี้ว่า ประเทศที่ประชาชนมีความรักชาติมากจะมีการคอร์รัปชันต่ำ ประชาชนจะสนใจเพื่อนร่วมชาติ และไม่ละเมิดกฎหมาย สิทธิของผู้อื่น ส่งผลให้ประชาชนมีความสุข โดยคนที่ทำร้ายสังคมหรือคอร์รัปชันจะถูกต่อต้านและคว่ำบาตร ในทางตรงกันข้าม ประชาชนที่ไม่รักชาติ จะทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ไม่สนใจเรื่องการฉ้อฉล กลโกง และความพินาศของประเทศ พฤติกรรมดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ และความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศโดยตรง

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมวิชาการด้านการบริหารธุรกิจระดับชาติและนานาชาติ ปี 2560 (Business Administration National and International Conferences 2017) ซึ่งจัดโดยคณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัย  ราชภัฏอุบลราชธานี ภายใต้หัวข้อ ‘ผลกระทบของนวัตกรรมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก’ ผมจึงขอแบ่งปันถึงสิ่งที่ได้นำเสนอในงานประชุมครั้งนี้

มีใครได้ตอบคำถามท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บ้างหรือยังครับ? เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ถามคำถาม 4 ข้อกับประชาชนเกี่ยวกับเลือกตั้งว่า

1. ท่านคิดว่าเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่?

2. หากไม่ได้จะทำอย่างไร ?

3. การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงอนาคตประเทศ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปนั้น ถูกต้องหรือไม่?

4. ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร?

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ผมได้มีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ (Key note Speech)เรื่อง ?ประเทศไทยกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกวันนี้? ในพิธีมอบโล่เกียรติยศแด่บุคคลดีเด่นในด้านการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศประจำปี 2559 โดยผมได้วิเคราะห์และนำเสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดปี 2559 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา การลงประชามติเพื่อออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit การก่อการร้ายในยุโรปอย่างต่อเนื่องความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ปรากฏการณ์โรดริโก ดูเตอร์เตแห่งฟิลิปปินส์ เป็นต้น
"Trumponomics" หรือแนวนโยบายเศรษฐกิจ ภายใต้การบริหารประเทศ ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นคำที่หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งได้สร้างความกังวลใจอย่างมากให้กับหลายฝ่าย ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย

 

Trumponomics สะท้อนให้เห็นถึงแนวนโยบายกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การถอนตัวจาก ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) การปรับปรุงข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนโยบายลดภาษีเงินได้และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

จากคำถามที่ว่า กรุงเทพและปริมณฑลควรจะเป็นมหานครของเอเชียในมิติใด? ผมได้ใช้ ?ทฤษฎีหลักหมุด? ที่ผมคิดขึ้นเพื่อตอบคำถามดังกล่าว ทฤษฎีนี้ทำให้เราสามารถตอบคำถามโดยพิจารณาตั้งแต่หลักปรัชญาที่เป็นนามธรรม หลักคิด หลักวิชา หลักการ ไปจนถึง หลักปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างสอดคล้องกันตลอดทาง ในบทความครั้งที่ผ่านมา ผมนำเสนอไปแล้ว 3 หลักในทฤษฎีหลักหมุดของผม คือหลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชา และในบทความตอนนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 หลัก เพื่อตอบคำถามว่า กรุงเทพและปริมณฑลควรจะเป็นมหานครของเอเชียในมิติใด

ในการตอบคำถามนี้ ผมคิดว่าเราควรทำเข้าใจเสียก่อนว่า หากปราศจากนามธรรมและรูปธรรม(ว่าจะเป็นมหานครอะไร?) การพัฒนาจะไร้ทิศทาง เพราะนามธรรมที่ไม่มีรูปธรรม จะขาดความกระจ่างแจ้ง ไม่สามารถปฏิบัติให้เห็นได้ แต่รูปธรรมที่ไม่มีนามธรรม จะทำให้การปฏิบัติไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง ขาดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ หรืออาจมีการปฏิบัติมีความขัดแย้งกันเอง

         ปัจจุบัน มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างมากมาย สำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่สำหรับประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

         ในอนาคตจะมีโครงการที่เกิดจากภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐเพิ่มมากขึ้น หรืออาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงความร่วมมือทั้งจากภายในประเทศและระหว่างประเทศ

     นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมายเหลือคณานับ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนและรับรู้ปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศด้วยพระองค์เอง ซึ่งทำให้พระองค์พบว่า ราษฎรส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรนั้น ล้วนยากจน ผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ อันเนื่องจากความแห้งแล้ง ขาดแคลนพื้นที่ทำกิน อีกทั้งขาดแคลนความรู้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ให้มีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พระองค์จึงได้ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า 4,000 โครงการ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้พ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประจักษ์พยานให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านเศรษฐกิจของพระองค์อย่างชัดเจน



บทความนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจากโมเดลการบริหารประสิทธิสภาพ 8E ที่ได้ดำเนินมาถึงยุทธศาสตร์ การบริหาร E ตัวที่ 6 แล้ว นั่นคือ ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อทวีคูณผลลัพธ์ที่เลอค่า หรือเรียกว่า การบริหารอย่างมีประสิทธิคูณ (Exponentiality)